เลี้ยงสัตว์ » หญ้า(ถั่ว)อัลฟัลฟา“ราชาแห่งอาหารทั้งมวล”

หญ้า(ถั่ว)อัลฟัลฟา“ราชาแห่งอาหารทั้งมวล”

27 ตุลาคม 2020
7695   0

https://goo.gl/NMTbjg

อัลฟัลฟ่า

ถั่วอัลฟัลฟ่า (อัลฟัลฟา, หญ้าอัลฟัลฟ่า) ชื่อสามัญ Alfalfa, Lucerne (ลีวเซอน)

อัลฟัลฟ่า จัดเป็นพืชในตระกูลถั่ว เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียตะวันตกและในแถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูง จึงได้รับการขนานนามว่าคือ “ราชาแห่งอาหารทั้งมวล” (AL-FAS-FAH-SHA) หรือเป็น “บิดาของอาหารทุกชนิด” (Father of all foods)

อัลฟัลฟา (Alfalfa) มีระบบรากที่มหัศจรรย์มาก โดยสามารถชอนไชลงไปได้ลึกกว่า 130 ฟุต จึงมีประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุอาหารได้มากกว่าและบริสุทธิ์กว่า โดยไม่สะสมสารพิษ

ถั่วอัลฟัลฟา เหมาะสำหรับนำไปผสมร่วมกับต้นข้าวโพดพร้อมฝักในรูปของอาหารผสมเสร็จ (TMR) ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สุพรรณบุรี ได้ดำเนินการศึกษาการเขตกรรมของถั่วอัลฟัลฟาสายพันธุ์ Neo-Tachiwakaba ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีศักยภาพสูง และเหมาะสมกับหลายๆพื้นที่ของประเทศไทยที่อยู่ในเขตร้อนชื้น คาดอีก 1-2 ปี จะผลิตเมล็ดพันธุ์และส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกใช้เลี้ยงสัตว์ต่อไป..เรียบเรียงโดยwww.108kaset.com

ด้วยคุณสมบัติดีเด่นต่างๆ ทำให้ถั่วอัลฟัลฟา เป็นพืชอาหารสัตว์ที่เกษตรกรนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในหลายๆประเทศ เนื่องจากสัตว์ชอบกิน ซึ่งนอกจากใช้เลี้ยงโคนมแล้ว ยังใช้เลี้ยงสัตว์อื่นๆได้อีกหลายชนิด เช่น โคเนื้อ กระบือ แพะ แกะ ม้า สุกร ไก่ กระต่าย เป็นต้น

อัลฟัลฟา (Alfalfa) นิยมนำมาใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่าง ๆ เช่น ครีมอาบน้ำ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและเส้นผม เป็นต้น และยังพบว่ามีอยู่ในผลิตภัณฑ์ยาเม็ดสำเร็จรูปต่างๆอีกด้วย

สารอาหารสำคัญใน Alfalfa อาทิ Beta Carotene, Beta-Glucan, Poly Cosanol, Saponin, Chlorine Chlorophyll, Isoflavone, Enzyme,…

– มีกรดอะมิโนจำเป็นมากถึง 8 ชนิดที่ร่างกายต้องการ
– มีวิตามิน A-Z ครบทุกตัว
– มีเกลือแร่มากมาย ฟอสฟอรัส โปรแทสเซี่ยม แคลเซี่ยม สังกะสี เซเลเนียม และแมกนีเซียม
– มีเอนไซม์หลัก 8 ชนิด ไลเปส อาไมเลส โคกุเลส อีมูลซีน อินเวอร์เคส เปอร์อ๊อกซีเดส เพดติเนส

สรรพคุณของอัลฟัลฟ่า
1. อัลฟัลฟ่ามีสารแคโรทีนและอุดมไปด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสารที่ช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกาย จึงเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับที่ต้องการฟื้นฟูร่างกายระหว่างพักฟื้นจากการรักษาโรคต่างๆ

2. ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ และช่วยยั้งยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

3. สารไฟโตเอสโตรเจนมีบทบาทสำคัญในการช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โดยสารที่จัดเป็นสารประเภทไฟโตรเอสโตรเจนที่มีอยู่ในอัลฟัลฟ่าได้แก่ Isoflavones, Coumestans, และสาร Lignans
4. สารซาโปนินที่พบในอัลฟัลฟ่า มีลักษณะเหมือนกันกับที่พบในรากโสม ซึ่งมีสรรพคุณช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทและช่วยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้อย่างเหมาะสมและเป็นปกติ


5. อัลฟัลฟ่ามีเบต้าแคโรทีนสูง ซึ่งช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันโรค ช่วยทำให้ผิวหนังและเยื่อบุผิวหนังมีสุขภาพดี
6. อัลฟัลฟ่าอุดมไปด้วยธาตุฟลูออไรด์และแคลเซียม ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกและฟันได้เป็นอย่างดี
7. ช่วยลดความดันโลหิต ลดปัญหาเส้นเลือดหัวใจตีบ ช่วยทำให้ผู้ที่เป็นโรคต้อกระจกมองเห็นได้ดีขึ้น

 

ฝักเมล็ดอัลฟัลฟ่าจะสุกในช่วง 2 ถึง 3 อาทิตย์ สีของฝักจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

 

8. ช่วยลดระดับน้ำตาลและปรับระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
9. ในสหรัฐอเมริกาได้แนะนำให้ใช้อัลฟัลฟ่าในการรักษาภาวะโลหิตจาง ช่วยสนับสนุนการจับตัวของเลือด
10. ช่วยขับสารพิษออกจากเลือดและอวัยวะภายใน ลดการตกค้างของของเสียตามผิวหนัง ช่วยทำให้เลือดสะอาดและไหลเวียนได้ดีขึ้น ทำให้ผิวพรรณผ่องใสและสุขภาพที่ดี มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ชอบรับประทานเนื้อสัตว์
11. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเม็ดเลือดแดง ทำให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
12. สารซาโปนินจะช่วยลดการอุดตันของเกล็ดเลือดในเส้นเลือดฝอย ช่วยลดอัตราของการเกิดความจำเสื่อม และภาวะไขมันในเลือดสูงได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
13. ส่งเสริมการดูดซึมของโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต ช่วยบำรุงเส้นผม ลดอาการผมร่วง ทำให้ผมหงอกกลับดำขึ้น
14. อัลฟัลฟ่ามีส่วนช่วยฟื้นฟู บรรเทาอาการของผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะติดสารเสพติดและติดแอลกอฮอล์ได้
15. วิตามินเคจากอัลฟัลฟ่า จะช่วยป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนได้และทำให้ผู้ที่เป็นภูมิแพ้มีอาการที่ดีขึ้น
16. จากการศึกษาพบว่าสารซาโปนินและสารประกอบอื่นในอัลฟัลฟ่า พบว่ามีความสามารถในการยึดติดในคอเลสเตอรอลกับเกลือน้ำดี ช่วยป้องกันและชะลอการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากอาหาร จึงช่วยทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดต่ำ ช่วยป้องกันการสะสมไขมันในหลอดเลือด และช่วยควบคุมระดับความเข้มข้นของคอเลสเตอรอลให้เป็นปกติ
17. อัลฟัลฟ่ามีไฟเบอร์จากธรรมชาติอยู่สูงมาก และยังมีประโยชน์ในการช่วยฟื้นฟูภาวะลำไส้อ่อนแอ ช่วยในการลำเลียงของเสียออกจากระบบได้เป็นอย่างดี จึงทำให้หลอดลำไส้มีสุขภาพที่ดี
18. ช่วยแก้อาการเบื่ออาหารและอาการดูดซึมอาหารได้ไม่ดี แพทย์ชาวจีนได้มีนำใบอัลฟัลฟ่าอ่อนเพื่อใช้ในการรักษาอาการย่อยไม่เป็นปกติ เช่นเดียวกับแพทย์ชาวอินเดียที่ใช้ใบและดอกในการรักษาการย่อยที่ทำงานได้น้อย (ใบ,ดอก)
19. มีแพทย์จำนวนมากที่ใช้อัลฟัลฟ่าเพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหาร เช่น การมีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก มีอาการจุดเสียดเป็นประจำ เป็นแผลในกระเพาะอาหาร เป็นโรคเบื่ออาหาร เป็นต้น
20. อัลฟัลฟ่ายังมีเอนไซม์ที่ช่วยทำให้การดูดซึมอาหารภายในร่างกายเป็นปกติ มีสารที่ช่วยเคลือบผิวของกระเพาะอาหารให้มีความแข็งแรง และยังพบว่าอัลฟัลฟ่าสามารถช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษาแผลในกระเพาะลำไส้ได้เป็นอย่างดี
21. ช่วยในการขับถ่ายและการปัสสาวะให้เป็นปกติ ช่วยแก้ปัญหาท้องผูก บรรเทาอาการของริดสีดวงทวาร
22. อัลฟัลฟ่าถูกนำมาใช้ในการรักษาอาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ไต และต่อมลูกหมากที่ทำงานผิดปกติ
23. สาร Isoflavone ในอัลฟัลฟ่า จะเข้าไปช่วยชดเชยระดับเอสโตรเจนที่ต่ำลงในสตรีในช่วงใกล้หมดประจำเดือน ช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ลดอาการผิดปกติในช่วงมีประจำเดือน เช่น มีอาการหงุดหงิดง่าย ร้อนวูบวาบตามตัว เป็นต้น

 


24. ช่วยปรับสภาพของผู้หญิงวัยทอง ลดปัญหาและ ช่วยบรรเทาอาการจากภาวะการหมดประจำเดือนของสตรี
25. อัลฟัลฟ่าถูกนำมาใช้ในประเทศจีนตั้งแต่ในช่วงศตวรรษที่ 6 โดยนำมาใช้เพื่อรักษาโรคไต และบรรเทาอาการตัวบวม
26. ชาวอินเดียในอเมริกาเหนือได้แนะนำให้ใช้อัลฟัลฟาในการรักษาโรคดีซ่าน
27. มีการใช้อัลฟัลฟ่าเพื่อช่วยบำบัดโรคข้อต่ออักเสบ แก้อาการปวดข้อ ข้อแข็ง และรูมาตอยด์ เนื่องจากอัลฟัลฟ่าจะช่วยปรับสมดุลของกรดด่างในร่างกาย ช่วยป้องกันการสะสมตัวของกรดยูริกและกรดอื่น ๆ ตามข้อต่อต่าง ๆ
28. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ช่วยลดแผลอักเสบ ช่วยทำให้อาการชา บวม ของเส้นเลือดขอดบรรเทาลง
29. อัลฟัลฟ่าเป็นพืชที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอย่างหลากหลายและครบถ้วน มันจึงมีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ และช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำนมของแม่ได้ดีมากขึ้น
30. สารไฟโตเอสโตรเจนเป็นตัวช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย การรับประทานอัลฟัลฟ่าจะช่วยทำให้ผู้ที่เป็นสิวง่าย มีปริมาณการเกิดสิวลดลง ทำให้ผิวหน้าดูสะอาดขึ้น
(ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

ที่มา – https://www.pohchae.com/2018/02/01/alfalfa/