คลิปวีดีโอ » รู้จักกับเครื่องดนตรีของภาคใต้

รู้จักกับเครื่องดนตรีของภาคใต้

24 ตุลาคม 2018
5681   0


————–

ทับ หรือ โทนชาตรี เป็นกลองหุ้มหนังหน้าเดียวทำด้วยไม้ขนุน

หน้ากลองนิยมขึงด้วยหนังค่างหรือหนังแมว เนื่องจากมีความเหนียว และค่อนข้างเบา ขึงหนังให้ตึงด้วยหวายหรือเอ็น ทับใช้ตีจังหวะควบคุมการ เปลี่ยนจังหวะ เสริมลีลาท่าทางการแสดงละครชาตรี โนรา และหนังตะลุง

ปกติใช้ทับตีประกอบกับกลองชาตรี ตามตำนาน เรียกทับลูกเดียวว่า “น้ำตาตก ” และอีกลูกหนึ่งเรียกว่า“ นกเขาขัน ” ทับเป็นเครื่องดนตรี ที่มีความสำคัญ ในการให้จังหวะควบคุมการเปลี่ยนแปลงจังหวะและ เสริมท่ารำของการแสดงโนราให้ดีเยี่ยม ทำด้วยไม้ ขนุน ทับใบหนึ่งจะมีเสียงทุ้ม เรียกว่า “ ลูกเทิง” ส่วนอีกใบ หนึ่งจะ มีเสียงแหลมเรียกว่า “ ลูกฉับ”

ทับ (โทนหรือทับโนรา) เป็นคู่ เสียงต่างกันเล็กน้อย ใช้คนตีเพียงคนเดียว เป็นเครื่องตีที่สำคัญที่สุด เพราะทำหน้าที่ คุมจังหวะและเป็นตัวนำในการเปลี่ยนจังหวะทำนอง (แต่จะต้องเปลี่ยนตามผู้รำ ไม่ใช่ผู้รำ เปลี่ยน จังหวะลีลาตามดนตรี ผู้ทำหน้าที่ตีทับจึงต้องนั่งให้มอง เห็นผู้รำตลอดเวลา และต้องรู้เชิง ของผู้รำ)

 

กลองชาตรีหรือกลองตุ๊ก มีรูปร่างเหมือนกับกลองทัดแต่มีขนาดเล็กกว่า

ตัวกลองทำมาจากไม้ขนุน เพราะจะทำให้เสียงดังดี หน้ากลอดขึงด้วยหนังวัว หรือหนังควายโดยใช้หมุดไม้ ( ชาวใต้เรียกว่า “ ลูกสัก ” ) สำหรับตอกยึดไว้กับตัวหุ่น กลองชาตรีใช้ประกอบการแสดงละครชาตรี โนราและหนังตะลุงช่วย ย้ำจังหวะให้หนักแน่นเร้าใจ เสริมลีลาท่าทางการแสดงตำนานโนราเรียกกลองชนิดนี้ว่า “ กลองสุวรรณเภรีโลก ”.


โพน มีลักษณะเหมือนกลองทัดในภาคกลาง เป็นกลอง ๒ หน้าขนาดใหญ่ หน้ากลองทั้งสองเท่ากัน

หุ้มหนังด้วยหนังวัวหรือหนังควาย ด้านข้างกลองมีห่วงยึดสำหรับแขวนตี โพนพบได้ทั่วไปตามวัด ผูกห้อยไว้ตามศาลา ใช้ตีบอกเวลา ส่งสัญญาณ เช่นทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น และใช้ประโคมในพิธีลากพระ นอกจากนี้ยังใช้ตีประชันเรียกว่าแข่งโพ

 


ฆ้องคู่ เป็นเครื่องตีที่ทำด้วยโลหะเป็นแผ่นวงกลมโค้งงองุ้มลงมารอบตัวมีปุ่มนูนอยู่ตรงกลางสำหรับตี เป็นฆ้อง ๒ ใบอีกใบหนึ่งเสียงต่ำ แขวนขึงอยู่กับรางไม้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ฆ้องคู่ใช้ตีประกอบการเล่นละครชาตรี โนรา และหนังตะลุง ตีคู่กับ ฉิ่ง


แตระ (แกระ) เป็นเครื่องดนตรีเคาะให้จังหวะ แตระเป็นดนตรีหลักในการกำกับจังหวะในการขับร้องบทกลอนที่เรียกว่าร่ายแตระ และโนรายังถือเป็นครูของดนตรีโนรา

มี ทั้งกรับอันเดียวที่ใช้ตีกระทบกับรางโหม่ง หรือกรับคู่ และมีที่ร้อยเป็นพวงอย่างกรับพวง หรือใช้เรียวไม้หรือลวด เหล็กหลาย ๆ อันมัดเข้าด้วยกันตีให้ปลายกระทบกัน


ปี่กาหลอ(ปี่ฮ้อ) เป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่ง เลาปี่ทำด้วยไม้ยาวประมาณ ๑๓ นิ้ว มีรูบังคับเสียง ๗ รู ด้านล่างมีรูนิ้วหัวแม่มือ ๑ รู ลิ้นปี่ทำด้วยใบตาลมีบังลมทำด้วยไม้หรือ เปลือกหอยมุข ด้านล่างเป็นลำโพงปี่ ทำด้วยไม้ปากบานเพื่อขยายเสียงใช้เป่าบรรเลงในงานศพ งานบวชที่ผู้บวชจะไม่สึก และการแสดงลิเกป่า

 

ปี่ไหน เป็นเครื่องเป่าประเภทดำเนินทำนอง มีลักษณะเช่นเดียวกับ ปี่่นอก ปี่่กลาง และปี่ในของภาคกลาง แต่มีขนาดเล็กกว่า มีระดับเสียงสูงกว่า มีรูบังคับเสียง ๖ รู ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่นไม้ประดู่ ลิ้นปี่ทำด้วยใบตาลผูกติดกับกำพวด(ท่อกลม เล็ก) ใช้การประกอบการแสดงโนราและหนังตะลุง

ปี่ เป็นเครื่องเป่าเพียงชิ้นเดียวของวง นิยมใช้ปี่ใน หรือ บางคณะอาจใช้ปี่นอก ใช้เพียง ๑ เลา ปี่มีวิธีเป่าที่คล้ายคลึงกับขลุ่ย ปี่มี ๗ รูแต่สามารถกำเนิดเสียงได้ ถึง ๒๑ เสียงซึ่งคล้ายคลึงกับเสียงพูด มากที่สุด

 


ฉิ่ง หล่อด้วยโลหะหนารูปฝาชีมีรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือก สำรับนึงมี ๒ อัน เรียกว่า ๑ คู่เป็นเครื่องตีเสริมแต่งและเน้นจังหวะ ซึ่งการตีจะแตกต่างกับการตีฉิ่ง ในการกำกับจังหวะของดนตรีไทย.

 

ขอบคุณ http://staffzone.amnuaysilpa.ac.th/..
https://sites.google.com/site/musicalthaiinstrument/..
https://www.google.com/search?q=%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0..