รอบรู้เกษตร » กระทกรก..สมุนไพรใกล้ตัว..ไม่ควรทานผลอ่อน เพราะมีพิษสารไซยาโนจีนิก

กระทกรก..สมุนไพรใกล้ตัว..ไม่ควรทานผลอ่อน เพราะมีพิษสารไซยาโนจีนิก

1 มีนาคม 2019
4104   0

“กระทกรก” พืชไม้เถาเลื้อยชนิดหนึ่ง มักจะขึ้นตามธรรมชาติ สามารถนำมารับประทานเป็นผักได้ ส่วนผลเมื่อสุกแล้วจะเป็นสีเหลืองอมส้มกินได้ เมล็ดมีเนื้อหุ้มลักษณะคล้ายเมล็ดแมงลักแช่น้ำ รสหวานปะแล่มๆ กระทกรกถือเป็นพืชอีกชนิดที่มีสรรพคุณเป็นสมุนไพรด้วย..

ชื่ออื่นๆ เรียกตามท้องถิ่น :

-กระโปรงทอง ,ผ้าร้ายห่อทอง (ภาคใต้),ฉับโผง(ปากพนัง)  ,หญ้ารกช้าง (พังงา), ละพุบาบี (มลายู-นราธิวาส, ปัตตานี),

-กะทกรก (ภาคกลาง),

-ตำลึงฝรั่ง (ชลบุรี),

-เถาสิงโต เถาเงาะ (ชัยนาท),

-ผักแคบฝรั่ง (ภาคเหนือ),

-หญ้าถลกบาต (พิษณุโลก, อุตรดิตถ์)

-ผักขี้หิด (เลย),

-เยี่ยววัว (อุดรธานี),

-เครือขนตาช้าง (ศรีสะเกษ),

พร้อมกันนี้ได้รวบรวมจาก คำแนะนำจากเพื่อนๆสมาชิกในเฟซบุ๊ค “เลี้ยงแพะยั่งยืน“มาเป็นข้อมูลประกอบบทความนี้ด้วย ขอขอบคุณทุกๆท่านครับ

-นพนันท์ ชูชาติ แถวบ้านผมเรียกลูกหมอยค่าง
สุรัตน์ดา ข่ายกระโทก ที่บ้านเรียกว่า​ตำลึง​ทองค่ะ

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Passiflora foetida L.
ชื่อวงศ์ : PASSIFLORACEAE

ลักษณะของต้นกะทกรก : กะทกรก เป็นไม้เถาเนื้ออ่อน มีมือเกาะ ทุกส่วนของพืชนี้เมื่อขยี้หรือทำให้ช้ำจะมีกลิ่นเหม็นเขียว
    ใบ : ลักษณะเป็นใบป้อม เรียงสลับ แผ่นใบเว้าเป็น 3 หยัก มีขน ใบประดับเป็นฝอย มีต่อมอยู่ที่ปลาย
    ดอก : ดอกเดี่ยว ออกตามง่ามใบ กลีบดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ด้านในสีขาว มีกะบังรอบเป็นเส้นฝอย สีขาวโคนสีม่วงเรียงกันเป็นรัศมี
    ผล : ผลค่อนข้างกลม มีใบประดับหุ้ม เมื่ออ่อนสีเขียว สุกแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้ม เมล็ดมีเนื้อหุ้มลักษณะคล้ายเมล็ดแมงลักแช่น้ำ รสหวานแปลกๆ 

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ต้นสด, ใบ, ดอก, ผล, ราก

 

สรรพคุณตามตำรายาไทย :
    ต้นสด – มีสารพิษทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ แต่ต้มสุกแล้วใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้บวม
    เนื้อไม้ – ใช้เป็นยาควบคุมธาตุในร่างกาย
    เปลือก – ใช้เป็นยาชูกำลัง ใช้ตำเคี่ยวกับน้ำมะพร้าว ช่วยแก้ไฟไหม้น้ำร้อนลวก ช่วยทำให้แผลเน่าเปื่อยแห้ง
    ใบ – ใช้ตำพอกแผลเพื่อฆ่าเชื้อ พอกแก้สิว แก้โรคผิวหนัง หิด ไข้หวัด ใบใช้ตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาเบื่อและขับพยาธิ
**** แพทย์ชาวเวียดนามมีการใช้ใบเพื่อให้สงบ ระงับความเครียดและความวิตกกังวล ด้วยการใช้ใบแห้งประมาณ 10-15 กรัม (ต่อวัน) นำมาต้มกับน้ำกิน


    ดอก – แก้ไอ ขับเสมหะ
    ผล – ผลสุกรับประทาน ใช้แก้ปวด บำรุงปอด ผลดิบมีรสเบื่อ
    ราก – ใช้ต้มน้ำดื่มแก้เบาหวาน แก้ไข แก้กามโรค เป็นยาแก้ปัสสาวะขุ่นข้น รากสดหรือรากตากแห้ง ใช้ชงกับน้ำดื่มเป็นชา จะช่วยทำให้สดชื่น

ประโยชน์ของกะทกรก
1) ยอดอ่อน ผลอ่อน ผลสุก ผลแก่ รวมทั้งรกหุ้ม สามารถใช้รับประทานเป็นผักสด หรือนำมาต้มหรือลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก และแกงเลียง
2) ผลสามารถนำมาปั่นเพื่อทำเป็นเครื่องดื่มได้
3) ใช้เป็นยาฆ่าและป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ โดยเฉพาะตัวด้วงถั่วเขียว ในด้านทางการเกษตร เนื่องจากต้นกะทกรกมีสารพิษชื่อว่า Cyanpgenetic glycosides สารพิษมีฤทธิ์ฆ่าแมลง
4) ใช้ปลูกเป็นพืชคลุมดินและทำปุ๋ยหมักได้ และช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์เข้ามาทำลายได้ เนื่องจากต้นกะทกรกมีกลิ่นเหม็นเขียว

ข้อควรระวัง***
    – ไม่รับประทานกะทกรก ทั้งต้นสดๆ เพราะมีรสเบื่อเมาและเป็นพิษ หากนำมากินอาจทำให้เสียชีวิตได้ แต่พิษจะสลายไปเมื่อถูกความร้อน ดังนั้นจึงต้องนำไปต้มให้สุกก่อนรับประทาน
– ไม่ควรทานผลอ่อน เพราะมีพิษ สารไซยาโนจีนิก ไกลโคไซด์ (Cyanogenetic glucoside) เปลือกผล เมล็ด และใบมีสารที่ไม่คงตัว เมื่อสารดังกล่าวสลายตัวจะทำให้ Acetone และ Hydrocyanic acid (สารชนิดหลังเป็นพิษ) ทำให้เม็ดเลือดแดงขาดออกซิเจน ทำให้เกิดอาการอาเจียน

 พืชกะทกรก ห้ามกินดิบต้องทำให้สุกก่อน ส่วนผลก็ห้ามผลอ่อนเพื่อความปลอดภัยในสุขภาพ.

ขอบคุณ https://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php
https://kaijeaw.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%..
https://www.gotoknow.org/posts/195039

https://www.google.com/search?newwindow=1&safe=active..