ทันข่าว » ค่าเงินบาทที่แข็งค่า และค่าแรงงานที่แพงกว่าประเทศอื่นทำกุ้งไทยขายไม่ออก

ค่าเงินบาทที่แข็งค่า และค่าแรงงานที่แพงกว่าประเทศอื่นทำกุ้งไทยขายไม่ออก

22 พฤษภาคม 2018
1071   0

เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2561 นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง แถลงถึงมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งที่ประสบปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ พร้อมด้วยนายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็ง นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์​ เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยเลขาธิการสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และ นายไพโรจน์ อภิรักษ์นุสิทธิ์ ​รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

โดยจากการหารือร่วมกันหลายครั้งเพื่อช่วยเหลือเกษตร ทุกฝ่ายเห็นร่วมกันที่จะช่วยเหลืออุตสาหกรรมกุ้งของไทย ทั้งในด้านลดต้นทุนการผลิตและราคารับซื้อ ซึ่งหลังจากนี้กรมประมงจะดำเนินการทำรายละเอียดเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครง ..ภาคเอกชนจะรับซื้อกุ้งในราคานำตลาดในจำนวน 1 หมื่นตัน ระยะเวลา 60 วัน โดยในสัปดาห์หน้าจะเริ่มประชุมเพื่อทำรายละเอียดจับคู่ผู้ซื้อ ผู้ขาย และหากจุดใดทำเสร็จก็จะเดินหน้าซื้อขายในราคาดังกล่าวทันที

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และภาคเอกชน จะช่วยเหลือโดยการลดต้นทุน ซึ่งบริษัทซีพีผู้ผลิตลุกกุ้งจะลดให้ตัวละ 3 สตางค์เหลือ 16 สตางค์ต่อตัวหรือประมาณ 4 บาทต่อกิโลกรัมและสมาคมผู้ผลิตอาหารลดราคาอาหารกุ้งให้ 25 บาทต่อกระสอบหรือ 4 บาทต่อกิโลกรัม 2 เดือน และการขอความร่วมมือเอกชนซื้อในราคาตลาดที่หน้าฟาร์มหรือปลายทาง ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมไว้ประมาณ 9 พันราย โดยเบื้องต้นคาดว่าจะรับซื้อจากเกษตรกรรายละไม่เกิน10 ตันตลอด 2 เดือน พ.ค.ถึงสิ้นมิ.ย.

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็ง กล่าวว่า สมาคมจะช่วยรับซื้อ 2 หมื่นตันหรือ 25% ของผลผลิตในเวลา 60 วันหรือ 2 เดือน ๆ ละ 5,000 ตัน โดยจะเริ่มได้ประมาณต้นเดือนมิ.ย. เป็นต้นไป

นายพจน์ ย้ำว่า การช่วยเหลือครั้งนี้ไมได้เป็นการยื่นหมูยื่นแมวว่าขอให้เกษตรกรเปิดทางให้เอกชนนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศ เพราะในระบบตลาดเสรีกรมประมงไม่มีสิทธิ์ห้ามนำเข้า ยกเว้นเกิดโรคระบาดเท่านั้น แต่ขณะนี้ยืนยันว่าจะไม่มีการนำเข้ากุ้งจากอินเดีย ทั้งนี้ขอให้ทุกฝ่ายเข้าใจสมาคมด้วย เพราะที่ผ่านมากำลังการผลิตเหลือ แต่ทุกโรงงานมีภาระค่าใช้จ่ายทั้งคนงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ในขณะที่ไทยเสียเปรียบทั้งด้านต้นทุนการผลิตที่มาจากราคาต้นทุนวัตถุดิบคือกุ้งที่ราคาสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ค่าเงินบาทที่แข็งค่า และค่าแรงงานที่แพงกว่าประเทศอื่นเป็นเท่าตัว

สำหรับราคารับซื้อประกอบด้วย กุ้งขนาด 30 ตัวต่อกิโลกรัม รับซื้อ 180 บาทต่อกก. ขนาด 40 ตัวรับซื้อ 170 บาท ขนาด 50 ตัวรับซื้อ 160 บาท ขนาด 70 ตัว ซื้อ 145 บาท ขนาด 80 ตัวรับซื้อ 135 บาทและ ขนาด 100 ตัว รับซื้อ 125 บาทต่อกก.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในจังหวัดภาคใต้แนวสองฝั่งทะเล อ่าวไทย และอันดามัน ได้เรียกร้องให้นายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรฯ แก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำ โดยมีข้อเสนอให้เอกชนรับซื้อกุ้งขนาด 100 ตัวต่อกก.ที่ราคา 130 บาทต่อกก. ซึ่งมีต้นทุนอยู่ที่ 120 บาท หากไม่ช่วยจะเดินทางมาประท้วงหน้าทำเนียบรัฐบาลร้องนายกรัฐมนตรี ช่วยรับซื้อกุ้งแช่ห้องเย็นโดยใช้เงิน คสก.

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/801511

https://www.google.com/search?q=%E0%B8%87%E0%B8%9A..