เลี้ยงสัตว์ » โรคปากเปื่อยพุพองในแพะ// สแค๊บบี้เม้าส์ (Scabby mouth)

โรคปากเปื่อยพุพองในแพะ// สแค๊บบี้เม้าส์ (Scabby mouth)

16 กรกฎาคม 2018
3288   0

>สารบัญสำคัญ “คัมภีร์คนเลี้ยงแพะ”

ความคิดเห็นเพิ่มเติมจากเพื่อนสมาชิก เฟซบุ๊ค เลี้ยงแพะยั่งยืน

Rattanapron Machanon เบตาดินของคน..ชุปสำลีเช็ดรอบปาก..ยานี้เปนยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย.และไวรัส..ทาสองวันแผลก้อแห้งตกสะเก็ดแล้วค่ะ

Nittaya Moofah Panraun ฉีดเพนได. และยาม่วงพ่นบริเวณที่เป็น
เก้า กันยา  ลองใช้กาน่ามัยซินฉีดดู ผมเคยใช้กับวัว ได้ผลดีกว่าเพนไดเสต็ป
Supachit Kongngern ข​องผมแหกหลักวิชาการน่ะครับ​ จะเชื่อหรือไม่ก็ไม่เป็นไร แต่หายชัวร์​ ผมใช้สำลีชุบเพนไดเสตบ​เช็ด​ บริเวณแผลที่ปาก​ เช้าเย็น​ 3-4วัน​ หายครับ​ ถ้าเป็นแพะไล่ทุ่งสาเหตุอาจเกิดจากแพะกินไมยราบ​ครับ​ ..

เบญจวรรณ พลเยี่ยม ถ้าไม่เป็นมาก เอาเจียนเชียนไวโอเรตทาที่ปาก 21 วันก็จะหายเป็นปกติค่ะ ถ้าเป็นแล้วปีนี้ก็จะมีภูมิไม่เป็นอีก เป็นช่วงหน้าฝน มักเกิดกับฝูงไล่ทุ่งค่ะ

สุภาพ บุญชูวงศ์ ใช้มะขามเปียกผสมกับเกลือคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปถูที่แผล(เอาแหมที่แข็งออกให้หมดก่อน)ถูแบบใจดำเลยครับเช้าเย็น ไม่เกิน3-5วันหาย โรคนี้ติดกันด้วยครับแยกออกจากฝูงก่อนเลย

ปาริชาติ อุประชัยวุฒ มะขามเปียกอีกเสียงค่ะ.เคยใช้แล้วดีมากค่ะ
Nong Hongtong ได้ผลจริงครับ

Prasit Kamhor หากสะเก็ดตกพื้น เชื้อตัวนี้อยู่บนพื้นได้10-13ปี วิธีแก้ทำความสะอาดคอกบ่อยๆ หากเป็น ให้แยกแพะออกกินน้ำกินหญ้าต่างหาก ฉีดเพนไดสี่วันฉีดครั้ง สองครั้งก็หายละครับ



โรคปากเปื่อยพุพองในแพะ (Contagious Ecthyma)

โรคนี้มีหลายชื่อ บางครั้งเรียกว่า สแค๊บบี้เม้าส์ (Scabby mouth) เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งมีความทนทานมาก สามารถมีชีวิตอยู่ที่สะเก็ดแผลได้นานหลายปี (อาจนานถึง 12 ปี) ..(ที่สำคัญเชื้อแพร่ได้รวดเร็วมาก อาจเป็นทั้งคอก หากไม่แยกแพะป่วยออกจากฝูง)

สาเหตุ

เกิดจากการติดเชื้อ Epithilitrophic Parapoxvirus หรือ Orf virus ที่ปนเปื้อนอยู่ตามคอกผ่านทางบาดแผล โดยไวรัสจะเพิ่มจำนวนในเซลล์ Keratinocytes ในชั้นใต้ผิวหนัง

ความชุกของการเกิดโรคในฝูงที่มีการติดเชื้อครั้งแรกจะสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ โดยมีอัตราการป่วยถึง 100% แต่อัตราการตายน้อยพบแค่ 20% เท่านั้น ความสำคัญของโรคอยู่ที่เชื้อคงอยู่ในสะเก็ดแผลที่ร่วงหลุดอยู่ในคอกได้เป็นเวลานาน

อาการของโรค
..เริ่มมีเม็ดตุ่มบวมแดง ลักษณะคล้ายผื่นลมพิษหรือฝีดาษที่ริมฝีปากและเหงือก แต่อาจจะพบเป็นที่เต้านมและบริเวณหนังอ่อนรอบทวารหนัก ต่อมาเม็ดตุ่มจะแตก มีน้ำเหลือง กลายเป็นสะเก็ดสีคล้ำคลุมแผล ระยะฟักตัวของโรค 3-8 วัน
ในลูกแพะจะเกิดวิการที่เหงือกบริเวณฟันน้ำนม ทำให้เจ็บเหงือกไม่อยากดูดนมแม่ และเมื่อลูกที่เป็นโรคดูดนมแม่ แม่ก็จะได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่เต้านมทำให้เต้านมอักเสบรุนแรงโดยอาจมีเชื้อหนอง เช่น Corynebacterium pyogenes หรือ Staphylococi เข้าแทรกด้วย โรคนี้จะมีผลเสียหายมาก เมื่อเกิดระหว่างฤดูกาลคลอดลูกแพะ เพราะโรคนี้ทำให้ลูกแพะไม่ดูดนมเนื่องจากเจ็บเหงือก หรือแม่ติดเชื้อเป็นโรคเต้านมอักเสบ น้ำนมลดเป็นเหตุให้ลูกแพะขาดน้ำนม ไม่แข็งแรงและอาจป่วยถึงตายได้ เนื่องจากขาดอาหาร (Starvation or Hypoglycemia) นอกจากปัญหาดังกล่าวนี้แล้วโรคนี้แทบไม่มีความสำคัญอะไรเลย

 


การรักษา

รักษาโดยการลอกสะเก็ดออกทำความสะอาดแผลด้วย ยาฆ่าเชื้อ เช่น ไฮโดรเย่นเปอร์ออกไซด์ แล้วทาด้วยยาสีม่วงเจนเชียนไวโอเลต หรือยาสมานแผล ถ้าให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วยจะทำให้แผลหายเร็วขึ้น(บางรายใช้น้ำมะขามเปียกผสมน้ำทาเช้า-เย็น ก็ได้ผลดี)

ขอบคุณภาพประกอบจากคุณ Omyim House



การรักษาควรใช้ยาทาเฉพาะที่ร่วมกับยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาภาวะติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน ไม่ควรลอกเอาสะเก็ดออกเนื่องจากจะทําให้แผลหายช้า เกิดแผลเป็นและผู้ที่สัมผัสสะเก็ดอาจติดเชื้อได้ ดังนั้นผู้ที่ใกล้ชิดกับแพะป่วยต้อง ป้องกันตนเองโดยการสวมถุงมือทุกครั้งก่อนทำการสัมผัสหรือทำการรักษาแพะป่วย ในกรณีที่สัตว์ติดเชื้อไม่สามารถกินได้ควรช่วยป้อนอาหาร หรือให้อาหารที่อ่อนนุ่ม น่ากิน สัตว์ที่หายจากโรคจะมีภูมิคุ้มกันโรคอย่างน้อย 1 ปี

การควบคุมและป้องกันโรค

ทำได้โดยการทำวัคซีนเชื้อเป็นที่ถูกทําให้อ่อนกําลังลงที่มีขายในท้องตลาด ทำทั้งในแม่ก่อนคลอด 2 เดือน และลูกแพะโดยทำครั้งแรกที่อายุ 1 เดือน และกระตุ้นซ้ำตอนอายุ 2-3 เดือน แผลหรือจากการเพาะเลี้ยง วัคซีนจะช่วยลดระยะเวลาและความรุนแรงของอาการ วัคซีนนี้สามารถก่อโรค ในสัตว์และคน ดังนั้นจึงควรทําวัคซีนเฉพาะฝูงที่เคยมีประวัติการเกิดโรค เพื่อไม่ให้เกิดโรคในช่วงที่เลี้ยงลูกและทําซ้ำทุกปี

การผลิตวัคซีนชนิด Autogenous ทำได้โดยการเอาสะเก็ดแผลจำนวน 2-3 กรัม มาผสมในน้ำเกลือและบดให้ละเอียด หยดยาปฏิชีวนะเช่น penicillin หรือ streptomycin ลงไปในส่วนผสม เพื่อควบคุมเชื้อแบคทีเรีย (Bath et al. /2005)

การทำวัคซีนให้ขูดบริเวณที่ไม่มีขน เช่น ต้นขา ด้านใน ด้านในของใบหู ด้านใต้ของหาง และจะเกิดขึ้นบริเวณรอยขูดหลังจากทําวัคซีน 5-10 วัน ซึ่งจะถือว่าการทําวัคซีนประสบความสําเร็จ ระดับภูมิคุ้มกันจึงจะสูงพอที่จะป้องกันโรคได้หลังจากทํา วัคซีนอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์

การจัดการอื่นๆ ที่มีส่วนในการป้องกันและควบคุมโรค คือ การแยกสัตว์ที่ ติดเชื้อออกจากฝูงเพื่อป้องกันการติดต่อของเชื้อไปยังสัตว์ตัวอื่น การลดโอกาสที่จะเกิดแผลบริเวณปาก

ความสำคัญทางสาธารณสุข

โรคนี้เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยคนจะติดต่อโรคนี้ได้จากการสัมผัสสัตว์ที่ติดเชื้อหรือสัตว์ที่เพิ่งได้รับวัคซีน รวมทั้งการสัมผัสวัคซีนโดยตรง ดังนั้นผู้ที่สัมผัสสัตว์ป่วยหรือจะทําวัคซีนให้กับสัตว์ ควรใส่ ถุงมือเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และล้างมือทันทีหลังการสัมผัส

คนที่ติดเชื้อมักจะเกิดที่นิ้ว มือ แขน หน้า และอวัยวะเพศชาย จะเริ่มพบได้หลังสัมผัสเชื้อ 3-7 วัน หากไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อนจะสามารถหายได้เองภายใน 2-4 สัปดาห์ โดยที่ไม่มีแผลเป็น อย่างไรก็ ตามยังไม่พบการติดต่อของโรคจากคนสู่คน.

เรียบเรียงจาก
http://www.vet.psu.ac.th/2017/index.php/acadimic-guide/vet-knowledge-about-pets/km-contagious-ecthyma
http://tulyakul.blogspot.com/2011/07/..http://www.askjpc.org/wsco/wsc/wsc97/..
https://www.google.com/search?q=%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%99..

ประโยชน์ของนมแพะ ที่คุณแม่ควรรู้