>สารบัญสำคัญ “ห้องสมุดคนเลี้ยงแพะ”
>รวมฟาร์มจำ-หน่าย ขี้แพะทั่วไทย
กลุ่มไลน์ แพะแกะสร้างอาชีพ (แอดไลน์มาที่ทีมงาน 108kaset 0874638654 แล้วจะดึงเข้ากลุ่มครับ )
❤รวมความคิดเห็นจาก เฟซบุ๊ค เลี้ยงแพะยั่งยืน
หากเลี้ยงแพะประเภทยืนโรงและให้อาหารข้นมากเกินไปติดต่อกันนานๆ มักพบว่าพ่อแพะบอร์เลือดสูงๆบางตัวจะมีอาการขาหลังอ่อน(หลังจากอายุ3ปีแล้วจะพบมาก)
การรักษาเท่าที่ใช้แล้วได้ผลดี> อย่าให้พ่อแพะนั่งอยู่ท่าเดิมนานๆเพราะเส้นเอ็นจะยึด การรักษายากยิ่งขึ้นให้นวดขาและจูงเดินทุกวัน วิธีจูงให้ดึงหางขึ้นอย่าทำรุนแรงควรลูบหัวแพะเบาๆแพะจะเข้าใจเรา ช่วงแรกจะขลุกขลักนิดหน่อย แต่เมื่อแพะชินแล้วก็จะเดินได้เร็ว ..ควรแขวนก้อนเกลือแร่ของวัวนมไว้อย่าได้ขาด+เสริมกล้วยน้ำว้าสุก+แคลเซี่ยมน้ำ+วิตามินBรวม+โทโนฟอสฟาน(ตัวนี้อย่าให้เยอะเเพะจะเป็นนิ่วได้ง่ายเพราะมีฟอสฟอรัสอยู่เยอะ..วิธีแก้หากแพะมีอาการฉี่ติดขัดให้ละลายสารส้มผสมในน้ำให้กินทุกวัน) .. และการจูงเดินโดนแดดบ่อยๆจะช่วยให้พ่อแพะแข็งแรงกว่าขังไว้ในคอกแต่เพียงอย่างเดียวครับ #ประสบการณ์ตรงจากอาชีพเลี้ยงแพะยั่งยืน
●นายทรรศนธรรม ไทรทอง แพะขุนคงไม่มีปัญหา..แม่แพะท้องแก่/หลังคลอดหรือแม่100ที่สุขภาพไม่ดี/พ่อ100ที่อายุมากๆๆมักจะเจอ
●Anuchit Suwanarat ปลิ้นดูขอบตาล่างซีดไหม ถ้าไม่ซีด ฉีดตัวนี้แก้กระดูกอ่อนก่อน OSTONE ..แคลเซี่ยม+บี.12 ราคาประมาณ 160.- .ผมเคยฉีด 3ตัว หาย2 ครับ.
● Anuchit Suwanarat https://108kaset.com/farm/2018/06/20/milk-fever/
●Isaraman Thippayanon (แม่แพะขาอ่อน)เป็นภาวะ “คีโตซีส” ถ้าเกิดในระยะตั้งท้อง เรียกว่า “ครรภ์เป็นพิษ” เนื่องจากแม่แพะนำพลังงานไปใช้มากกว่าที่ได้รับ ส่งผลทำให้ขาดพลังงาน และขาดแร่ธาตุบางตัวไปด้วย ในการรักษาจะรักษาแบบเดียวกัน เพราะเป็นอาการมาจากสาเหตุเดียวกัน
2. ฉีดแคลเซี่ยมเว้นวัน 3 วัน = 5 cc.(ใช้ OSTONE+B12 หรือ CIB Phos แทนก็ได้)
3. ฉีดโทโนฟอสฟาน สลับกับแคลเซี่ยม 3 cc.(ใช้คาโตซาล แทนก็ได้)
พยายามพยุงให้ลุกขึ้นยืนบ้าง ป้องกันแผลกดทับ หรือจะแขวนเปลก็ได้ การรักษาอาจใช้เวลาหน่อยครับ ใจเย็นๆ
1. ให้สารเสริมพลังงาน เช่น คีโตนิกส์ , โพรคอล 50 cc. ผสมน้ำ 50 cc. เท่ากัน ป้อนเช้า-เที่ยง-เย็น ทุกวัน หรือ ใช้น้ำผึ้งแทนก็พอใช้ได้
2. ฉีดแคลเซี่ยม (COFACALCIUM , CALCIO PH , MAGXICAL) เข้าใต้ผิวหนัง 10 cc. แบ่งฉีด 2 จุดๆละ 5 cc. ฉีดสลับวันกับ โทโนฟอสฟาน หรือ ฟอสโฟโทนิค หรือ คาโตซาล 3-5 cc. ฉีดให้ได้อย่างละ 3-5 ครั้ง
3. ให้จับช่วยพยุงให้ยืนเป็นช่วงๆ หรือ แขวนเปลเป็นพักๆ ครับ
แคลเซี่ยมที่ผลิตออกมาสำหรับสัตว์ มีหลายแบบ เช่น
1. ชนิดเม็ด ส่วนใหญ่จะให้กับสัตว์ประเภท หมา แมว
2. ชนิดผสมกับแร่ธาตุ-วิตามินอื่นๆ จะฉีดเข้ากล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ เช่น ซิปฟอส(CIB Phos) , ออสโตน+บี12 (OSTONE+B12) เป็นต้น
3. ชนิดยาน้ำแคลเซี่ยมล้วนๆ ใช้ฉีดเข้าเส้นเลือด , กล้ามเนื้อ และ/หรือ ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง (ทั่วไปจะฉีดใต้ผิวหนัง) เช่น โคฟาแคลเซี่ยม (COFACALCIUM) , แคลซิโอ พีเอช (CALCIO PH) , แมกซิแคล (MAGXICAL) เป็นต้น
สามารถฉีดกับแพะทุกอายุเจริญพันธุ์ ฉีดในอัตราการแนะนำของฉลาก
ส่วนแพะท้องสามารถฉีดได้ ยกเว้น CIB Phos ควรหลีกเลี่ยง
●เก้า กันยา อาการขาหลังอ่อนแรง มักจะเกิดกับแพะสายพันธุ์ที่มีเนื้อมาก เช่นบอร์เลือดสูงหรือบอร์100 เกิดจากการดึงธาตุอาหารพวก แคลเซียมฟอสฟอรัส มาช่วยในการเผาผลาญอาหาร ทำให้เกิดการขาด ส่งผลต่อกระบวนการควบคุมกล้ามเนื้อของสมอง (ฟังมาอีกที) กล้วยสุกอย่างเดียวไม่น่าจะพอเพียงกับแพะสายพันธุ์นี้ ผมเองเคยเจอมา 2 ตัว
●เก้า กันยา แคลเซียมน้ำ+โทโนฟอสฟาน ทุก 3เดือน แต่จบปัญหาคือขุนด้วยอาหารวัวท้อง โปรตีน 21% เพราะธาตุอาหารจะครบ
●มาลิก รถด่วนเเพะเป็น (ลูกแพะขาอ่อน)ผมก็เป็นคับไม่เดินมา2วันผมฉีดธาตุเกล็ก1ccให้ลูกเเพะเเล้วทำที่ที่พยุงช่วยคับตอนนี่เดินได้เเล้วคับ
●ชัยยศ แซ่เตีย ขาดวิตามินB
มีหลายสาเหตุแต่ทีเป็นกันมากเพราะแพะแกะขาดแร่ธาตุตัวนี้ครับ
โทโนฟอสฟาน® คอมโพสิตุม –Tonophosphan ยาฉีดสำหรับสัตว์(กลุ่มยาบำรุง)