ปลูกพืช » อาหารใส่กัญชา ควรรู้ก่อนลองชิม ไม่งั้นอาจเสี่ยงแพ้รุนแรง..จะทำขายต้องทำไง?

อาหารใส่กัญชา ควรรู้ก่อนลองชิม ไม่งั้นอาจเสี่ยงแพ้รุนแรง..จะทำขายต้องทำไง?

14 มิถุนายน 2022
694   0

อาหารใส่กัญชา ควรรู้ก่อนลองชิม ไม่งั้นอาจเสี่ยงแพ้รุนแรง..จะทำขายต้องทำไง?



ใช้กัญชาปรุงอาหาร

ส่วนที่นิยมนำมาปรุงอาหารมากที่สุดคือ ใบสดที่เพิ่งเก็บจากต้น ไม่มีสารเมา THC อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เพิ่งเริ่มกินอาหารที่มีส่วนผสมของกัญชา อาจมีอาการข้างเคียง เช่น ปากแห้ง คอแห้ง ง่วงนอน รู้สึกมึนงง ปวดหัว ใจเต้นเร็ว โดยจะแสดงผลหลังกิน 30-60 นาที และอยู่ได้นานถึง 6 ชั่วโมง ดังนั้นผู้ที่เพิ่งเริ่มกินหรือกินครั้งแรก ควรเริ่มกินที่ครึ่งใบ แล้วรอดูผลหลังการกิน 2 ชั่วโมง

สำหรับการนำกัญชามาใช้ในตำรับอาหารไทย เช่น ใบกัญชานำมาปรุงรสน้ำซุป ยอดกัญชาใส่ผัดเผ็ด แกงเผ็ด ใบอ่อนกัญชา เป็นผักสดนำมาจิ้มน้ำพริง ใส่แกงส้ม แกงกะทิ เมนูผัด ส่วนรากและกิ่งก้านกัญชา บางพื้นที่มีการนำรากมาทำน้ำซุป

นำกัญชา กัญชง มาใช้ผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายได้ไหม?

ถ้าจะนำส่วนของกัญชา กัญชง หรือสารสกัดแคนนาบิไดออล (CBD) มาใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารเพื่อผลิตจำหน่าย ต้องใช้เฉพาะส่วนของพืชที่กำหนดในประกาศของกระทรวงสาธารณสุข คือ เมล็ดกัญชง น้ำมันจากเมล็ดกัญชง โปรตีนจากเมล็ดกัญชง ผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน รากและใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย และต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนักแห้ง

ตัวอย่างที่แนะนำสำหรับ การนําใบกัญชามาใช้ในการทํา ประกอบ หรือปรุงอาหารในสถานประกอบกิจการอาหาร พ.ศ.2565..

ทอด
– เมนูน้ำหนัก 51 กรัม ใบกัญชา 1-2 ใบสด THC ร้อยละ 0.11

ผัด
– เมนูน้ำหนัก 74 กรัม ใบกัญชา 1 ใบสด THC ร้อยละ 0.006

แกง
– เมนูน้ำหนัก 614 กรัม ใบกัญชา 1 ใบสด THC ร้อยละ 0.02

ต้ม
– เมนูน้ำหนัก 614 กรัม ใบกัญชา 1 ใบสด THC ร้อยละ 0.02

ผสมในเครื่องดื่ม
– น้ำหนักเมนู 200 มิลลิลิตร ใบกัญชา 1 ใบสด THC ร้อยละ 0.003

อาจารย์อ๊อด เตือนมือใหม่กัญชาระวังอาการแพ้ แนะกินอย่างไรถึงจะไม่เสี่ยง

รศ. ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อาจารย์อ๊อด อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยกับ TNN ระบุว่า แม้จะมีการปลดล็อกกัญชา แต่สาร THC จากต้นกัญชา ยังเป็นยาเสพติดประเภท 5 ถ้าครอบครองเกินร้อยละ 0.2 ของน้ำหนักจะมีโทษ ดังนั้นประชาชนจะต้องไม่ดึงสาร THC ออกมาจากต้นกัญชาเด็ดขาด จะใช้ได้ในกรณีที่นำใบ ต้น ราก หรือดอก มาใช้สันทนาการ..

แต่ถ้านำใบ หรือโดยเฉพาะส่วนที่เป็นดอก นำมาสกัดหรือบีบออกมาจะเป็นยางเหนียว ๆ ซึ่งตัวนี้คือสาร THC จะถือว่าเป็นการครอบครองยาเสพติดประเภท 5 ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังในการใช้

สำหรับสาร THC จากกัญชา บางคนเมื่อรับไปอาจจะเกิดอาการแพ้ บางคนได้รับไปยังไม่เกินปริมาณ 0.2 ก็มีอาการหลับ ล้มทั้งยืน โดยยังมีสติรู้ตัวแต่จะทรงตัวไม่ได้ ซึ่งจุดนี้ถือว่าอันตรายโดยเฉพาะหากมิจฉาชีพนำไปใช้งาน หรือกรณีขับรถแล้วเกิดอาการดังกล่าวก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้ นอกจากนี้ในกลุ่มผู้สูงอายุต้องระวังเรื่องความดันขึ้นเร็ว อาจหัวใจล้มเหลวได้

เบื้องต้นในการช่วยเหลือผู้ที่มีอาการแพ้กัญชา ควรให้นอนพัก เปิดแอร์ ให้อากาศถ่ายเทสะดวกเพื่อรอให้อาการดีขึ้นมา แต่หากมีอาการตาเหลือก หรือชัก ต้องรีบส่งโรงพยาบาลทันที

กรณีการใช้กัญชากับอาหารควรจะใช้ใบสดจะดีต่อสุขภาพ แต่ถ้าไปผ่านความร้อนต้องกะปริมาณที่เหมาะสม ไม่เยอะจนเกินไป รวมทั้งผู้ที่อายุไม่เกิน 20 ปี ไม่ควรใช้เพราะจะส่งผลกระทบต่อสมอง

สรุปแล้วมือใหม่อยากชิมเมนูกัญชาทำอย่างไรจึงปลอดภัย

– ตรวจสอบว่าตัวเองไม่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่นอายุต่ำกว่า 18 ปี ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ผู้มีโรคประจำตัว ตับและไตบกพร่อง โรคหัวใจและหลอดเลือด

– ทดลองในปริมาณน้อยว่า มีอาการแพ้ หรือไวต่อสาร THC หรือไม่

– เช็กจากผู้ขายว่าใช้ส่วนใดของกัญชาในการทำอาหาร เช่น ปริมาณกี่ใบ ไม่ควรกินใบกัญชาแบบทั้งใบหรือใบที่ผ่านความร้อนแล้ว เกิน 5-8 ใบต่อวัน และระวังการเรื่องช่อดอกกัญชา เนื่องจากมี THC สูง ถือเป็นยาเสพติดและอาจส่งผลให้เกิดอาการแพ้ได้.

ที่มา https://www.pohchae.com/2022/06/14/marijuana-thc-3/

รู้เรื่องกัญชา ต้องอ่านก่อนปลูก(2)