ปลูกพืช » เถาคัน (ส้มอ๊อบแอ๊บ)

เถาคัน (ส้มอ๊อบแอ๊บ)

19 พฤศจิกายน 2018
2171   0


———-

https://goo.gl/HaZ8Tw

 

ส้มเค้า (คลองหอยโข่ง-สงขลา), ส้มน้ำออบ, ส้มอ๊อบแอ๊บ (นครศรีธรรมราช) ..ลูกเถาคัน(ใต้)(น้ำนอง ,เขาคัน-นครศรีธรรมราช)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เถาคันแดง
Parthenocissus quinquefolia fructis.jpg
ผลของเถาคัน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Vitales
วงศ์: Vitaceae
สกุล: Parthenocissus
สปีชีส์: P. quinquefolia
ชื่อทวินาม
Parthenocissus quinquefolia
(L.) Planch.

 

จัดเป็นพรรณไม้เลื้อย ชอบพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ ผิวขรุขระ มีมือแตกออกจากข้อ ไม่มีขน ใช้สำหรับเกาะต้นไม้อื่น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือแยกเอาต้นอ่อนจากกอเดิมไปปลูก ชอบแสงแดดจัด ขึ้นในดินไม่อุ้มน้ำ มักขึ้นตามที่รกร้าง ตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าคืนสภาพ และตามป่าราบทั่วไป

เถาคันที่เกิดขึ้นตามป่านั้นมักจะอยู่ได้จนเถามีขนาดใหญ่เท่าข้อมือของคน และถ้าตัดออกจะเห็นเนื้อภายในเป็นวง ๆ มีสีแดงสลับกัน ลักษณะคล้ายกับเถาวัลย์เปรียง พรรณไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด..

ชนิดต้นเขียวเราจะเรียกว่า “เถาคันขาว

ชนิดต้นที่เป็นสีแดงนั้นเราจะเรียกว่า “เถาคันแดง” ซึ่งชนิดสีแดงนี้จะนิยมนำมาใช้ปรุงเป็นยามากกว่า

เถาคันแดง(Verginia creeper) เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง เถามีสีเขียวขนาดเล็ก มีมือเกาะแตกจากข้อไม่มีขน มีถิ่นกำเนิดในทางตะวันออกและตอนกลางของทวีปอเมริกาเหนือ, ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศแคนาดา, ทางตะวันออกและตอนกลางของสหรัฐอเมริกา, ทางตะวันออกของประเทศเม็กซิโก, และประเทศกัวเตมาลา, ไปทางตะวันตกไกลถึงรัฐแมนิโทบา, รัฐเซาท์ดาโคตา, รัฐยูทาห์ และรัฐเทกซัส

ในประเทศไทยมีชื่อท้องถิ่นว่า เถาคัน, เถาคันแดง, เถาคันขาว, เครือหุนแป, เครือพัดสาม

เถาคัน และออบแอบ แตกต่างกันตรงไหน?

เป็นที่น่าสงสัยอย่างมาก ระหว่างคนใต้กับคนอีสานว่า เถาคัน กับ ส้มออบแอบ เป็นพืชชนิดเดียวกันหรือไม่?

ลูกเถาคันของคนใต้เป็นไม้เถาเลื้อย ส่วนมากมักจะนำเอาลูกดิบสีเขียว ที่แก่จัด มาปรุงเป็นอาหาร ส่วนใหญ่เอามาแกงส้มกับปลาหรือกุ้ง จะให้รสเปรี้ยว

ออบแอบ มาจากอีสาน เป็นไม้เถาเลื้อย ใบ ดอก และผลที่แก่จัดจะให้รสเปรี้ยว สำหรับคนอีสานแล้ว ออบแอบ เป็นผักสำหรับใส่ในแกงเห็ดโดยเฉพาะ เช่น แกงเห็ดเผาะ (เห็ดถอบ) แกงเห็ดระโงก (เห็ดไข่ไก่) แกงเห็ดตับเต่า (เห็ดผึ้งหรือเห็ดเผิ่ง) ซึ่งเมนูแกงเห็ดของคนอีสานจะต้องใส่ใบออบแอบ ตามด้วยใบแมงลัก ผสมกับปลาร้านัวๆ ได้กลิ่นใบออบแอบ ใบแมงลัก และปลาร้าโชยมาเตะจมูก พอได้ชิมต้องบอกว่า มันแซ่บอีหลีเด้อ

ออบแอบ หรือส้มออบแอบ เป็นไม้เถา ขึ้นตามป่าโคก มีรสเปรี้ยวคล้ายใบมะขาม ใบส้มป่อย ชาวบ้านนิยมนำมาใส่แกงเห็ดหรือต้มยำ ต้มส้ม แทนใบชะมวง ใบมะขาม หรือน้ำมะขามเปียก

ออบแอบ มักจะขึ้นในช่วงฤดูฝน และจะออกดอกในปลายฤดูฝน ชาวบ้านที่เดินเก็บเห็ดหรือของป่าเขาจะนำกลับมาใช้ใส่แกงเห็ด คนอีสานนิยมกินกันมาก ออบแอบใช้ใบ เขาคันใช้ผล

ลักษณะทั่วไป

เถาคันแดงเป็นพรรณไม้เลื้อย ชอบพาดพันตามต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ ใบเป็นใบย่อยประมาณ 3 ใบ แผ่นใบด้านล่ามีขนเล็กน้อย ลักษณะใบนั้นตรงริมขอบใบเป็นจักซี่ฟัน เมื่อสดอวบน้ำใบย่อยปลายสุดรูปไข่หรือรูปไข่กลับกว้าง 1–4 ซ.ม. ยาว 1.5–6 ซ.ม. ดอกมีลักษณะคล้ายดอกกะตังบายหรือดอกเถาวัลย์ปูนหรือฝิ่นต้นและดอกนั้นจะออกเป็นช่อใหญ่กระจุกแบนและแน่น ออกที่ซอกใบดอกย่อยขนาดเล็กสีเขียวอ่อน ผลมีขนาดกลมโตเท่าผลมะแว้ง ผลดิบนั้นจะเป็นสีเขียวใช้กินเป็นอาหารได้ ส่วนผล เมื่อสุกจะเป็นสีดำขนาด 0.5–1 ซ.ม. ถ้าบีบจะมีน้ำออกเป็นสีม่วงแดงทำให้คันมาก

ถิ่นที่อยู่

พบในป่าเต็งรัง, ป่าผสมผลัดใบ, ที่ชื้นไม่มีน้ำท่วมขัง ส่วนเถาคันที่เกิดขึ้นตามป่านั้นมักจะอยู่ได้จนเถามีขนาดโตเท่าข้อมือของคนและถ้าตัดออกจะเห็นเนื้อภายในเป็นวง ๆ มีสีแดงสลับกัน ลักษณะคล้ายเถาวัลย์เปรียง

 

ภาคใต้ นิยมนำใบรวมทั้งผลอ่อนมาแกงส้มปลา แกงพุงปลา แกงเหลือง ภาคอีสานนำส่วนใบปรุงรสในการต้มเป็ด ต้มปลา เครือข่ายหมอพื้นบ้านภาคอีสาน (มหาสารคาม) มีตำรับยารักษาอาการเหน็บชาในวัยชราด้วยสมุนไพร 3 ชนิด คือ ส้มขี้มอด, หูลิง, เครือทางควาย โดยนำเอาแก่นขอไม้ทั้งสามต้มรวมกันใช้ดื่ม ผลแก่สามารถนำไปหมักทำไวน์ (มีรสเปรี้ยวคล้ายองุ่น) ใบนำไปทำเป็นผงนัว (ปรุงรสอาหาร)

สรรพคุณ

ประโยชน์ด้านอาหาร ผลอ่อน ยอดอ่อน ผลสุก ผลอ่อนใช้ตำน้ำพริกและใส่ในแกง มีรสเปรี้ยว ยอดอ่อนใช้แกงเลียง ส่วนผลสุกกินเล่น (เปรี้ยวอมหวาน) การปรุงจะใส่เถาคันขณะน้ำแกงกำลังเดือดและต้องไม่เดิมน้ำอีก หากไม่เช่นนั้นจะคันเมื่อเวลารับประทาน

สรรพคุณทางยา :

  • เถา ใช้ปรุงเป็นยาต้มกิน เป็นยาขับลมขับเสมหะ เป็นยาฟอกเลือด ดับพิษตานซาง..ต้มกินเป็นยารักษาโรคกษัย(การป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง ปวดเมื่อย)ทำให้เส้นหย่อน เป็นยาขับลม ขับเสมหะ เป็นยาฟอกเลือด รักษาอาการฟกช้ำจากภายใน แก้ลมวิงเวียนหน้ามืด ขับเสมหะลงสู่ทวารหนัก
  • เถาสดหรือเถาแห้ง ใช้ต้มกินน้ำช่วยขับปัสสาวะแก้นิ่วเป็นยา ฟอกโลหิตแก้ฟกซ้ำภายในขับเลือดเน่า ขับน้ำคาวปลา
  • ราก แก้อักเสบเนื่องจากเป็นแผลในกระเพาะอาหาร และต้มกินน้ำเป็นยาขับพยาธิไส้เดือน ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว เป็นยาฟอกโลหิต แก้ฟกซ้ำภายใน ขับเลือดเน่า ขับน้ำคาวปลาและรักษาอาการฟกช้ำภายใน
  • ใบ นำไปอังไฟให้พอเหี่ยว ใช้ปิดฝีบ่มหนอง ถ้าฝีนั้นแตกก็จะทำให้ดูดหนองคล้ายขี้ผึ้งอิดติโยนของฝรั่ง -รักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน พอกรักษาแผลในจมูก ทาถูนวดให้ร้อนแดงแก้ปวดเมื่อย หรืออังไฟปิดฝี ถอนพิษปวดบวม
  • ยอดอ่อน มีรสจืด มักนำมาลวก ต้ม จิ้มกับน้ำพริกหรือรับประทานเป็นผักสด
  • ผลสุก รับประทานไม่ได้ เพราะน้ำในผลจะมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการคัน ต้องต้มให้ร้อนก่อนจึงจะทานได้-ผลดิบให้รสชาติขมเล็กน้อย ใช้ใส่น้ำพริกและใช้แกงส้ม..แต่มีข้อมูลชี้ว่าผลเถาคันแดงมีกรดออกซาลิคซึ่งเป็นสารพิษ หากได้รับในปริมาณมากจะทำให้เกิดอาการคัน เพราะสารนี้มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อผนังกระเพาะลำไส้และจะถูกดูดซึมผ่านผนังที่อักเสบจนทำให้เกิดเป็นแคลเซียมออกซาเลทได้ มีผลทำให้ปริมาณของแคลเซียมอิออนลดลง ซึ่งภาวะเช่นนี้จะมีผลต่อการทำงานของหัวใจและประสาทส่วนกลาง ไตพิการ เนื่องจากมีการตกตะกอนของแคลเซียมออกซาเลท
  • อื่น ๆ : พรรณไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ 2 ชนิด ชนิดที่มีต้นเขียวเราเรียกว่าเถาคันขาว ส่วนชนิดที่เป็นสีแดงนั้นเรียกว่าเถาคันแดง และนิยมใช้สีแดงปรุงเป็นยา

คุณค่าทางโภชนาการ

  • เถาคัน, ผล ประกอบด้วยสารอาหารดังต่อไปนี้คือ
  • วิตามินเอ (Total Vitamin A (RE) ) 39 μg / 100 g
    เบต้า เคโรทีน (Beta-carotene) 236 μg / 100 g
    วิตามินอี (Vitamin E) 2.64 mg / 100 g
    วิตามินบี 1 (Thiamin ) 0.02 mg / 100 g
    วิตามินบี 2 (Riboflavin ) 0.09 mg / 100 g
    ไนอะซิน (Niacin ) 1.62 mg / 100 g
    วิตามินซี (Vitamin C ) 8 mg / 100 g
    พลังงาน (Energy ) 27 kcal / 100 g
    น้ำ (Water ) 93.4 g / 100 g
    โปรตีน (Protein ) 0.4 g / 100 g
    ไขมัน (Fat ) 0.4 g / 100 g
    คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate ) 5.5 g / 100 g
    ใยอาหาร (กาก) (Crude/ Dietar ) — g / 100 g
    เถ้า (Ash ) 0.3 g / 100 g
    แคลเซียม (Calcium ) — mg / 100 g
    ฟอสฟอรัส (Phosphorus ) — mg / 100 g
    ธาตุเหล็ก (Iron ) — mg / 100 g
    (retinol ) — μg / 100 g

    * หมายเหตุ — คือ ไม่ได้ทำการวิเคราะห์ / mg คือ milligrams / μg คือ microgram / g คือ กรัม / kcal คือ kilocalorie

  • เพาะขยายพันธุ์ : เถาและการเพาะเมล็ด

ขอบคุณ
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%..
http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11238
https://sites.google.com/a/kkn.ac.th/phuch-xnuraks/tea-rang/theakhan
https://www.samunpri.com/%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%B2..
https://medthai.com/%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%..