ครรภ์เป็นพิษ/คีโตซิส ในสภาวะที่เกิดจากการขาดสารอาหาร
คีโตซิสภาวะที่พบในระยะท้ายของการตั้งท้อง (ภายใน ๖ สัปดาห์ก่อนคลอด) ในแม่แพะท้องแฝด หรือระยะให้นมในช่วงหลังคลอด (ภายใน ๑ เดือนหลังคลอด) ในแม่แพะให้นมมาก ภาวะครรภ์เป็นพิษพบได้บ่อยกว่าปัจจัยโน้มนำจากการที่..
ปัจจัยโน้มนำที่ ๑ แม่แพะตั้งท้องแฝดต้องการสารอาหารที่ให้พลังงานมากกว่าแม่ตั้งท้องลูกตัวเดียว ในกรณีที่ให้หญ้าเพียงอย่างเดียว ต้องกินปริมาณมาก แต่แพะเองกินมากไม่ได้เพราะมดลูกขยายจากการตั้งท้องจึงกินน้อยลง การแก้ไขโดยแนะนำให้ปรับสัดส่วนการให้อาหารแพะเป็นอาหารข้น ร้อยละ ๓๕ และหญ้าหรือฟาง ร้อยละ ๖๕
ปัจจัยโน้มนำที่ ๒ โรคต่างๆ เช่น ข้ออักเสบ, พยาธิ, และอื่นๆ ฟันผุ , แก่, อ้วนเกินไป, ผอมเกินไป, ความเครียด จากการทำวัคซีน การเคลื่อนย้าย มีผลทำให้ได้รับอาหารไม่ได้ตามความต้องการของร่างกาย .. อาการมักแสดงอาการในช่วง ๓-๑๐ วัน แต่อาจพบอาการเฉียบพลันได้
อาการป่วย เริ่มแรกแพะกินอาหารข้นลดลง ต่อมากินหญ้าลดลง แยกตัวจากฝูง ซึม ผอมแห้ง ต่อมาแสดง อาการทางประสาท การเดินและท่าทางผิดปกติ ตาบอดตาฟาง จ้องมองด้านบน ซึมมาก ล้มนอน และไม่รู้สึกตัว อาจได้กลิ่นคีโตนทางลมหายใจ ความผิดปกติทางระบบประสาทนี้นี้เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นเวลานานทำให้เนื้อสมองบางส่วนถูกทำลาย
การรักษา หากพบแต่แรกเริ่มยังไม่แสดงอาการทางประสาท การรักษาให้ผลดีกว่า โดย..
1.ให้ โปรพิลีนไกลคอล ขนาด ๖๐๐ มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ให้กินในปริมาณ ๖๐ มิลลิลิตร ต่อตัว วันละ ๒ ครั้ง ติดต่อกัน ๓ วัน
2.แก้ไขเรื่องการให้อาหารให้ถูกสัดส่วนหรือความผิดปกติที่เป็นปัจจัยโน้มนำอื่น ภาวะนี้ร่างกายขาดน้ำตาล อาจเกิดร่วมกับการขาดแคลเซียม มีความเป็นกรดในเลือด และมีภาวะติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ดังนั้น ควรให้คู่กับการรักษาร่วมอื่นๆ ได้แก่ การให้กลูโคส การให้แคลเซียม เบคกิ้งโซดา ฉีดเดกซาเมทาโซนและยาฆ่าเชื้อ-เรียบเรียงโดยwww.108kaset.com
ขอบคุณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคใต้ตอนบน กลุ่มระบาดวิทยาและสารสนเทศ
https://www.google.com/search?q=%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0..