เลี้ยงสัตว์ » รู้จักกับอาหารข้นสำหรับแพะ-วัว..ผิวถั่วเหลืองอัดเม็ด

รู้จักกับอาหารข้นสำหรับแพะ-วัว..ผิวถั่วเหลืองอัดเม็ด

7 มิถุนายน 2018
2763   0

>สารบัญสำคัญ “คัมภีร์คนเลี้ยงแพะ”

>สารานุกรมชื่อเจ้าของฟาร์มแพะ ทั่วไทย 2018-2019(รวมเฟซบุ๊คเพื่อนชาวแพะไทย)


กลุ่มไลน์   แพะแกะสร้างอาชีพ (แอดไลน์มาที่ทีมงาน 108kaset 0874638654 แล้วจะดึงเข้ากลุ่มครับ )


ผิวถั่วเหลืองอัดเม็ด มีโปรตีน 11-12%


ลักษณะของผิวถั่วเหลืองอัดเม็ด

ผิวถั่วเหลืองอัดเม็ด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการผลิตกากถั่วเหลืองชนิดกระเทาะผิวซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในการเลี้ยงสัตว์

โดยทั่วไปแล้วผิวถั่วเหลือง เป็นวัตถุดิบอาหารที่มี..
-โปรตีน 11-12%
-ไขมัน 1.5%
-เยื่อใย 36%

และเป็นเยื่อใยที่สัตว์ย่อยได้ดีเพราะประกอบด้วยเพคติน 30% และเฮมิเซลลูโลส 50% ของเยื่อใยทั้งหมด สัตว์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ อีกทั้งผิวถั่วเหลืองยังมีปริมาณสารลิกนินระดับต่ำจึงทำให้การย่อยได้ของผิวถั่วเหลืองดีขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์กระเพาะรวม

สำหรับการใช้ผิวถั่วเหลืองในสูตรอาหารแพะรุ่น-ขุน ช่วยทำให้แพะมีการเติบโตและมีประสิทธิภาพการใช้อาหารตามปกติแต่จะมีคุณภาพซากดีขึ้น ในขณะที่การใช้ในอาหารแม่แพะอุ้มท้องจะช่วยป้องกันการท้องผูก ทำให้มีมูลมีลักษณะนิ่ม ส่วนการใช้ในอาหารแพะจะใช้เป็นได้ทั้งอาหารข้นและอาหารหยาบพร้อมกันโดยให้การเติบโตและให้น้ำนมดี


กระสอบบรรจุผิวถั่วเหลืองอัดเม็ด ประมาณ50ก.ก.

ลักษณะของกากถั่วเหลืองที่ไม่ควรนำมาใช้เลี้ยงสัตว์คือ

1. มีความชื้นสูง กากถั่วเหลืองที่มีความชื้นสูงจะมีลักษณะจับกันเป็นก้อน มีขนาดไม่แน่นอน และเกิดเชื้อราได้ง่าย

2. ดิบหรือไหม้ ซึ่งเป็นผลจากการให้ความร้อนในขบวนการเผาไหม้ กากถั่วเหลืองดิบ หรือสุกไม่ดีพอ จะมีสีซีด กลิ่นเหม็นเขียว จับตัวกันเป็นก้อน สาเหตุมาจาก..

– ความร้อนที่ให้แก่เมล็ดถั่วเหลือง เพื่อการระเหยน้ำ และความร้อนที่เกิดจากแรงอัด เพื่อสกัดน้ำมันในขบวนการสกัดน้ำมันโดยใช้แรงอัด ต่ำกว่าอุณหภูมิที่กำหนด
– ความร้อนที่ใช้เพื่อระเหย Solvent ออกจากกากถั่วเหลืองในขบวนการสกัดน้ำมัน โดยใช้ Solvent ต่ำกว่าอุณหภูมิที่กำหนด

กากถั่วเหลืองประเภทนี้จะมีสาร Trypsin Inhibitor ค่อนข้างสูง และยังมีเอ็นไซม์ยูรีเอสเหลืออยู่ค่อนข้างสูง กากถั่วเหลืองที่เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ ควรจะมีค่า Urease Index (pH) อยู่ในช่วง 0.02–0.2 ซึ่งจากการตรวจสอบตัวอย่างกากถั่วเหลือง โดยกองควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์พบว่า ตัวอย่างกากถั่วเหลืองจำนวน 98 เปอร์เซ็นต์ มีค่า pH อยู่ในช่วง 0–0.25 ส่วนตัวอย่างกากถั่วเหลืองที่ค่อนข้างดิบมีค่า pH สูงกว่า 0.25 มีเพียง 2 เปอร์เซนต์ เท่านั้น..

กระบวนการผลิตผิวถั่วเหลืองกระเทาะผิว

1. ถั่วเหลืองเมล็ด —->ทำความสะอาดขบให้แตกร่อนเอาผิวออก—–>ได้ผิวถั่วเหลือง

2. หลังจากนั้นสกัดน้ำมัน—–>น้ำมันถั่วเหลือง

3. ผลพลอยได้จากที่เหลือจากสกัดน้ำมัน—–>กากถั่วเหลือง

 

1. โปรตีน                11.60%

2. Urease Activity   0.03

3. ความชื้น             10.80%

4. น้ำมัน                     2.65%

5. ปริมาณกาก       36.14%

6. เถ้า                         4.08%

หมายเหตุ : ผิวถั่วเหลืองมี 2 แบบ คือ แบบอัดเม็ด กับโม่

ขอบคุณ https://www.108kaset.com/goat/index.php/topic,257.0.html
http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php