ทันข่าว » คลิปสร้างแรงใจ..มุมมองเกษตรของไทย20ปีข้างหน้า น้ำมันบนดินจะมาแรงสุด..+pf

คลิปสร้างแรงใจ..มุมมองเกษตรของไทย20ปีข้างหน้า น้ำมันบนดินจะมาแรงสุด..+pf

27 กุมภาพันธ์ 2018
1227   0

https://goo.gl/KN8jdz

https://goo.gl/kZkgbT

“ธนินท์ เจียรวนนท์” มองภาคธุรกิจการเกษตรของไทย อีก 20 ปีข้างหน้า

ประเทศไทยเต็มไปด้วยโอกาสในการก้าวสู่การเป็น “ผู้นำเกษตรโลก” ภาคเกษตรของไทยจะเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้ก้าวหน้า ทำให้เกษตรกรไทยร่ำรวย..

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ทำธุรกิจมา 46 ปี พบว่าวันนี้เป็นโอกาสที่ดีที่สุดของประเทศไทย เป็นโอกาสทางประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเฉพาะในด้านการเกษตร ทุกอย่างได้เอื้ออำนวยและผลักดันให้เกษตรกรไทยมีฐานะร่ำรวยขึ้น

“ผมคิดว่ามองไม่ผิด เพราะว่าน้ำมันราคาขึ้นสูง ทำให้น้ำมันบนดินมีความหมายมากขึ้น มีความหมายยิ่งกว่าน้ำมันในใต้ดิน เพราะน้ำมันบนดินคือพืชเกษตร ที่เลี้ยงมนุษย์ เป็นพลังงานของมนุษย์ เป็นพลังงานของเครื่องจักร ใช้ทดแทนน้ำมันได้แต่ใช้ไม่หมด” นายธนินท์ กล่าว

คลิปสร้างแรงใจ..มุมมองเกษตรของไทย20ปีข้างหน้า น้ำมันบนดิน ทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์จะมาแรงสุด..

 

บทสัมภาษณ์สุดเอ็กคลูซีฟ เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ Ep.1

.

ในอนาคตธุรกิจการเกษตรของโลกจะเป็นอย่างไร?

ปัจจุบันสถานการณ์ของโลกในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป ปัญหาสำคัญที่กำลังนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเกษตรของโลกและของไทย คือ ปัญหาวิกฤตความสมดุลของพลังงานและอาหาร ซึ่งมีสาเหตุหลักจากสองด้าน คือ

(1) ความเจริญเติบโตของประเทศอุตสาหกรรมใหม่ เช่น จีน และ อินเดีย ทำให้อัตราการใช้พลังงานของโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ซึ่งส่งผลต่อราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นเหตุให้เกิดแรงผลักดันนำไปสู่การพัฒนาพลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้น ความต้องการพืชพลังงานในโลกจึงมีแนวโน้มสูงขึ้น
(2) ในปี 2593 หรืออีก 39 ปีข้างหน้า ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 9,000 ล้านคน ทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าเกษตรและอาหารเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปริมาณผลผลิตพืชอาหารลดลง เนื่องจากข้อจำกัดด้านพื้นที่เพาะปลูกและเทคโนโลยีการผลิตที่มีอยู่ ทำให้ไม่สามารถเพิ่มผลผลิตให้สูงกว่าปัจจุบันได้มากนัก ประกอบกับปัญหาผลกระทบจากสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดภัยธรรมชาติทั้งภัยแล้งและอุทกภัย ส่งผลต่อความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตรของหลายประเทศ

จากสาเหตุหลักข้างต้นจะส่งผลต่อความขัดแย้งระหว่างการผลิตพืชอาหารและพืชพลังงาน พืชที่จะมีผลกระทบได้แก่ ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตทั้งอาหารสัตว์ และเอทานอล อ้อยซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตทั้งน้ำตาลและเอทานอล และปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิต น้ำมันพืชบริโภคและไบโอดีเซล เป็นต้น สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างการผลิตพืชอาหารและพืชพลังงานในอนาคต จะทำให้ผลผลิตอาหารสู่ตลาดลดลง และพืชอาหารจะมีราคาสูงขึ้น

ด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจว่าการพัฒนาธุรกิจการเกษตรในอนาคตจะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตอาหารให้มีมากพอรองรับกับจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น โดยจะต้องมีการนำเทคโนโลยี เครื่องจักรที่ทันสมัยมาใช้มากขึ้น รวมถึงมีการบริหารจัดการที่ดีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

 

บทสัมภาษณ์สุดเอ็กคลูซีฟ เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ Ep.2

ภาคการเกษตรของไทยในอนาคตจะเป็นอย่างไร?

เครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยนายธนินท์ เจียรวนนท์ เชื่อมั่นว่าภาคการเกษตรของไทยจะต้องเจริญรุ่งเรืองอย่างแน่นอน เพราะสถานการณ์โลกเอื้ออำนวยให้กับประเทศไทย

แต่ทั้งนี้ประเทศไทย เกษตรกรไทยจะได้รับประโยชน์จากสถานการณ์โลกที่เอื้ออำนวยหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเกษตรของประเทศไทย ทั้งนี้เชื่อว่าการพัฒนาภาคเกษตรของไทยจะต้องมีปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังครั้งยิ่งใหญ่

เนื่องจากในอนาคตภาคการเกษตรของไทยก็จะประสบปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน กล่าวคือ

(1) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง

(2) แรงงานภาคการเกษตรลดน้อยลง

(3) ราคาผลิตผลทางการเกษตรเพิ่มสูงขึ้น

ปัญหาภาคการเกษตรที่เปลี่ยนแปลงไปเหล่านี้ จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการปรับตัวในภาคเกษตรครั้งยิ่งใหญ่ มีการรวมพื้นที่ขนาดเล็กเป็นพื้นที่เพาะปลูกแปลงใหญ่ ๆ ซึ่งต้องใช้เครื่องจักรกลเข้าไปช่วย จะเกิดกลุ่มอาชีพที่มีความชำนาญเฉพาะด้านเข้าไปรับจ้างเกษตรกรเพิ่มมากขึ้น อย่างเช่น ในประเทศไต้หวัน มีมืออาชีพรับจ้างเพาะกล้า ดำนา และเก็บเกี่ยว ฯลฯ

ภาคการเกษตรของไทยในอนาคตจะยังดีอยู่ ประเทศไทยจะยังคงเป็นแชมเปี้ยนโลกในการส่งออกผลิตผลทางการเกษตรหลายชนิด เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และกุ้ง เป็นต้น

สินค้าเกษตร คือ น้ำมันบนดิน เป็นทรัพย์สมบัติของชาติ รัฐบาลควรส่งเสริมและพัฒนาให้อุตสาหกรรมการเกษตรเติบโตก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อความกินดีอยู่ดีของเกษตรกรและเพื่อความสร้างความมั่นคงแก่เศรษฐกิจของประเทศไทย.

ขอบคุณ https://www.108kaset.com/index.php/topic,69