ทันข่าว » การจัดการกับแม่แพะ และลูกแพะแรกเกิด และลำดับการให้ยา

การจัดการกับแม่แพะ และลูกแพะแรกเกิด และลำดับการให้ยา

29 เมษายน 2020
8445   0

การจัดการกับแม่แพะ และลูกแพะแรกเกิด และลำดับการให้ยา โดย อ.Isaraman Thippayanon (คลิกที่ชื่อ อ. เพื่อเข้าไปสนทนากับท่านได้เลยครับ)

Isaraman Thippayanon การจัดการกับแม่แพะ และลูกแพะแรกเกิด ดังนี้:-
#แม่แพะ ในกรณีตลอดปกติ
1. ฉีดอ๊อกซี่คลีน หรืออ๊อกซี่เต็ดตร้า แอลเอ. อัตรา 1:10
2. ฉีดอ๊อกซี่โทซิน 3-5 cc.
3. ฉีดธาตุเหล็ก 3-5 cc. อาจมีการฉีด แร่ธาตุ-วิตามิน อื่นๆเสริมได้
4. บีบหัวนมแม่แพะ เพื่อไล่เศษดินหรือสิ่งสกปรกออก ป้องกันการอุดตันและเชื้อติดจากหัวนมแม่ไปยังลูก
5. กรณีพบว่าน้ำนมเหลืองเหนียวข้นมากๆ ให้รีดออกส่วนหนึ่ง พอที่ลูกจะดูดออกได้ หลังจากลูกดูดได้สักพัก น้ำนมก็จะเหลวปกติ (แม่แพะบางตัวพบว่านมเหนียวข้ามวันก็มี)


#ลูกแพะ
1. เช็ดหน้า จมูก เอาเมือกออก บางตัวมีน้ำคร่ำเข้าลำคอ จำเป็นต้องใช้ไซริ้งค์ หรือ ลูกยางดูดออก ป้องกันสำลักคอหายใจไม่ออกตายได้ ส่วนลำตัวใช้มือลูบออกก็พอ(ควรใส่ถุงมือ) ที่เหลือปล่อยให้แม่เลีย เพื่อสร้างความรู้จักกันระหว่างแม่ลูก
2. ตัดสะดือลูก ให้ยาวเหลือ 1-2 ข้อนิ้วมือ
3. จุ่มสะดือด้วยทิงเจอร์หรือเบทาดีน ป้องกันการติดเชื้อทางสะดือ โดยเฉพาะเชื้อ บาดทะยัก
4. จับลูกให้กินนมแม่ ซึ่งเป็นนมเหลือง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกหลังจากได้รับน้ำนมเหลืองแล้ว 3 สัปดาห์ ให้กินอย่างน้อย 10% ของ นน. ตัว (ลูกแพะ นน. 3 กก. กินนมเหลือง 300 cc.) ให้กินภายใน 12 ชม.แรก ดีที่สุด ไม่เกิน 24 ชม.
5. เฝ้าดูลูกแพะว่าสามารถยืนดูดนมแม่ได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ต้องช่วยจับป้อนจนกว่าลูกจะแข็งแรงและยืนดูดนมได้ปกติ
6. หลังคลอดครบ 24 ชม. ให้ทยอยฉีด วิตามิน-แร่ธาตุให้ลูกแพะ อย่างละ 1 cc.
– ครบ 24 ชม. ฉีดธาตุเหล็ก
– วันที่ 2-3 หลังคลอด ฉีด AD³E
– วันที่ 5-7 หลังคลอด ฉีด วิตามินบีรวม(บีคอมเพล็กซ์)


Isaraman Thippayanon มีคำถามมากมายว่า ทำไมต้องฉีดยาบำรุงสำหรับเด็กคลอดใหม่ด้วย?

ลูกแพะเมื่อได้รับน้ำนมเหลืองจากแม่ภายใน 12-24 ชม. หลังคลอด จะใช้เวลาในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกแพะ 3 สัปดาห์ ในระหว่าง 3 สัปดาห์การดูแลไม่ให้ลูกแพะป่วย หรือเกิดความอ่อนแอ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการจัดการฟาร์มที่ดี เช่น การป้องกันไม่ให้ ไร , เห็บ , หมัด เข้ามาในตัวลูกแพะ จัดสถานที่แห้ง อบอุ่น เป็นต้น..
ดังนั้น ความจำเป็นในการเสริม แร่ธาตุ-วิตามินต่างๆจึงมีความจำเป็น โดยการฉีดเสริมวิตามิน-แร่ธาตุหลังคลอด เมื่อลูกแพะครบ 24 ชม. เป็นต้นไป ให้มีการทยอยฉีดแร่ธาตุ-วิตามินเสริม ดังนี้..

1. ธาตุเหล็ก : ช่วยสร้างกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกาย ทำให้เจ็บป่วยยากขึ้น
2. AD³E :
A = สร้างการมองเห็นดีขึ้น , สร้างภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อในระบบหายใจ , ช่วยให้ระบบคุ้มกันทำงานดีขึ้น , ลดระยะเวลาการเจ็บป่วยของโรค , ช่วยให้เนื้อเยื่อชั้นนอกของอวัยวะ มีสุขภาพดี
= ลดอาการเมื่อยล้า และการอักเสบของกล้ามเนื้อ , เพิ่มความแข็งแรง และทนทานของกล้ามเนื้อ , สามารถรับแรงกระแทกได้ดีขึ้น
E = บรรเทาอาการอ่อนเพลีย , เพิ่มประสิทธิภาพในการสู้โรคให้กับเม็ดเลือดขาว , ช่วยป้องกันภาวะแท้ง(แม่พันธุ์ตั้งท้อง) , ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง , หัวใจเลือดขาด
3. วิตามินบีต่างๆ : วิตามินบีแต่ละตัว ทำหน้าที่คล้ายๆ กัน บางตัวก็เจาะเฉพาะในคุณสมบัติพิเศษ ยกตัวอย่าง เช่น :-
– บี1 (Thiamine) = แก้กล้ามเนื้ออ่อนแรงจากอาการเหน็บชา (หลอดเลือดตีบขาดเลือด) , เสริมสร้างการเจริญเติบโต , ช่วยย่อยอาหารแป้งได้ดี , บำรุงประสาท กล้ามเนื้อ และหัวใจ ให้ทำงานปกติ
– บี12 (โคบาลามิน) :-
ก. ป้องกันเยื่อไมอีลิน (Myelin) ที่ห่อหุ้มเส้นประสาท ช่วยให้ระดับการทำงานของเซลล์ประสาทและระบบประสาทเป็นไปได้อย่างปกติ
ข. ช่วยกระตุ้นการทำงานของแบคทีเรียชนิดดีในกระเพาะอาหารให้ทำงานได้ดีขึ้น และช่วยกำจัดแบคทีเรียที่เป็นอันตรายในกระเพาะอาหาร
ค. ช่วยบำรุงประสาท ทำให้ระบบประสาทแข็งแรงขึ้น
ง. ช่วยบรรเทาอาการหงุดหงิด ลความเครียด
จ. ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตและเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย
ฉ. ช่วยทำให้เจริญอาหาร
ช. ทำให้ร่างกายสามารถใช้ไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตได้อย่างเหมาะสม