เลี้ยงสัตว์ » ต้นกล้วย..ประโยชน์ทุกชิ้นส่วน..มีโปรตีนเท่าไร? TY

ต้นกล้วย..ประโยชน์ทุกชิ้นส่วน..มีโปรตีนเท่าไร? TY

27 มิถุนายน 2018
1357   0

http://bit.ly/2Kq2eId

กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ ได้นำส่วนต่างๆของกล้วยมาทำการวิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมี ได้พบว่า..

1.ใบกล้วย ใบกล้วยสด มีสีเขียวเข้ม มีวัตถุแห้งประมาณ 28 เปอร์เซ็นต์ และมีน้ำมากถึง 72 เปอร์เซ็นต์ มีสารอาหารที่สำคัญ เช่น..

-โปรตีนคิดจากน้ำหนักแห้งประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์

-มีเยื่อใยประมาณ 24 เปอร์เซ็นต์

เปรียบเทียบคุณค่าทางอาหารของใบกล้วยสด กับพืชอาหารสัตว์อื่นๆจะเห็นว่า ใบกล้วยสดมีระดับโปรตีนใกล้เคียงกับหญ้าขนสด (ใบกล้วยมีโปรตีนคิดจากน้ำหนักแห้ง 12 เปอร์เซ็นต์ หญ้าขนมีโปรตีน 10 เปอร์เซ็นต์ โดยประมาณ)

ส่วนใบของกล้วยไม่รวมก้านใบมี โปรตีนใกล้เคียงกับพืชตระกูลถั่ว ใบสดของต้นกล้วยจึงเป็นผลพลอยได้ที่น่าจะนำมาใช้เป็นอาหารหยาบสำหรับเลี้ยง โค-กระบือ ร่วมกับฟางข้าว และหญ้าแห้ง จะทำให้โค-กระบือกินอาหารมากขึ้น การนำใบกล้วยหั่นเป็นฝอยตากแห้งแล้ว นำมาผสมอาหารข้นเลี้ยงสุกร หรือสัตว์ปีก อาจจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าจะลดต้นทุนการผลิตได้ เนื่องจากใบกล้วยมีเยื่อใยสูงไม่มากนัก สัตว์กระเพาะเดี่ยวสามารถใช้ประโยชน์ได้มากพอสมควร ข้อน่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือ ใบกล้วยมีระดับ ไขมันค่อนข้างสูง น่าจะใช้เป็นแหล่งพลังงานสำหรับสัตว์ได้ค่อนข้างดีแหล่งหนึ่ง

.

2.ต้นกล้วย ต้นกล้วยส่วนที่เราเห็นโผล่พ้นจากดินนั้น อันที่จริงเป็นก้านใบของกล้วย ในทางวิชาการถือว่าเป็นลำต้นเทียมประกอบด้วย ก้านใบจำนวนมากอัดกันแน่นเป็นชั้นๆชั้นนอกสุดมีความแข็ง และเหนียวมากกว่าก้านใบที่อยู่ด้านใน จากผลการวิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมีของต้นกล้วย โดยกลุ่มงานวิเคราะห์อาหารสัตว์ กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ พบว่า ต้นกล้วยสดมีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณโปรตีนคิดจากน้ำหนักแห้งเพียง 2.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่ง ใกล้เคียงกับฟางข้าว มีเยื่อใยคิดจากน้ำหนักแห้ง 26.1เปอร์เซ็นต์

อย่างไรก็ตามระดับเยื่อใยในต้นกล้วยค่อนข้างต่ำ จึงสามารถใช้ต้นกล้วยเป็นอาหารเลี้ยงสุกร ซึ่งเป็นสัตว์กระเพาะเดี่ยวได้

นอกจากนั้นยังพบว่า ต้นกล้วยมีระดับแร่ธาตุแคลเซียม ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ โปแตสเซียมประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.1 เปอร์เซ็นต์ แมกนีเซียมประมาณ 0.42 เปอร์เซ็นต์ แร่ ธาตุแมงกานีส ทองแดง เหล็ก และสังกะสีประมาณ 2.87 0.05 6.37 และ1.41 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแห้ง 100 กรัม ตามลำดับ..

การใช้ต้นกล้วยเลี้ยงสัตว์ จึงทำให้สัตว์ได้รับแร่ธาตุ และวิตามินต่างๆอีกด้วย เนื่องจากต้นกล้วยสดมีปริมาณน้ำเป็นส่วน ประกอบมากต้นอ่อนๆของกล้วย มีเยื่อใยต่ำการนำต้นกล้วยสดสับผสมฟางข้าว หรือหญ้าแห้งเลี้ยง โค-กระบือ ในฤดูแล้งจะทำให้ โค-กระบือ กินอาหารได้มากขึ้น สัตว์สามารถประทังความหิวได้ และได้รับสารอาหารปลีกย่อย เช่น แร่ธาตุ และวิตามินต่างๆมากขึ้น อาจจะทำให้ โค-กระบือ สามารถเจริญเติบโตตามปกติ ตลอดช่วงฤดูแล้งในแต่ละปี..

.

3.เปลือกกล้วย ต้นกล้วยจะสามารถให้ผลเมื่อโตเต็มที่ ในสภาพดินอุดมสมบูรณ์ และมีน้ำเพียงพอ ต้นกล้วยจะให้ผลหลังจากปลูกประมาณ 6 เดือน และให้ผลตลอดทั้งปี ผลกล้วยจะเกาะกันเป็นกลุ่มเรียกว่า หวี แต่ละหวีมีจำนวน 10-15 ผล กล้วยต้นโตๆอาจจะให้ผลมากถึง 10-15 หวี มีน้ำหนักผลกล้วยสดมากถึง 20 กิโลกรัม

เปลือกกล้วยเป็นผลพลอยได้จาก ผลของกล้วย ตามปกติเมื่อเรารับประทานกล้วยสุกจะต้องปอกเปลือกของกล้วยทิ้งไป อันที่จริงเปลือกกล้วยยังสามารถนำ มาใช้เลี้ยงสัตว์ได้ เนื่องจากมีความหวาน และมีความน่ากินอยู่มาก สัตว์แทบทุกชนิดชอบกินเปลือกกล้วย โดยเฉพาะสุกร โค-กระบือ แม้กระทั่งสัตว์ปีกก็ชอบกินเปลือกกล้วย

-เปลือกกล้วยมีโปรตีน คิดจากน้ำหนักแห้งประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์

-มีไขมันคิดจากน้ำหนักแห้งประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์

…จากส่วนประกอบทางเคมีดังกล่าว เปลือกกล้วยน่าจะเหมาะสำหรับเลี้ยงสัตว์ทุกชนิด ทั้งสัตว์กระเพาะเดี่ยวและสัตว์กระเพาะรวม แม้จะมีระดับโปรตีนค่อนข้างต่ำ แต่มีไขมันมากทำให้สามารถให้พลังงานแก่สัตว์มาก นอกจากนั้น เปลือกกล้วยน่าจะย่อยได้มาก เพราะมีเยื่อใยอยู่น้อย (ประมาณ 11 เปอร์เซ็นต์)

ในปัจจุบันนี้มีการนำกล้วยมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทำให้มีเปลือกกล้วยเหลือทิ้งในปริมาณมากๆ เกษตรกรที่อยู่ใกล้แหล่งดังกล่าวอาจจะใช้เปลือกกล้วยเป็นอาหารหลักเลี้ยงโค-กระบือ และสุกรกรณีที่มีเปลือกกล้วยเหลือทิ้ง ในปริมาณมากเกินกว่าที่จะใช้เลี้ยงสัตว์ในแต่ละวัน เกษตรกรอาจจะนำเปลือกกล้วยมาหมักร่วมกับหญ้าสด หรืออาหารหยาบอื่นๆเก็บไว้เลี้ยงสัตว์ในฤดูแล้งจะได้ อาหารหมักที่มีความน่ากิน และมีคุณค่าทางอาหารเหมาะสมสำหรับเลี้ยงสัตว์

.

4.ผลกล้วย ผลกล้วยเมื่อแก่เต็มที่จะมีน้ำเป็นส่วนประกอบ 60-70 เปอร์เซ็นต์ มีวัตถุแห้งประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ มีแป้ง คิดจากน้ำหนักแห้งประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ เมื่อกล้วยสุกแป้งจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาล ทำให้มีรสหวานอาจจะมีกลิ่นหอมด้วย ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของกล้วย

สัตว์ทุกชนิดชอบกินผลกล้วยสุก เนื่องจากมีความหวาน และมีความน่ากิน ผลกล้วยน่าจะเป็นแหล่งพลังงานสำหรับสัตว์มากกว่าโปรตีน เพราะมีโปรตีนคิดจากน้ำหนักแห้งเพียง 3-5 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น และทำให้สัตว์ฟื้นจากการป่วยเร็วขึ้น ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากกล้วยสุกมีรสหวานมีความน่ากิน เป็นการกระตุ้นให้สัตว์กินอาหาร และในกล้วยสุกมีพลังงานสูงสามารถย่อยได้มาก ทำให้สัตว์ได้รับพลังงานในเวลารวดเร็ว ทำให้สัตว์มีความแข็งแรงเร็วขึ้น

การนำผลกล้วยหมักร่วมกับอาหารหยาบคุณภาพต่ำ เช่น ฟางข้าว ชานอ้อย ผักตบชวา น้ำตาลจากผลกล้วยจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการหมักให้เร็วขึ้น ทำให้อาหารหมักมีคุณภาพดีขึ้น นอกจากนั้น การใช้กล้วยสุกเป็นแหล่งพลังงานเสริม สำหรับโค-กระบือ ซึ่งเลี้ยงด้วยฟางหมักยูเรีย หรือชานอ้อยหมักยูเรีย น่าจะทำให้สัตว์กินอาหาร และใช้ประโยชน์จากอาหารมากขึ้น

การใช้ผลกล้วยเลี้ยงสุกร ควรใช้ผลกล้วยสุก เพราะสุกรจะชอบกินมากกว่าผลดิบ อย่างไรก็ตามถ้าให้สุกรกินกล้วยสุกเพียง อย่างเดียวจะทำให้สุกรท้องเสีย ดังนั้น เกษตรกรจะต้องเสริมอาหารข้นที่มีโปรตีน 10-22 เปอร์เซ็นต์ วันละ 1-2 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของสุกรจะทำให้สุกรเจริญเติบโตตามปกติ

การทำกล้วยป่น โดยนำกล้วยดิบหั่นเป็นชิ้นเล็กๆตากแห้ง สามารถเก็บไว้ได้นาน และใช้แทนรำแทนปลายข้าวในสูตร อาหารข้นสำหรับเลี้ยงสุกรได้มากถึง 70-80 เปอร์เซ็นต์ กรณีที่เกษตรกรทำสวนกล้วย และมีผลิตผลมากเกินความต้องการของตลาด อาจจะทำให้กล้วยป่นเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ หรือจำหน่ายให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงสัตว์ ก็จะเป็นรายได้ที่ดีอีกทางหนึ่ง

ตารางแสดง ส่วนประกอบทางเคมีของเปลือกกล้วย และผลกล้วย

ผลิตผลของกล้วย

 

 

เปอร์เซ็นต์

วัตถุแห้ง

ปริมาณสารอาหารคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากน้ำหนักแห้ง

 

แหล่ง

ข้อมูล

 

โปรตีน(CP)

 

เยื่อใย(CF)

 

เถ้า(Ash)

 

ไขมัน(EE)

NFE

– ผลกล้วยดิบ

20.9

4.8

3.3

4.8

1.9

85.2

ทรินิแดด

– ผลกล้วยสุก

31.0

5.4

2.2

3.3

0.9

88.2

ทรินิแดด

– เปลือกกล้วยดิบ

7.7

13.0

16.5

6.0

56.8

โซมาเลีย

– เปลือกกล้วยสุก

14.1

7.9

7.7

13.4

11.6

59.4

ไนจีเรีย

ข้อมูล : ดัดแปลงจาก FAO Feed Information Summaries and Nutritive Value. (1981)

ตารางแสดง ผลการวิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมีลำต้นกล้วย และใบกล้วย โดยศูนย์วิจัยอาหารสัตว์ปากช่อง กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์

ส่วนต่างๆ

ของกล้วย

 

วัตถุ

แห้ง

(%)

ส่วนประกอบทางเคมี (เปอร์เซ็นต์จากน้ำหนักแห้ง)

โปรตีน

(CP)

ไขมัน

(EE)

เยื่อใย

(CF)

เถ้า

(Ash)

NFE

NDF

ADF

Lignin

Cellu-lose

ลำต้นกล้วยส่วนโคน

3.9

4.4

0.5

21.7

31.3

41.9

52.4

33.9

4.1

28.5

ลำต้นกล้วยส่วนกลาง

4.3

3.7

0.5

24.1

30.8

40.9

55.3

37.9

4.2

32.7

ลำต้นกล้วยส่วนปลาย

4.8

3.6

0.6

25.0

24.2

46.6

57.4

37.2

4.11

32.3

ลำต้นกล้วยรวมทั้งต้น

4.9

4.1

0.4

23.9

31.4

40.0

57.8

37.7

4.51

26.9

ใบกล้วย

28.0

11.7

9.6

24.3

13.7

40.7

57.4

46.7

14.2

21.9

หมายเหตุ การหาเปอร์เซ็นต์ของวัตถุแห้ง (Dry matter) คำนวณจากน้ำหนักสด

ขอขอบคุณ http://nutrition.dld.go.th/Nutrition_Knowlage/ARTICLE/ArtileF.htm

สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ E-mail address : nutrition1@dld.go.th

https://www.voathai.com/a/banana-protein-viruses-tk/..

https://www.google.com/search?newwindow=1&safe=active..