ปลูกพืช » ผักเบี้ยหิน(ผักโขมหิน)

ผักเบี้ยหิน(ผักโขมหิน)

27 เมษายน 2021
2755   0

ผักเบี้ยหิน(ผักโขมหิน)

ชื่อวิทยาศาสตร์     Trinathema portulacastrum Linn.
ชื่อวงศ์                      AIZOACEAE
ชื่อสามัญ                  Horse  Purslane
ชื่ออื่น ๆ                     ผักโขมหิน

ลักษณะทั่วไป
               ต้น       เป็นพืชล้มลุก ลำต้นอวบน้ำ สีเขียวอมม่วง แตกกิ่งก้านโปร่งแผ่ราบไปตามพื้นดิน ตามลำต้นมีขนละเอียด
               ใบ        เป็นใบเดียวออกจากลำต้นแบบตรงข้ามเป็นคู่ รูปร่างใบค่อนข้างกลม รูปไข่กลับปลายใบมนหรือหยักเว้าอีกใบหนึ่ง    ก้านใบยาว โคนก้าน ใบแผ่ออกเป็นกาบ
               ดอก   เป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ไม่มีก้านดอก ดอกมีสีขาว อมชมพูมี กลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบ ปลายกลีบดอกโค้งมนออกดอกตลอดปี
               ผล       มีลักษณะเป็นฝักติดอยู่ตามซอกใบ ส่วนล่างของผักจะฝังจม อยู่ในง่ามใบภายในฝักมีเมล็ดสีดำรูปไตขนาดเล็กอยู่ภายใน
นิเวศวิทยา   พบขึ้นทั่วไปในพื้นที่ที่ทำการเกษตร ในสวน ในไร่ ทุ่งหญ้า และบริเวณชายฝั่งทะเล เป็นไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัดเต็มวัน มีความชื้นปานกลาง พบในที่ปลูกข้าวไร่และพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้น
ออกดอก  ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์  โดยอาศัยเมล็ด
ประโยชน์ด้านสมุนไพร   เป็นสมุนไพรช่วยขับลม ดับพิษโลหิต บำรุงโลหิตช่วยทำให้ประจำเดือนปกติ ขับปัสสาวะ เป็นยาถ่ายแก้ริดสีดวงทวาร และแก้ฟกช้ำบวม


เขตกรรม
1. เมื่อเริ่มมีฝนหรือจะเริ่มทำนา ควรรอให้ผักเบี้ยหินงอกขึ้นมาพอสมควรก่อนแล้วจึงทำการไถดะ
2. หลังจากนั้นเว้นช่วงให้มีฝนตกและผักเบี้ยหินงอกมาอีกแล้วจึง
ไถแปร
3. และหากจะคราดควรจะทิ้งให้ผักเบี้ยหินงอกมาอีกครั้ง หลังจากนั้นจึงหว่านข้าวแห้งและคราดกลบ
4.สำหรับนาหยอดหลังข้าวงอกให้กำจัดด้วยการใช้จอบถากก่อนที่ใบข้าวจะเจริญเติบโตยาวปกคลุมผิวดินจนหมดโดยทำ 2 ครั้งคือ ครั้งที่ 1  หลังข้าวงอก 2 สัปดาห์  และครั้งที่ 2  หลังข้าวงอก 4 สัปดาห์สารกำจัดวัชพืช     ประเภทก่อนวัชพืชงอก
       เช่น ออกซาไดอะซอน, บิวทาคลอร์
    ประเภทหลังวัชพืชงอก
       เช่น  2,4-D (ไอโซบิวทิล, ไดเมทธิลแอมโมเนียม, บิวทิล),
      โพรพานิล, เมทซัลฟูรอน-เมธิล+คลอริมูรอน-เอธิล,
      บีสไพริแบก-โซเดียม

สรรพคุณของผักเบี้ยหิน

  1. ใช้ทั้งต้นเป็นยาบำรุงโลหิต
  2. รากมีสรรพคุณช่วยเจริญธาตุไฟ
  3. ช่วยแก้ลมอัณฑพฤกษ์
  4. รากใช้เป็นยาขับเสมหะ
  5. ช่วยแก้อาการเจ็บ แก้เหงือกบวม
  6. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาขับลม
  7. ใช้ทั้งต้นแก้ท้องมาร เยื่อบุช่องท้องอักเสบ
  8. ใช้รากเป็นยาถ่าย
  9. ใช้ทั้งต้นยาขับปัสสาวะ
  10.  ใช้ใบช่วยขับระดูขาวของสตรี
  11.  ใช้รากเป็นยาช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ
  12.  ใช้รางรักษาโรคริดสีดวงทวาร
  13.  ใช้ทั้งต้นรักษาโรคไต
  14.  ใช้ใบเป็นยาทาภายนอกแก้แผลอักเสบ
  15.  ใช้ทั้งต้นเป็นยาแก้ฟกบวม

วิธีรับประทาน

ใช้ปรุงเป็นอาหารหรือรับประทานสด ๆ ก็ได้ แต่สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้ เพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้

cr-https://www.google.com/search?newwindow=1&safe=..
https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=95..
https://oarkm.oas.psu.ac.th/node/230

“กระดุมทองเลื้อย….พืชปราบวัชพืช”