เลี้ยงสัตว์ » ยาควรมีประจำคอก/กลุ่มยารักษาแพะท้องเสีย

ยาควรมีประจำคอก/กลุ่มยารักษาแพะท้องเสีย

13 ตุลาคม 2018
21097   0

//////////

สั่งซื้อยากับร้านคิว.ซี.ฯ ร้านพันธมิตรของพวกเรากันได้เลย!!ที่นี่ https://web.facebook.com/312318862224203/ คลิ๊ก!! 
..ครั้งต่อไป คลิ๊กเดียวจบ แชทคุยกับคุณมุก ร้าน คิว.ซี.ฯ ส่ง.. ยา+อุปกรณ์ทางเคอรี่ฯทั่วไทย โอนเงินทางพร้อมเพย์ เบอร์ 086-5335140 คุณอภิสิทธิ์ เฉลิมวัฒน์ ธ. กรุงไทย
..ต้องขอขอบพระคุณ ท่าน อ.Isaraman ผู้มีน้ำใจงามของวงการแพะไทย ที่กรุณาแนะนำให้ผมรู้จัก ร้านบริการดี ราคาเป็นกันเอง ..
?ปล. สั่งซื้อบอกว่ามาจาก เว็บไซต์ 108kaset.com หรือ เฟซบุ๊ค เลี้ยงแพะยั่งยืน ด้วยนะครับ..ประเดี๋ยวจะพลาดโอกาสเพราะบางช่วงทางร้านจะมีโปรโมชั่นส่วนลด หรือของสมณาคุณเล็กๆน้อยๆให้อีกด้วย รวมทั้งร้าน คิว.ซี.ฯเองจะได้รักษาคุณภาพของสินค้าและบริการที่ดีไว้หากรู้ว่ามีกลุ่มคนที่รวมตัวกันเฝ้ามองผลงานและให้กำลังใจอยู่ทางโลกอินเตอร์เน็ต..
…พวกเรากลุ่มเลี้ยงแพะเล็กๆช่วยกันอุดหนุน+รักษาร้านค้าดีๆเช่นนี้เอาไว้..อาชีพเลี้ยงแพะในประเทศไทยย่อมสดใสแน่นอนครับผม.

//////////

>สารบัญสำคัญ “คัมภีร์คนเลี้ยงแพะ”

ค๊อคคีล่าCoccila

เป็นชื่อทางการค้าของยาสูตรผสมที่มีข้อบ่งใช้สำหรับอาการท้องเสียจากการติดเชื้อ ซึ่งยาดังกล่าวจะมีทั้งรูปแบบของยาเม็ดและยาน้ำเชื่อม โดย..

– ยาเม็ดมีตัวยาสำคัญ ได้แก่ Diiodohydroxyquinoline 250 mg, neomycin sulfate 35 mg, phthalylsulfathiazole 250 mg, light kaolin 250 mg และ furazolidone 50 mg

– ยาน้ำเชื่อมมีตัวยาสำคัญ ได้แก่ Furazolidone 50 mg, neomycin 52.5 mg และ kaolin 3 g

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่ายาเม็ดจะมีส่วนประกอบที่เพิ่มขึ้นจากยาน้ำเชื่อม คือ diiodohydroxyquinoline และ phthalylsulfathiazole ซึ่ง phthalylsulfathiazole นั้นเป็นยาที่มีหมู่ sulfonamide อยู่ในสูตรโครงสร้าง ดังนั้นผู้ป่วยที่มีประวัติของการแพ้ยาในกลุ่ม sulfa จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยา Coccila ชนิดเม็ด.. แต่สำหรับยาน้ำเชื่อมนั้นไม่มียาที่มีสูตรโครงสร้างของ sulfonamide แต่อย่างใด


◐ซัลฟาเมท(sulfamet)

สำหรับเป็ด ไก่ และห่าน ใช้รักษาโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อบิด อหิวาต์ ขี้ขาว และ Anatipestifer disease

สำหรับสุกร ใช้รักษาโรคลำไส้อักเสบ ขี้ไหลเนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น อีโคไล ซาโมเนล่า และปอดบวม

Each 100 cc contains Sulfamatasine sodium 12.5 g
ขนาด 500 cc ราคาประมาณ 180 บาท
ขนาด 100 cc ราคาประมาณ 50 บาท


 

◐ไบค๊อก

สรรพคุณ -สุกร เพื่อป้องกันและรักษาอาการท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อบิด ในลูกสุกร อายุ 3-5 วัน
                  -โค เพื่อป้องกันและรักษาโรคบิด และลดการแพร่กระจายของโอโอซิสต์ ภายในฟาร์ม
วิธีการใช้ -สุกร 1 ซีซี/ลูกสุกร 1 ตัว
                 -โค 3 ซีซี/น้ำหนักตัว 10 กก.
ข้อห้าม -ห้ามใช้ในโคที่กำลังให้นม

สั่งซื้อออนไลน์ https://www.namping.com/pet-economy/baycox-5-100-ml.html


เยนฟล๊อกซิน 20ซีซี
ราคา : 70.00 บาท

รายละเอียด : ประกอบไปด้วยตัวยา เอ็นโรฟล๊อกซาซีน 50 มิลลิกรัม
ใช้รักษาโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ หอบ ปอดบวม หลอดลมอักเสบ
และรักษาโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องร่วง ท้องเสีย บิด
วิธีใช้ วัว ควาย สุกร แพะ แกะ สุนัข แมว ใช้ 1 ซีซี ต่อน้ำหนัก 10 กิโลกรัม
ขนาดบรรจุ 20 ซีซี


ยาควรมีประจำคอก/กลุ่มยารักษาแพะท้องเสีย

คำแนะนำจากเพื่อนๆชาวแพะ ในเฟซบุ๊ค เลี้ยงแพะยั่งยืน 

>อภิญญา พลอยดี มีแพะเด็กที่รับมาเข้าคอกมีอาการท้องเสีย…เป็นน้ำๆไม่เป็นเม็ดก่อนหน้านี้ก็มีแพะท้องเกิดอาการเดียวกัน
วิธีที่คอก ค่ะ
1.เอาช้อนที่มีด้ามเอาทางด้ามทิ่มที่ต้นกล้วยจะมีน้ำขาวๆไหนออกมาใช้สลิปดูประมาณ3cc. นำไปป้อนแพะ
2.ใช้สลิ้งดูดยาธาตุน้ำขาวตรากระต่ายบิน3cc. ป้อนแพะค่ะ
3.ผงเกลือแร่ของคนผสมน้ำอุ่นแล้วใช้สลิ้งดูดนำไปป้อนแพะค่ะ
??ข้อ1-2ให้กินเช้าเย็น  ข้อ3ถ้าแพะกินได้ไม่ต้องให้ผงเกลือแร่แล้วก็ได้ค่ะ
ทำแล้วได้ผลเลยบอกต่อค่ะ จากที่คอก2วันกะหายแล้วค่ะ
►Bu Lun ลองเอายอดสะแกบดไห้ละเอียดแล้วเอาน้ำใส่ผสมแล้วกรองเอาแต่น้ำป้อนดูจ้า ตะบ้านหายยุจ้า
►Fa Hut ของผมท้องเสีย ลุกไม่ไหว ทำไงก็ไม่หาย ชัก ผมให้น้ำเกลืออยู่2วัน สุดท้ายให้กินยา โรคบิดของคน วันล่ะเม็ด 2วันหายครับ
►ครูตุ้ย ณัฐวุฒิฟาร์ม ค๊อกคีล่า ยาเด็กใช้ดีจ้า
►Anucharti Kim  แนะนำ ซัลฟาเมท  ของผมหายทุกตัว ถ้าเกิดจากการกินของแสลง หรือฉีดยา แอนโร
►Anucharti Kim  ฉีดอ๊อกซี่+ยาบำรุงไบโอคาตาลิน ขี้เหลวใช้ซัลฟาเมทกรอก บางครั้งการขนย้ายแพะ สถานที่เปลี่ยน อากาศเปลี่ยน อาหารเปลี่ยน ทำให้แพะเครียด เจ็บป่วยได้
►เดช ทองนำ้แก้ว ไบค๊อก เลยคับดีมากๆ
►Rattanapron Machanonเยนฟล๊อกซิน ใช้ร่วมกับEM.สำหรับแพะท้องเสีย ใช้ป้อนค่ะ.อย่างละ.5-10 cc ..สามเวลา..เช้า กลางวัน เย็น.
►พงศกร สายยนต์ ทางกล้วยที่มีใบใส่รางให้แพะกิน

►Anuchit Suwanarat หาซัลฟาไม่ได้ เคยใช้ยอดใบฝรั่ง (ใบชมพู่ทางใต้) รสฝาดๆ อาการดีขึ้นครับ ..//หรือ หั่นกล้วยน้ำว้าดิบๆ(สีเขียวมียางนิดๆ)ให้กินก่อนสัก2-3ลูก ช่วยได้ดีมาก
►อภิญญา พลอยดี เคยเจอที่คอก….มือใหม่ก็ได้คำแนะนำมาเหมือนกันใช้แล้วได้ผลเลยบอกต่อค่ะ
เอาตรงด้ามช้อนไปทิ่มที่ต้นกล้วยเอาด้ามช้อนหมุดไปหมุดมาให้มีน้ำขาวๆไหลออกมาแล้วเก็บใส่แก้วค่ะ
เอาสลิงดูด3ซีซีป้อนให้แพะที่ท้องเสีย….เช้า…..เย็น
และคอยดูว่ายังถ่ายเหลวอยู่ไมถ้ายังเหลวให้ป้อนต่อไปถ้าไม่ถ่ายเหลวแล้วให้หยุดป้อนเลยค่ะ…
(น้ำกล้วยพอใส่แก้วจะมีสีออกน้ำตาลค่ะไม่ต้องตกใจปกติ)
อดิศักดิ์ โสมจันทร์ ตัวนี้ก็ดีคับ

Isaraman Thippayanon เรื่องการถ่ายเหลวเรื้อรัง หายแล้วกลับมาเป็นอีกซ้ำๆ ให้ดู 2 อย่างหลักๆ
1. อาหารที่กิน เช่น อาหารข้น หญ้า/ใบไม้อ่อน พืชอุ้มน้ำ(ผักบุ้ง , ผักยาง)
2. พยาธิ ให้สำรวจดูเยื่อบุเปลือกตา , เหงือก , จิ๋ม ถ้าขาวซีด หรือชมพูอ่อนๆ แสดงว่า พยาธิยังคงอยู่ การพยาธิที่ผ่านมาไม่ได้ผล อาจต้องเปลี่ยนกลุ่มยา ซึ่งในท้องตลาดทั่วไป ที่พบส่วนใหญ่คือ:-
– อัลเบนดาโซล เช่น เอ-เบน , อะเบนเทล , วันบาเซน เป็นต้น ไม่ควรให้แพะตั้งท้อง ช่วง 1-3 เดือน ที่ดีหลีกเลี่ยงการให้กับแพะท้อง
– เฟนเบนดาโซล เช่น เฟนเบนฟาร์ , พานาคูร์ เป็นต้น ไม่มีผลต่อแพะท้อง
– ลิวามิโซล เช่น ลิวาโซล มีทั้งเป็นยาฉีดใต้ผิวหนัง , ยาเม็ด , ยาผง ไม่มีผลต่อแพะท้อง
– ไอเวอร์แม็คติน เช่น ไอเวอร์แม็คติน , ไอโวแม็ค-เอ็ฟ (ฉีดใต้ผิวหนัง) , ไซเด็กติน (ราดหลัง)
– คลอสแซนเทล (closantel) เช่น เทลเซน เป็นยาฉีดใต้ผิวหนัง อัตราใช้ 1 cc./นน. 10 กก.(ในวัว) , 2 cc./นน. 10 กก.(ในแพะ-แกะ) ไม่มีผลต่อแพะท้อง (ยานี้ส่วนใหญ่หาซื้อยากในท้องตลาด)
เมื่อหาสาเหตุได้ ก็จัดการตามสาเหตุที่พบ หลักการจัดการในการรักษา ทำได้ดังนี้
1. ลดอาหารข้น หลีกเลี่ยงการกิน หญ้าอ่อน ใบไม้อ่อน พืชน้ำ
2. จัดหญ้าแห้ง , ฟางแห้ง(ถ้าแพะกิน) ให้กินในคอกตลอดเวลา
3. หากถ่ายเหลวมากๆ ทำให้สูญเสียเกลือแร่ในร่างกาย มีโอกาสทำให้แพะอ่อนเพลีย นอนทรุดได้ ให้มีการละลายผงเกลือแร่ให้กิน 2-3 มื้อ/วัน
4. ใช้ผงถ่าน (คา-อา-บอน) เพื่อซับน้ำในกระเพาะ ให้กิน 2-3 แคปซูล วันละ 2 มื้อ (ยัดใส่กล้วยให้กินจะทำให้ป้อนกินง่ายขึ้น) หาได้ตามร้านยาเภสัช / 7-11
5. ใช้ยาฉีด/ยาป้อนฆ่าเชื้อ เช่น ไดเซนโต้ (ยาคน) , ซัลฟาเมท , ไบทริล , ไบค็อก , เอ็นโร-100 , อ๊อกต้าซิน-เอ็น , เอ็นโรการ์ด , ไทโลซิน , แม็คโครแลน 200 เป็นต้น
6. กรณีพบว่ายังมีพยาธิรบกวน ให้ทำการถ่ายพยาธิด้วย

 

เกร็ดเล็กๆกับโรคบิด

อาการของโรคบิด คือการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำครั้งละไม่มากแต่บ่อยครั้ง โดยลักษณะของอุจจาระมักจะมีมูกหรือมูกเลือดปนออกมาด้วย ซึ่งถ้าหากมีอาการรุนแรงก็จะพบอุจจาระมีเลือดปนหนอง

การรักษาโรคบิดด้วยสมุนไพร

1. ฝรั่ง โดยใช้ใบฝรั่งสดกับเกลือแกงอย่างละเท่าๆ กัน มาตำให้ละเอียด แล้วนำมาผสมกับน้ำต้มสุก จากนั้นจึงคั้นเอาน้ำยาประมาณ 1 ถ้วยชา มาดื่มจะช่วยรักษาอาการของโรคบิดได้

2. ใบกะทกรก ใช้ประมาณ 1 กำมือ นำมาล้างให้สะอาดแล้วนำมาตำให้ละเอียด จากนั้นผสมกับน้ำต้มสุกประมาณครึ่งแก้ว คั้นแล้วใช้ผ้าขาวบางกรองเอาแต่น้ำ นำมาผสมกับน้ำผึ้งแท้ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วคนให้เข้ากัน ใช้ดื่มรักษาโรคบิดได้

3. กระชาย โดยนำหัวกระชาย 1 หัว นำมาทุบพอแตกแล้วนำไปใส่หม้อดินต้มกับน้ำปูนใส นำน้ำมาดื่มช่วยรักษาโรคบิดได้

4. หัวมันเทศ โดยใช้หัวมันเทศหนักประมาณครึ่งกิโลกรัมมาล้างให้สะอาด ต้มกับน้ำแล้วเติมเกลือแกงลงไปพอประมาณ ..รอจนหัวมันเทศสุกจึงนำมารับประทานจนอิ่ม ซึ่งทานเพียงครั้งเดียว อาการของโรคบิดก็จะทุเลาขึ้นมาก

การรักษาภาวะขาดน้ำ จะให้ ผงน้ำตาลเกลือแร่ (ORS) ค่อยๆจิบจนหมด มากน้อยเท่าไรขึ้นกับความรุนแรงของภาวะขาดน้ำ

สรุป ยาฆ่าเชื้อ ไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่สุดสำหรับท้องเสีย สิ่งที่กังวลมากที่สุดคือการขาดน้ำ ดังนั้น ท้องเสียทุกครั้งต้องกิน ORS