ปลูกพืช » ทุเรียนไร้หนาม อุตรดิตถ์ เหลืองทองน่าทาน..แพงกว่าทุเรียนปกติ 5-6 เท่า

ทุเรียนไร้หนาม อุตรดิตถ์ เหลืองทองน่าทาน..แพงกว่าทุเรียนปกติ 5-6 เท่า

12 เมษายน 2022
673   0

ทุเรียนไร้หนาม อุตรดิตถ์ เหลืองทองน่าทาน..แพงกว่าทุเรียนปกติ 5-6 เท่า

ทุเรียนไร้หนาม นวัตกรรมการเกษตร ที่เกิดจากการคิดค้นของ เกษตกร จากเมืองลับแล ชื่อว่า “นายเสรี สุกสา” เกษตรกรชาวสวนผลไม้ ต.ฝายหลวง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์..

 

คุณเสรี เติบโตมากับต้นทุเรียน เพราะครอบครัวทำสวนทุเรียน และตนเองก็ได้รับมรดกตกทอดมาอีกทีหนึ่ง บนพื้นที่ 50 ไร่ ปลูกทุเรียนอยู่ประมาณ 600-700 ต้น และเมื่อเวลาผ่านไป ปัจจุบันหลายพื้นที่ในประเทศไทยต่างก็หันมาปลูกทุรียนกันเป็นจำนวนมาก ตนจึงต้องการสร้างความแตกต่าง

 

วิธีการขอไม่เปิดเผยมากมาย โดยจะนำลูกทุเรียนขนาดเท่ากับกำปั้นใช้วิธีเอาหนามออกจากผิวทุเรียน และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลผิวทุเรียน นำสมุนไพรผสมปูนแดงไปทาที่ผิว เพราะหลังจากตัดหนามทุเรียนจะทำให้ผิวทุเรียนบางลง ซึ่งพวกเพลี้ยจะมาดูดน้ำจึงต้องดูแลอย่างดี และใช้เวลาประมาณ 115-130 วัน จึงสามารถตัดได้ โดยอยากสื่อว่าทุเรียนมีหรือไม่มีหนาม ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่ทุเรียนไร้หนามมีดีในเรื่องเนื้อ รสชาติอร่อยกว่าหมอนทอง และไม่มีสารเคมี

 

“สิ่งที่ผมทำไม่คาดหวังเรื่องตลาด แต่ที่ทำเพราะอยากทำ ชอบอะไรไม่เหมือนใคร จริงๆ แล้ว ทุเรียนไร้หนาม ไม่ใช่เรื่องใหม่ ผมเคยเห็นรุ่นพ่อทำมาเมื่อ 30 ปีที่แล้วในพื้นที่ลับแล เมื่อทำไปทำมามันไม่คุ้มค่าจึงเลิกทำ จนมารุ่นผม มองว่าทุเรียนไม่จำเป็นต้องมีหนาม อย่างแตงโม ทำเป็นสี่เหลี่ยมได้ ทุกสิ่งในโลกเกิดขึ้นได้ ในเมื่อที่บ้านมีสวนจึงเกิดแนวคิดนี้ขึ้นมา

เพราะวิธีคิดผมไม่เหมือนใคร ยกตัวอย่างต้นลองกอง ได้แต่งทรงต้นไม่ให้ดำจากเชื้อรา ก็ทำมาแล้ว”

เสรี ยังบอกว่า แม้จะเจอปัญหาอุปสรรคจะยังคงเดินหน้าต่อ มองเป็นเรื่องท้าทาย เพราะขณะนี้ประสบความสำเร็จ 10% ซึ่งที่ผ่านมาได้มีคนขายผลไม้ออแกนิกจากชลบุรีติดต่อมาอยากได้ทุเรียนไร้หนามวันละ 300 กิโลกรัม แม้จะยังเป็นไปไม่ได้ แต่ต้องมีการปรับปรุงหาเทคนิคทั้งเรื่องน้ำและเรื่องต่างๆ โดยมองว่าหากผลตอบรับดี จะทำอย่างจริงจัง พร้อมแบ่งความรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ เช่น การถ่ายทอดเรื่องน้ำหมัก ร่วมการปลูกทุเรียนไร้หนาม พร้อมกับเป็นตัวกลางในการรับซื้อ

ส่วนเรื่องราคาทุเรียนไร้หนาม น่าจะราคาสูงกว่าทุเรียนปกติ 5-6 เท่า และไม่คิดจะนำพันธุ์หลงลับแล และหลินลับแลมาทำเป็นทุเรียนไร้หนาม เพราะน่าจะยากในเรื่องราคาที่จะแพงมาก ดังนั้นจะนำทุเรียนพื้นบ้านเท่าที่มีมาทำขาย และควบคู่กับเรื่องคุณภาพ ซึ่งรสชาติเป็นเรื่องสำคัญ โดยจะทำได้เฉพาะช่วงปลายๆ เดือน เม.ย.-พ.ค. คาดว่าปี 62 จะได้ลิ้มรสทุเรียนไร้หนามอย่างแน่นอน.

ราชาแห่งทุเรียนมาเลย์ “มูซังคิง”ที่รัฐบาลมาเลเซียประกันราคาให้ กก.ละ 600 บาท

ที่มา https://www.pohchae.com/2022/04/12/durian-6/