ปลูกพืช » หว้า

หว้า

4 กันยายน 2020
1882   0

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Myrtales
วงศ์: Myrtaceae
สกุล: Syzygium
สปีชีส์: S.  cumini

ที่มา – https://th.wikipedia.org/wiki..
ชื่อไทย หว้า
ชื่ออื่น ห้าขี้แพะ (เชียงราย)
ชื่อสามัญ Black plum, Jambolan plum, Java plum , Black Poum
ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium cumini (L.) Skeels

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะลำต้น ไม้ยืนต้นสูง 10-35 เมตร เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาล ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร มีจุดน้ำมันที่บริเวณขอบใบ มีกิ่งก้านมาก แข็งแรง ปลายกิ่งห้อยย้อยลง ใบดกหนา ทำให้เป็นทรงพุ่มรูปไข่แน่นทึบ

ดอก ช่อสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด ฐานรองดอกเป็นรูปกรวย กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ออกดอกและติดผลราวเดือน ธันวาคม-มิถุนายน

ผลเป็นผลสด รูปรีแกมรูปไข่ ฉ่ำน้ำ มีสีม่วงดำ ผิวเรียบมัน มีขนาด 1 เซนติเมตร ผลแก่ ราวเดือนพฤษภาคม เมล็ด มี 1 เมล็ด รูปไข่

ประโยชน์

  • เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้บิด อมแก้ปากเปื่อย
  • เนื้อไม้ ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่ม
  • ผลดิบ แก้ท้องเสีย ผลสุก รับประทานได้ ใช้ทำเครื่องดื่ม มีรสเปรี้ยวอมฝาด สามารถนำไปทำน้ำผลไม้ ไวน์เป็นเครื่องดื่มที่ให้สีม่วงกินแก้ท้องร่วงและบิด
  • เมล็ด มีสารช่วยลดน้ำตาลในเลือด แก้ท้องเสีย ถอนพิษจากเมล็ดแสลงใจ
  • ชาวกะเหรี่ยงนำยอดอ่อนไปวัดพร้อมธูปเทียนเพื่อใช้บูชาพระ เปลือกต้นใช้ย้อมผ้าได้สีม่วง
  • ชาวโอรังอัซลีในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย ใช้รากนำไปต้มกับน้ำและดื่มเพื่อชูกำลัง

    หว้า เป็นพันธุ์ไม้ดั้งเดิมของแถบเอเชีย สามารถขึ้นได้ตั้งแต่ป่าดิบใกล้ทะเลขึ้นไปถึงเขาสูงไม่น้อยกว่า 800 เมตร ขึ้นได้ดีในที่ค่อนข้างชื้น ดินอุดมสมบูรณ์ด้วยปุ๋ยธรรมชาติ
    การขยายพันธุ์ ส่วนใหญ่ใช้เมล็ดเพาะ และสัตว์พวกนก และค้างคาว สามารถช่วยในการแพร่พันธุ์ได้อย่างดี โดยนำเมล็ดที่กินเข้าไปถ่ายในที่อื่น ๆ นอกจากนี้ยังใช้ การตอนหรือทาบกิ่งก็ได้ ผลของหว้าจะมีขนาดเล็ก ใหญ่ ไม่แน่นอน แต่มีรายงานจากของอินเดียว่า หว้ามีผลยาว ถึง 3 ซม. พระที่วัดบวรฯ เคยบอกว่า มีหว้าต้นหนึ่งทางด้านคลองที่คั่นโบสถ์ มีผลใหญ่มาก และบอกว่ามีคนนำมา จากประเทศอินเดีย ถ้าเป็นจริงก็เข้าใจว่าคงเป็นหว้าที่มีชื่อเดิมทางพฤกษศาสตร์ว่า Eugenia jambolana Lam. แต่ในภายหลังชื่อนี้กลายเป็นชื่อพ้อง Syzygium cumini (L.) Skeels ไปเสียแล้ว
    ต้นหว้าเป็นพันธุ์ไม้ที่พบเห็นได้ทั่วไป ตามสวน คันนา ริมถนนหนทางทั่วไปตามหมู่บ้าน ส่วนใหญ่มาจากแพร่พันธุ์โดยนกมากกว่าการเพาะปลูก
    ลูกหว้ายังมีพ่อค้าแม่ค้าเก็บมาขายตามตลาดนัดชุมชน คนขายจะโรยเกลือป่่นละเอียดบนกองลูกหว้าในถาดที่ใส่ มองดูแล้วก็สวยงามน่าซื้อเพราะมีเกลือสีขาวประดับหน้าลูกหว้าสีดำ เป็นการแต่งแต้มสีไปในตัวแต่เจตนาก็คือโรยเกลือเพื่อปรุงแต่งรสชาติเปรี้ยวของลูกหว้า บางคนก็ใช้วิธีพรมน้ำที่ละลายเกลือแล้วก็มี..
    ลูกหว้าจะออกผลหลังมะม่วงตามฤดูกาล.