ชื่อสามัญ หญ้าตีนกา หญ้าปากควาย (ภาคกลาง) หญ้าตีนนก (กรุงเทพ)หญ้าปากคอก (สระบุรี) หญ้าผากควาย (ภาคเหนือ) เยอคุม (เงี้ยว) goose grass, wire grass, yard grass, crow’s foot grass
วงศ์ GRAMINEAE
Eleusine indica (L.) Gaertn.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร
ลักษณะการเจริญเติบโตเป็นกอ ลำต้นส่วนล่างมักทอดเอน ชูส่วนยอด สูง 50 – 64 เซนติเมตร ความยาวของลำต้น 12 – 22 เซนติเมตร แตกรากและต้นใหม่ตามข้อ กาบใบจะบีบตัวเป็นสันทำให้ลำต้นแบนโดยเฉพาะที่โคนต้นและต้นอ่อน ลำต้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.2 – 4.5 มิลลิเมตร ลักษณะใบมีเส้นกลางใบเด่นชัด ขอบใบเกือบขนานถึงปลายใบ ขอบใบเรียบ (entire) ใบกว้าง 0.4 – 0.7 เซนติเมตร ยาว 11 – 22 เซนติเมตร หน้าใบมีขนค่อนข้างยาว กระจายตามขอบใบ และโคนใบเล็กน้อย หลังใบไม่มีขน รอยต่อใบและกาบใบมีลิ้นใบ (ligule) เป็นแผ่นสีน้ำตาลอ่อนปลายลุ่ย (membranous frayed) สั้นมากสูง 0.5 – 1.0 มิลลิเมตร ด้านข้างปากกาบใบมีขนยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร กาบใบยาว 5.6 – 11 เซนติเมตร
ช่อดอก ยาว 37 – 45 เซนติเมตร มี 4 – 7 raceme แต่ละ raceme ยาว 8 – 11 เซนติเมตร แกนช่อดอกย่อย (rachis) กว้าง 0.5 – 1.0 มิลลิเมตร(ความยาวอาจขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ในแต่ละพื้นที่)
ดอกย่อยมีสีเขียว อับเรณู (anther) สีม่วงแดง ยอดเกสรเพศเมีย (stigma) สีม่วงเข้มเปลือกมังคุด ออกดอกตลอดปี
แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล (SN 174) อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา (PC 013) อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ (PC 233) อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ (PC 282) ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 49-307 เมตร
คุณค่าทางอาหาร
อายุ 45 วัน มีโปรตีน 9.6 – 10.1 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.25 เปอร์เซ็นต์ โพแทสเซียม 1.89 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 0.70 เปอร์เซ็นต์ ADF 31.1 – 40.2 เปอร์เซ็นต์ NDF 63.3 – 69.5 เปอร์เซ็นต์ DMD 59.6 เปอร์เซ็นต์ (โดยวิธี Nylon bag) ลิกนิน 5.4 เปอร์เซ็นต์
การใช้ประโยชน์ ต้นอ่อนใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ดี โดยการตัด หรือปล่อยสัตว์แทะเล็ม.
สารกำจัดวัชพืช
ประเภทก่อนวัชพืชงอก เช่น ออกซาไดอะซอน, เพนดิเมทาลิน
ประเภทหลังวัชพืชงอก เช่น โพรพานิล
ขอบคุณ
http://nutrition.dld.go.th/exhibision/native_grass/grass/Eleusine..
https://www.google.com/search?newwindow=1&safe=active&clie..
http://www.ricethailand.go.th/Rkb/weed/index.php-file=content..