เลี้ยงสัตว์ » โรคมหันตภัยอีกโรคที่ทำให้เกษตรกรขาดทุน..ซีเออี CAE ข้อและสมองอักเสบในแพะ

โรคมหันตภัยอีกโรคที่ทำให้เกษตรกรขาดทุน..ซีเออี CAE ข้อและสมองอักเสบในแพะ

31 ธันวาคม 2018
1356   0


————

https://goo.gl/D5wBFd

 

 

โรคซีเออี CAE : ข้อและสมองอักเสบในแพะ

แพะป่วยไม่ลุก,ขาอ่อน ทั้งหลายสาเหตุหลายๆที่ เกิดจากโรคนี้ค่อนข้างสูงมาก
ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรค CAE มีโครงสร้างใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคปอดบวม
(Ovine Progressive Pneumonia ) ..เป็นโรคทางเดินหายใจที่พบทั่วไปในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเชื้อรีโทรไวรัส
จัดอยู่ในกลุ่มไวรัสที่ช้า หมายความว่าไวรัสจะทำให้เกิดโรคหลังจากที่มีระยะเวลาบ่มเชื้อเป็นเวลานาน

และเมื่อสัตว์ได้รับเชื้อเพียงครั้งเดียวการติดเชื้อจะยังคงอยู่ไปตลอดชีวิต ตามข้อเท็จจริงนี้จึงมีความสำคัญ
มากในการวินิจฉัยและแปรผลการทดสอบโรค ไวรัส CAE ไม่เคยพบว่าเป็นสาเหตุของการเกิดโรคในคน

การควบคุมและป้องกัน

โรค CAE สามารถผ่านจากแพะที่มีเชื้อโรคนี้อยู่ในตัวไปยังแพะที่สุขภาพดีโดยการสัมผัสตาม
ธรรมชาติ เจ้าของฟาร์มสามารถปรับปรุงสุขภาพของลูกแพะ (และแพะทั้งฝูง) โดยการไม่เลี้ยงลูกแพะเกิด
ใหม่ด้วยนมนํ้าเหลืองและน้ำนมธรรมดาจากแม่แพะที่เป็นโรคนี้ เจ้าของฟาร์มสามารถให้ลูกแพะกินนมโค
พาสเจอร์ไรซ์แทนนมธรรมดา และอาจใช้วิธีดังต่อไปนี้ คือเลี้ยงลูกแพะด้วยน้ำนมแพะพาสเจอร์ไรซ์และ
นมน้ำเหลืองที่ผ่านความร้อน (Heat-treat Colostrum)

 

แผนการควบคุมโรคCAE ..

1. ทำการสำรวจตรวจเลือดสัตว์ทุกตัวในฝูง

2. ทำการคัดทิ้งสัตว์ที่พบว่าผลการตรวจเลือดเป็นบวก

3. ให้ทำการตรวจเลือดซ้ำทุก 6 เดือน

4. ถ้าสัตว์บางตัวหรือทั้งหมดในฝูงปัจจุบัน มีผลเลือดเป็นบวกก็ควรจะสร้างฝูงใหม่ขึ้นมาเป็นฝูง
ที่ปลอดเชื้อที่ก่อตั้งโดยลูกแพะรุ่นใหม่ที่จะคลอด

5. ในแพะรุ่นต่อไปที่คลอดทั้งหมดให้สังเกตอาการ และแยกลูกจากแม่ไปเลี้ยงทันที โดยไม่ให้ดื่ม
นมน้ำเหลืองจากแม่
แต่ให้กินนมน้ำเหลืองแช่แข็งที่ได้จากแม่ที่ไม่ติดเชื้อ หรือให้ดื่มนม
น้ำเหลืองที่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ และให้ผู้เลี้ยงที่มีความชำนาญพิเศษเท่านั้นในการเลี้ยงลูก
แพะเหล่านี้ เนื่องจากลูกแพะเหล่านี้ติดเชื้อได้ง่ายเพราะไม่ได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ การให้ลูก
แพะดื่มนมนํ้าเหลืองจากแมแพะที่มีผลเลือดเป็นลบก็อาจทำได้อีกวิธีหนึ่ง

6. ลูกแพะอาจจะต้องถูกแยกเลี้ยงจากแม่และให้ดื่มน้ำนมวัว หรือนมเทียมจนกระทั่งหย่านม

7. ลูกแพะทั้งหมดควรจะถูกทดสอบเลือดทุก ๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสอบสถานการณ์การติดเชื้อ ถ้า
ผลการตรวจสอบเป็นบวกก็แพะจะถูกคัดทิ้งทันที

8. การทดแทนในแพะในฝูงที่มีผลการตรวจสอบเลือดเป็นบวก ควรมีการคัดทิ้งอย่างเป็นระบบ
สัตว์ตัวใดที่แสดงอาการป่วยของโรค CAE ควรจะคัดทิ้งทันที

9. การกระทำในลักษณะนี้โรค CAE ในฝูงจะหมดไปอย่างรวดเร็วในหนึ่งชั่วอายุและอาจจะกำจัด
โรคนี้ได้หมดสิ้นไปภายในช่วง 2-3 รุ่น

สุดท้ายขอย้ำถ้าท่านจะซื้อ แพะ แกะจากฟาร์มไหนควรมีใบรับรองว่าปลอดโรคCAEนี้ โดยตรวจจากเลือดของแม่พันธุ์ตัวนั้นที่ท่านจะซื้อ ถ้าไม่มีอย่าซื้อเพราะท่านจะเสียค่าโง่ได้ ..ไม่ใช่แค่บูลเซลโลซิสครับ ไม่เช่นนั้นท่านจะเจอปัญหานี้ไม่จบในฝูงของท่าน


ภาพแสดงแพะที่เป็นโรค CAE บริเวณข้อเข่าจะมีหินปูนเกาะตัว กระดูกอ่อนถูกทำลาย และบริเวณข้อต่อมีกระดูกงอกผิดรูป ..แพะที่มีอาการหนัก ขาหลังจะมีอาการเป็นอัมพาต ลุกเดินด้วยขาหลังไม่ได้

—————————
เพิ่มเติม
กลุ่มอาการข้อขาอักเสบและอาการสมองอักเสบในแพะ เรียกว่าโรค CAE หรือ Caprine Arthritis Encephalitis Syndrome เกิดจากเชื้อ Retrovirus ซึ่งทำให้สมองอักเสบในลูกแพะและข้ออักเสบในแพะใหญ่ หรือแสดงอาการทั้งสองอย่าง โรคนี้พบในอเมริกาเหนือ ยุโรป ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ และยังมีรายงานว่าในลูกแพะมักมีวิการปอดบวมแทรกซ้อนเสมอ

อาการ
แพะป่วยจะแสดงอาการทางสมองอักเสบ โดยส่วนท้ายของลำตัวและขาไม่มีแรง (Posterior ataxia) ในที่สุดแพะจะเป็นอัมพาตภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากแสดงอาการป่วย อาการของโรคขึ้นกับความรุนแรงของเชื้อ สภาพการเลี้ยงดู สุขภาพร่างกายของแพะ และการดูแลเอาใจใส่รักษาในระยะเริ่มป่วย อาการโดยทั่วไปข้อขาอักเสบบวม โดยเฉพาะข้อขาหน้าล่างใต้เข่า (Carpal joint) ส่วนใหญ่จะพบกับแพะเมื่ออายุ 10 เดือน ถึง 3 ปี เดินไม่สะดวก ขากะเผลก แสดงถึงอาการเจ็บปวด ขนหยาบ ผอมลง และตายในที่สุดด้วยอาการโรคแทรกซ้อน เช่นปอดบวม ท้องอืดฯ

การรักษา เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสจึงไม่มียารักษาให้หายได้โดยตรง

แต่สามารถให้ยาบรรเทาอาการอักเสบ เช่น แอสไพรินขนาด 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม วันละ2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือยาเฟนิวบูตาโซลขนาด 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัมวันละครั้ง

หรือรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาแก้อักเสบ สเตอรอยด์ ยาปฏิชีวนะ หรือ ซัลฟา ป้องกันโรคแทรกซ้อน ยาบำรุงและยาเสริมกำลังต่างๆ จะทำให้ความรุนแรงลดลง บางรายจะดีขึ้นหรือหายเหมือนปกติ แต่มันจะเป็นตัวแพร่เชื้อต่อไป ซึ่งสามารถติดต่อได้ทางน้ำนม แพะที่เป็นโรคบางตัวจะมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 5 ปี

เรื่องแพะแสดงอาการทางระบบประสาท พบว่าเป็นปัญหาอยู่ทั่วไปในแพะของเกษตรกรบ้านเรา การวินิจฉัยหาสาเหตุก็หาได้ยาก เนื่องจากอาการคล้ายคลึงกันหลายโรค ที่พบมากก็คือ แพะป่วยล้มนอนเหยียดยาวตลอดเวลาแต่กินอาหารและน้ำได้เป็นปกติ บางรายรักษาได้ผลบางรายก็ตาย

..ที่สำคัญที่สุด หากขาดการช่วยเหลือตั้งงบประมาณค่าน้ำยาที่แสนแพงเพื่อตรวจโรค CAE จากภาครัฐฯแล้ว พวกเราชาวแพะ หมดสิทธิ์กำจัดโรคนี้ให้หมดไปจากประเทศอย่างแน่นอน…หากท่านข้าราชการที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องมาพบบทความ.. ต้องขอรบกวน กรุณานำเรื่องนี้ไปพิจารณากันด้วย ทำความดีเพื่อชาติกันนะครับ..ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ.

ปื้น ปากพนัง

ขอขอบคุณ https://www.108kaset.com/goat/index.php/topic,392

น่ารู้..CAE ข้อและสมองอักเสบในคน
1. ปัจจุบันยังไม่มียารักษาจำเพาะ
2. ต้องให้การดูแลรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก
3. บางครั้งจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
4. การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ยาระงับชัก ยาช่วยลดอาการบวมของสมอง
5. ดูแลและช่วยการหายใจ รวมทั้งแก้ไขภาวะเสียดุลของเกลือแร่ในร่างกาย
6. รักษาภาวะติดเชื้อแทรกซ้อน
ภายหลังการป่วยเป็นไข้สมองอักเสบ ผู้ป่วยส่วนน้อยที่มีอาการไม่รุนแรงอาจหายเป็นปกติได้ แต่ผู้ป่วยส่วนมากที่มีอาการรุนแรงอาจเสียชีวิต ในกรณีที่รอดชีวิตมักมีความพิการทางสมองหลงเหลืออยู่ เช่น ชัก อัมพาต ปัญญาอ่อน พฤติกรรมและอารมณ์เปลี่ยนแปลง พูดไม่ได้ ฟังไม่เข้าใจ บางรายอาจกลายเป็นเจ้าหญิงนิทราไปเลย จะเห็นว่า โรคไข้สมองอักเสบเป็นโรคที่น่ากลัว เมื่อเป็นแล้วรักษายาก และผลการรักษาไม่ดี..
การป้องกัน
1. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการระบาด ได้แก่ จำนวนยุงพาหะมีมาก สัตว์ที่เป็นแหล่งแพร่เชื้อคือลูกหมูมีปริมาณมาก และประชากรไม่มีภูมิคุ้มกันโรค
2. หลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัด ยุงรำคาญมักจะกัดเวลาพลบค่ำ
3. ไม่ควรเลี้ยงหมูในบริเวณใกล้บ้านที่อยู่อาศัย เลี้ยงหมูในคอกที่อยู่ห่างคน หรือมีมุ้งลวดกันยุง หรือฉีดวัคซีนให้ลูกหมู
4. โรคไข้สมองอักเสบเจอีป้องกันโดยการฉีดวัคซีน 2 ครั้ง ห่างกันหนึ่งเดือน แล้วฉีดเพิ่มอีกหนึ่งครั้งหลังจากฉีดเข็มที่สองได้หนึ่งปี ควรจะเริ่มให้วัคซีนนี้เมื่ออายุ 1 ปีครึ่ง พร้อมกับการให้วัคซีนกระตุ้น DTP และ OPV จากนั้นฉีดกระตุ้นทุก 3-4 ปี
5. พบว่าการให้วัคซีนเชื้อตายผลิตจากสมองหมูมีผลในการป้องกันโรคได้ดีมาก ในปัจจุบันผลิตได้จากองค์การเภสัชกรรมในประเทศไทย แต่ปริมาณไม่พอ ต้องสั่งจากต่างประเทศมาเพิ่ม
6. วัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบันเป็นชนิดสายพันธุ์ นากายาม่า และไบจึง เป็นวัคซีนที่ปลอดภัยให้ผลป้องกันได้ดีมาก ไม่ควรฉีดวัคซีนเกิน 5 ครั้ง เนื่องจากวัคซีนทำจากสมองลูกหนูอาจมีปฏิกิริยาได้มาก กระทรวงสาธารณสุขได้รวมวัคซีนนี้เข้าไว้ในโปรแกรมให้ภูมิคุ้มกันโรคแก่เด็ก ในท้องถิ่นที่มีโรคนี้ชุกชุมมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2533 โดยเริ่มเข็มแรกในเด็กอายุ 12-24 เดือน
7. ในปีพ.ศ. 2543 กระทรวงสาธารณสุขได้ขยายการให้วัคซีนนี้แก่เด็กทั้งประเทศ คนที่อยู่ในกรุงเทพฯตลอดเวลาอาจไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้ ถ้าจะต้องย้ายถิ่นฐานไปอยู่ต่างจังหวัด หรือย้ายไปทำงานต่างจังหวัดอาจติดโรคนี้ได้ และแม้มีเพียงหนึ่งในสามร้อยคนเท่านั้นที่มีอาการ แต่ไม่มีทางทราบล่วงหน้าว่าใครจะมีอาการ จึงควรป้องกันไว้ก่อนโดยการฉีดวัคซีน ในรายที่รีบด่วนอาจให้วัคซีนทั้งสามเข็มในเวลา 0, 7 และ 21 วัน
8. วัคซีนที่กำลังพัฒนาเป็นวัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิตอ่อนฤทธิ์ซึ่งเพาะเลี้ยงในเซลล์ และวัคซีนซึ่งผลิตโดยใช้กระบวนการพันธุวิศวกรรม
ที่มา -http://www.bangkokhealth.com/health/article/%E0%B9%82%..