ลัมปี สกิน Lumpy skin disease virus(LSD)โรคใหม่ในวัว ควาย เป็นแล้วบางตัวถึงตาย
องค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE)พบการระบาดของโรคลัมปี สกิน ซึ่งเป็นโรคประจำถิ่นในแอฟริกาและมีการแพร่กระจายของโรคในภูมิภาคเอเชีย ประกอบด้วย สาธารณรัฐประชาชนบังคลาเทศ สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐใต้หวันราชอาณาจักรภูฏาน
เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลต่อมาในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2563มีรายงานแจ้งเตือนการเกิดโรคลัมปี สกินในโคเนื้อในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา จึงเป็นโรคอุบัติใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ประเทศไทยซึ่งมีการนำเข้าโค กระบือจากประเทศเพื่อนบ้านมีความเสี่ยงสูงที่จะพบการระบาดของโรคดังกล่าวที่ผ่านมา..
“โรคลัมปี สกิน” มีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส Lumpy skin disease virus(LSD)เป็นโรคที่เกิดเฉพาะในโค กระบือ ไม่เป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน
โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้ก่อโรคตามอวัยวะที่มีเซลล์เยื่อบุอาการที่ปรากฎคือ เกิดตุ่มเนื้อบนผิวหนังและเยื่อเมือกทั่วร่างกาย ทำให้ตกสะเก็ดและเป็นแผลหลุม โค กระบือที่ได้รับเชื้อจะมีไข้ หายใจลำบาก ในโคนมอาจพบน้ำนมลด ..
อัตราป่วยของโรคนี้มีมากกว่าร้อยละ 5 ซึ่งถือว่าสูงมาก ทำให้กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งการด่วนเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้โรคไวรัสในโค กระบือ อย่าง ลัมปี สกิน ระบาดเข้ามาในประเทศไทย
ในโคนมอาจพบน้ำนมลดลง 25-65เปอร์เซ็นต์ โรคนี้มีแมลงดูดเลือด เช่นเห็บ แมลงวันดูดเลือดและยุง เป็นพาหะที่สำคัญในการแพร่กระจายเชื้อ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัสสัตว์ป่วยโดยตรง ผ่านทางน้ำเชื้อของพ่อพันธุ์ที่เป็นโรค หรือผ่านทางรกได้เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2564กรมปศุสัตว์ได้รับรายงานพบโคเนื้อแสดงอาการสงสัยโรคลัมปี สกินในเกษตรกรรายย่อยที่อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ดจำนวน 10รายจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในพื้นที่จำนวน 5,000 ราย
ทั้งนี้ เกษตรกรแต่ละรายพบโคป่วย 1-2ตัว จึงได้เก็บตัวอย่างส่งตรวจที่สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ซึ่งต่อมาผลทางห้องปฏิบัติการตรวจพบเชื้อไวรัสโรคลัมปี สกิน จึงเป็นการตรวจพบโรคดังกล่าวเป็นครั้งแรกในประเทศไทย จากการสอบสวนโรคเบื้องต้น สาเหตุการเกิดโรคเกิดจากการนำเข้าโคเนื้อมาเลี้ยงใหม่ในพื้น โดยเป็นโคเนื้อที่อาจมีการลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านในขณะนี้ กรมปศุสัตว์ได้เร่งดำเนินการควบคุมโรคเพื่อลดความสูญเสียให้กับเกษตรกร และเฝ้าระวังโรคในจังหวัดข้างเคียง..
อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้เน้นย้ำว่า สำหรับการป้องกันโรคลัมปี สกิน ซึ่งมีพาหะนำโรค คือ แมลงดูดเลือดสามารถป้องกันหรือลดโอกาสการติดเชื้อได้ด้วยการกำจัดแมลงโดยใช้สารเคมีกำจัดแมลงแบบฉีด แบบราดหลัง หรือแบบฉีดพ่นสำหรับสัตว์ทุกตัวในฝูง ดำเนินการปรับภูมิทัศน์โดยรอบฟาร์มให้โปร่งโล่งไม่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลงพาหะรวมถึงกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในพื้นที่โดยรอบ กำจัดมูลสัตว์ออกจากฟาร์มเป็นประจำหรือใช้ผ้าใบคลุมเพื่อป้องกันแมลงมาวางไข่ รวมทั้งการกางมุ้งให้แก่สัตว์เพื่อป้องกันแมลงดูดเลือด ทั้งนี้ หากเกษตรกรพบโค กระบือป่วยและแสดงอาการผิดปกติ ให้รีบดำเนินการแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่ทันที เพื่อดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าวต่อไป.
ที่มา – https://www.pohchae.com/2021/04/30/lsd/
>ยาประเภท Ivermectin ปลอมระบาดในไทยมานานกว่า 15 ปีแล้ว.. ไร้การแก้ไข
มุมภาพแพะสวยๆจาก เฟซบุ๊ค เลี้ยงแพะยั่งยืน (อัพเดทเมษายน2564)