เลี้ยงสัตว์ » โรคแบลคเลก Blackleg ( “โรคไข้ขา”).. เป็นโรคติดต่อร้ายแรงของโค-แพะ-แกะ

โรคแบลคเลก Blackleg ( “โรคไข้ขา”).. เป็นโรคติดต่อร้ายแรงของโค-แพะ-แกะ

6 กันยายน 2018
1217   0

โรคแบลคเลก เป็นโรคติดต่อร้ายแรงของโค-กระบือ-แพะ-แกะ.

(ขอบคุณแรงบันดาลใจ จากคุณ merlion กลุ่มแพะแปลงใหญ่ลุ่มน้ำปากพนัง ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ)

ลักษณะสำคัญของโรคนี้คือ การอักเสบของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณต้นขาหลัง บริเวณที่อักเสบจะบวมร้อน มีอาการแทรกอยู่ภายใน เมื่อกดดูจะมีเสียงดังกรอบแกรบ ไข้สูง และสัตว์เดินขากะเผลก จึงเรียกโรคนี้ว่า “โรคไข้ขา”

สาเหตุและการแพร่กระจาย
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ คลอสตริเดียม โชวิไอ (Clostridium chouvei)
โค+แพะ..ที่เป็นโรคนี้ส่วนมากเกิดจากการกินอาหารที่มีเชื้อปะปนอยู่ เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะไปอยู่ตามบริเวณที่มีกล้ามเนื้อหนาๆ เช่น กล้ามเนื้อสะโพก ขา ไหล่ หน้าอก คอหรือลิ้น เป็นต้น แล้วจะขยายตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้น พร้อมกับสร้างสารพิษออกมาทำลายกล้ามเนื้อรอบๆ บริเวณที่เชื้ออยู่ และสารพิษส่วนหนึ่งจะเข้าสู่กระแสโลหิต นอกจากการกินอาหารที่มีเชื้อปะปนแล้วโค+แพะ..อาจเป็นโรคได้ เนื่องจากเชื้อเข้าทางบาดแผลแต่ก็พบน้อย

โรคนี้มักเกิดกับโค+แพะ..ที่มีอายุระหว่าง 6-24 เดือน เป็นส่วนมาก และมักเกิดซ้ำในจุดที่เคยเกิดโรคอยู่เสมอ

อาการ
โค+แพะ..จะซึม เดินขากะเผลกข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มีไข้สูง 105 -107 องศาฟาเรนไฮท์ หยุดเคี้ยวเอื้อง หายใจเร็ว เกิดการบวมของกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก ขาหลัง ไหล่ หน้าอก คอ หรือลิ้น เมื่อกดบริเวณที่บวมจะได้ยินเสียงดังกรอบแกรบ เพราะมีฟองอากาศแทรกอยู่ภายในและจะแสดงอาการเจ็บปวด ผิวหนังบริเวณนี้จะมีสีแดงคล้ำ ร้อน ต่อมาจะเย็นลง ผิวหนังจะแห้งดำ และโค+แพะจะไม่แสดงอาการเจ็บปวด บางตัวจะล้มลงนอน กล้ามเนื้อสั่น ชีพจรเต้นเร็ว เยื่อเมือกมีเลือดคั่ง ปวดเสียดท้อง อุณหภูมิต่ำกว่าปกติและตายภายใน 12-48 ชั่วโมง เมื่อเปิดผ่าบริเวณที่บวมจะพบของเหลวสีดำคล้ำมีกลิ่นเหม็น มีฟองอากาศแทรกอยู่ตามกล้ามเนื้อ และกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆ จะมีสีดำและแดง

การตรวจวินิจฉัยและการเก็บตัวอย่าง
การตรวจวินิจฉัยโรคนี้สามารถกระทำได้ง่าย โดยการศึกษาประวัติ อาการและวิการ พร้อมกับตรวจหาเชื้อจากของเหลวสีดำคล้ำที่บริเวณกล้ามเนื้ออักเสบ โดยการย้อมด้วยสีแกรม (Gram) จะพบเชื้อรูปร่างเป็นแท่งปลายมนติดสีน้ำเงิน (Gram positive rod)

หรือถ้าสัตว์ตายและซากยังไม่เน่าก็สามารถตรวจหาเชื้อได้จากกล้ามเนื้อบริเวณที่อักเสบ และอาจตรวจพบได้จากเลือดในหัวใจ ตับ ม้าม เพราะก่อนสัตว์ตายเล็กน้อยเชื้อจากกล้ามเนื้อจะแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด ไปยังอวัยวะดังกล่าว แต่ถ้าซากสัตว์เน่าการตรวจหาเชื้อจากกล้ามเนื้อและอวัยวะจะพบได้ยาก เพราะมีเชื้อ Clostridium ตัวอื่นๆ มาปะปนอยู่ จะตรวจพบเชื้อได้ก็โดยต้องตรวจหาเชื้อจากไขกระดูก
ข้อสำคัญในการวินิจฉัยโรคนี้คือ จะต้องวินิจฉัยให้ได้ว่าสัตว์เป็นโรคแบลคเลกจริงซึ่งเกิดจากเชื้อ คลอสตริเดียม โชวิไอ (Clostridium chouvei) หรือเป็นโรคแบลคเลกเทียมที่เกิดจากเชื้อคลอสตริเดียม เซบติกัม (Clostridium septicum) ดังนั้นจึงควรเก็บตัวอย่าง เช่น ของเหลวสีดำคล้ำ กล้ามเนื้อที่อักเสบ เลือดในหัวใจ ตับม้าม แช่เย็นแล้วนำส่งห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาสาเหตุของโรค


การรักษา
การรักษาจะได้ผลดีเมื่อทำการรักษาตั้งแต่สัตว์เริ่มแสดงอาการโดยฉีดยาเพนนิซิลลิน (Penicillin) เข้ากล้ามเนื้อบริเวณที่เกิดการอักเสบ หรือใช้อ๊อกซีเตตราไซคลิน (Oxytetracycline) หรือคลอเตตราไซคลิน (Chlortetracycline) ก็ได้ผลดีเช่นเดียวกัน

การควบคุมและป้องกัน
กรณีที่มีโรคระบาดเกิดขึ้น จะต้องแยกสัตว์ป่วยออกจากฝูงพร้อมทั้งให้การรักษา
สัตว์ตายจะต้องฝังหรือเผา และสัตว์ที่เหลือภายในฝูงต้องทำวัคซีนควบคู่กับการฉีด Penicillin ในขนาด 6,000 ยูนิต ต่อน้ำหนักตัวสัตว์หนึ่งกิโลกรัม จุดที่เกิดโรคไม่ควรนำสัตว์เข้าไปเลี้ยงในบริเวณนั้นอีกจนกว่าสัตว์จะมีภูมิต้านทาน คือ 21 วันหลังการทำวัคซีน

การทำวัคซีนในโค+แพะ..ฉีดวัคซีนเข้าใต้ผิวหนัง ตัวละ 5 ซี.ซี. สามารถคุ้มโรคได้นาน 6 เดือน แต่ถ้าทำวัคซีนในลูกโค+แพะ..อายุน้อยกว่า 6 เดือน จะต้องทำซ้ำอีกครั้ง เมื่อลูกโค+แพะ..อายุได้ 6 เดือน และต้องห่างจากครั้งแรกไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือน

คำแนะนำ
1. ในพื้นที่ที่เกิดโรค ไม่ควรนำสัตว์เข้าไปเลี้ยงโดยเฉพาะสัตว์ที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี ซึ่งจะเกิดโรคได้ง่ายกว่าสัตว์อายุอื่นๆ และโรคนี้สามารถติดต่อจากเชื้อที่มีอยู่ในดินบริเวณนั้น
2. สัตว์ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรฉีดยารักษา
3. ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ขาให้แก่สัตว์รอบพื้นที่ที่เกิดโรค


วัคซีนแบลคเลกของกรมปศุสัตว์ที่ผลิตโดยสำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์

วัคซีนแบลคเลก เป็นวัคซีนแบคทีเรียเชื้อตายชนิดตกตะกอนด้วย Potash alum ผลิตจากเชื้อ Clostridium chauvoei ฆ่าเชื้อด้วยฟอร์มาลิน วัคซีนมีลักษณะเป็นการแขวนลอย

สรรพคุณ ใช้ฉีดป้องกันโรคแบลคเลกในโค+แพะ.. กระบือ แพะ และแกะ

ส่วนประกอบ วัคซีน 1 โด๊ส ประกอบด้วยเชื้อ Clostridium chauvoei จำนวนไม่น้อยกว่า 0.26% PCV

วิธีการใช้ ใช้ฉีดสัตว์ อายุ 4-6 เดือนขึ้นไป และฉีดซ้ำทุก 6 เดือน
ในกรณีที่ต้องฉีดวัคซีนก่อนอายุ 4 เดือน ให้ฉีดวัคซีนซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เมื่ออายุได้ 6 เดือน
ในท้องที่ที่เคยมีโรคนี้ระบาดอยู่ ห้ามฉีดในลูกสัตว์ที่มีอายุน้อยกว่า 4 เดือน
ก่อนใช้ต้องเขย่าขวดให้วัคซีนเข้ากันดีทุกครั้ง
ขนาดฉีด เข้าใต้ผิวหนัง โค+แพะ.. กระบือ ตัวละ 5 มิลลิลิตร (ซีซี.) แพะ แกะ ตัวละ 2.5 มิลลิลิตร (ซีซี.)

ความคุ้มโรค สัตว์จะมีความคุ้มโรคหลังจากฉีดวัคซีนแล้วประมาณ 21 วัน และจะมีความคุ้มโรคอยู่ได้นานประมาณ 6 เดือน

การเก็บรักษา เก็บที่อุณหภูมิห้อง ห้ามเก็บในช่องแช่แข็ง

ขนาดบรรจุ ขวดละ 100 มิลลิลิตร (ซีซี.)

ข้อควรระวัง 1. โรคที่มีอาการคล้ายกับโรคแบลคเลกมาก คือ โรคแบลคเลกเทียม หรือ โรคแก๊สแกง กรีน ซึ่งเกิดจากเชื้อ Clostridium septicum และโรคนี้อาจจะเกิดร่วมกับโรคแบลคเลกก็ได้สัตวแพทย์จึงควรวินิจฉัยให้แน่ชัดว่าสัตว์เป็นโรคชนิดใดเพราะวัคซีนชนิดนี้ไม่สามารถให้ความคุ้มโรคแบลคเลกเทียม
2. หลังจากฉีดวัคซีนควรกักสัตว์ไว้ในที่ร่มและเฝ้าดูอาการประมาณ 1 ชั่วโมง หากสัตว์แสดงอาการแพ้วัคซีน แก้ไขโดยฉีดแอดรีนาลีน 1 : 1000 เข้ากล้ามเนื้อ 0.5-1 มิลลิลิตร (ซีซี.) ต่อน้ำหนัก 50 กิโลกรัม (0.5-1 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 50 กิโลกรัม) หรืออาจฉีดควบกับแอนติฮีสตามีน 0.5-1 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม.:108kasetเรียบเรียง

———————————
ที่มา
http://region7.dld.go.th/DControl/Data/Disease/Cow/Blackleg
https://en.wikipedia.org/wiki/Blackleg_(disease)
https://th.wikipedia.org/wiki/Clostridium_botulinum
https://web.facebook.com/ps.intevet/posts/%E0%B..
http://biologic.dld.go.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=140&Itemid=60
ทัศนีย์ ชมภูจันทร์, มนัสนันนท์ ประสิทธิรัตน์ และมนยา เอกทัตร์ (บรรณาธิการ). 2539. คู่มือการดูแลสุขภาพโค+แพะ..นม” สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ. ฟันนี่พับบลิชิ่ง.
ทัศนีย์ ชมภูจันทร์, สุรีย์ ธรรมศาสตร์, ปนันท์ ธนเจริญวัชร, จิรา คงครอง และเอกรินทร์ วัฒนพลาชัยกูร (บรรณาธิการ). 2539. คู่มือมาตรฐานการชันสูตรโรคสัตว์. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
วัคซีนเบลคเลก, สำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์, http://www.dld.go.th/biologic