เลี้ยงสัตว์ » การนำเข้าสัตว์มีชีวิตและซากสัตว์ ตาม พรบ.โรคระบาดสัตว์

การนำเข้าสัตว์มีชีวิตและซากสัตว์ ตาม พรบ.โรคระบาดสัตว์

4 ธันวาคม 2022
553   0

การนำเข้าสัตว์มีชีวิตและซากสัตว์ ตาม พรบ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558

การดำเนินการให้ปฏิบัติตามประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง การขออนุญาต การออกใบอนุญาต วิธีการนําเข้า ส่งออก หรือนําผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ พ.ศ. 2558 ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้..

การนำเข้าสัตว์และซากสัตว์ ระหว่างประเทศ

การนำเข้า-สัตว์มีชีวิต

การดำเนินการ (ล่วงหน้า)
1) ยื่นแบบคำขออนุญาตนำสัตว์เข้าราชอาณาจักร (แบบร.1/1) ต่อสัตวแพทย์ด่านกักสัตว์ประจำท่าเข้า ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวหรือมีหนังสือมอบอำนาจ พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องมาด้วยทุกครั้ง

2) กรมปศุสัตว์ตรวจสอบสภาวะโรคของประเทศต้นทางเพื่อออกหนังสืออนุมัติในหลักการอนุญาตนำสัตว์เข้าราชอาณาจักรฉบับภาษาอังกฤษ (Import Permit) พร้อมสำเนาเงื่อนไข (Requirement)

3) รับ Import Permit แล้ว ให้นำส่งไปยังประเทศต้นทางทันที เพื่อจะได้ไปปฏิบัติให้ถูกต้องตาม Requirement4) แจ้งเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วันก่อนสัตว์เดินทางมาถึง เพื่อออกใบแจ้งอนุมัตินำสัตว์เข้าฯ (แบบร.6) ให้ผู้ขอฯ นำไปติดต่อที่ด่านศุลกากรประจำท่าเข้านั้น

5) ต้องมีเอกสารหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ (Health Certificate) เป็นภาษาอังกฤษ ออกให้โดยสัตวแพทย์รัฐบาลผู้มีอำนาจเต็มจากประเทศต้นทาง และต้องตรงตามRequirement ที่กรมปศุสัตว์กำหนดทุกประการ

6) สัตว์ที่นำเข้าฯมาทำพันธุ์ ต้องมีเอกสารหนังสือรับรองพันธุ์ประวัติ (Pedigree)

การดำเนินการ (ช่วงนำเข้าฯ)
1) สัตวแพทย์ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนถูกต้อง และสัตว์มีสุขภาพสมบูรณ์ จึงออกใบอนุญาตนำสัตว์เข้าฯ (แบบ ร.7)
2) สัตว์ที่นำเข้าราชอาณาจักร เก็บตัวอย่างส่งตรวจห้องปฏิบัติการ กักกันสัตว์รอผลการตรวจ และเสียค่าธรรมเนียมนำเข้าราชอาณาจักร ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499

การดำเนินการ (หลังนำเข้าฯ)
1) ยื่นแบบคำขออนุญาตนำสัตว์เข้าราชอาณาจักร(แบบ ร.1/1) ต่อสัตวแพทย์ด่านกักสัตว์ประจำท่าเข้าล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวหรือมีหนังสือมอบอำนาจ พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องมาด้วยทุกครั้ง
2) กรณีสัตว์ป่วย, ตาย ขณะมาถึง หรือระหว่างกักดูอาการ เจ้าของสัตว์ต้องรีบแจ้งสัตวแพทย์ทันทีการนำเข้า-ซากสัตว์

การดำเนินการ (ล่วงหน้า)
1) ยื่นคำร้องล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัว หรือมีหนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวผู้รับมอบอำนาจ-ผู้มอบอำนาจ

2) กรมปศุสัตว์ตรวจสอบสภาวะโรคของประเทศต้นทางแล้วจึงออก Import permit พร้อมกำหนด Requirement

3) รับ Import Permit แล้ว ส่งไปประเทศต้นทางทันที เพื่อจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม Requirement

4) แจ้งเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 3 วันก่อนซากสัตว์มาถึง เพื่อออกใบแจ้งอนุมัตินำซากสัตว์เข้าฯ (แบบ ร.6) ให้ผู้ขอฯ นำไปที่ด่านศุลกากรประจำท่าเข้านั้น

5) ต้องมีเอกสารหนังสือรับรองสุขศาสตร์ซากสัตว์ (Health Certificate) เป็นภาษาอังกฤษ ออกให้โดย สัตวแพทย์รัฐบาลผู้มีอำนาจเต็มจากประเทศต้นทาง และต้องตรงตาม Requirement ที่กรมปศุสัตว์กำหนดทุกประการ

การดำเนินการ (ช่วงนำเข้า)
1) สัตวแพทย์ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนแล้ว จะออกใบอนุญาตนำซากสัตว์เข้าฯ (แบบ ร.7) ให้ผู้ขอฯ เพื่อใช้ในการตรวจปล่อยสินค้ากับศุลกากร
2) ผู้นำเข้าฯราชอาณาจักรเก็บตัวอย่าง กักรอผลการตรวจเสียค่าธรรมเนียมนำเข้าตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499

cr:https://aqi.dld.go.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=279..
https://aqs-suvarn-dld.go.th/wp/th/%E0%B8%9E-%E0%B8%A3-%E0%B8%9A
https://www.google.com/..E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B..

กรมประมง ห้ามนำเข้า-เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเอเลียนเช่น กุ้งเครย์ฟิช ปลาหมอสี มีโทษคุก1ปี ปรับ 1 ล้านบาท