ลำไยมีชื่อเรียกพื้นบ้านว่า : บ่าลำไย ชื่อภาษาอังกฤษว่าลองแกน (Longan)
ชื่อทางพฤกษศาสตร์ : Nephelium ,Canb.หรือEuphorialongana,Lamk.วงศ์Sapedadceaeทีน(Native)
ถิ่นปลูก : ในพื้นที่ราบต่ำของลังกา อินเดียตอนใต้ เบงกอลพม่าและจีนภาคใต้ เป็นพืชไม้ผลเขตร้อนและกึ่งร้อน
พบหลักฐานที่ปรากฏในวรรณคดีของจีนในสมัยพระเจ้าเซ็งแตงของจีนเมื่อ ๑,๗๖๖ ปีก่อนคริสตกาลและจากหนังสือRuYaของจีนเมื่อ ๑๑๐ ปีก่อนคริสตกาลได้มีการกล่าวถึงลำไยไว้แล้ว และชาวยุโรปได้เดินทางไปยังประเทศจีนเมื่อปีพ.ศ.๑๕๑๔ ก็เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับลำไยไว้ในปีพ.ศ.๑๕๘๕ แสดงว่าลำไยมีการปลูกในจีน..
△สวนลำไยในจีน(กวางสี)
ที่มณฑลกวางตุ้งเสฉวนมีศูนย์กลางอยู่ที่มณฑลฟูเกียน ลำไยได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศอินเดีย ลังกา พม่าและประเทศแถบเอเชียลังกาพม่าและประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเข้าสู่ประเทศอเมริกาในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๕
ในประเทศไทย ลำไยคงแพร่เข้ามาในประเทศพร้อมๆ กับประเทศในเขตนี้แต่ไม่ปรากฏหลักฐานหลักฐานที่พบเป็นต้นลำไยในสวนเก่าแก่ของ ร.อ.หลวงราญอริพล(เหรียญสรรพเสน) ที่ปลูกในตรอกจันทร์ถนนสาธุประดิษฐ์ใกล้วัดปริวาศในสมัยรัชกาลที่ ๕เป็นลำไยที่ขยายพันธุ์มาจากเมล็ดเพาะแสดงว่าลำไยมีในประเทศไทยมาก่อนแล้ว และมีการพัฒนาพันธุ์ตามลำดับตามสภาพภูมิอากาศ
ต่อมาพระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้นำลำไยจากกรุงเทพฯขึ้นมาขยายพันธุ์ในจังหวัดเชียงใหม่จากนั้นก็ขยายพันธุ์สู่ภูมิภาคต่างๆในล้านนาโดยการเพาะเมล็ดจนเกิดการแปรพันธุ์(Mutation)เกิดพันธุ์ใหม่ตามสภาพคุณลักษณะที่ดีของภูมิอากาศที่เหมาะสมและเกื้อกูลต่อการเจริญเติบโตของลำไย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดลำพูนมีสภาพภูมิประเทศที่ดีในลุ่มแม่น้ำใหญ่หลายสาย จนเกิดลำไยต้นหมื่นที่บ้านหนองช้างคืน อำเภอเมืองลำพูน ซึ่งเก็บผลขายต้นเดียวได้ราคาเป็นหมื่น
เมื่อปีพ.ศ.๒๕๑๑ ผลิตผลต่อต้นได้ ๔๐-๕๐เข่งพัฒนาการของลำไยในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะที่จังหวัดลำพูนถ้านับจากการเสด็จกลับล้านนาครั้งแรกของพระราชชายา เจ้าดารารัศมีเมื่อปีพ.ศ.๒๔๕๗จนถึงลำไยต้นหมื่นที่หนองช้างคืนเมื่อปีพ.ศ.๒๕๑๑ก็พัฒนามาร่วม๖๐ปีและถ้านับถึงปีปัจจุบัน มีการพัฒนาพันธุ์ร่วม๙๐ปีแล้วจนขณะนี้มีลำไยมากมายหลายพันธุ์และมีการปลูกมากถึง๑๕๗,๒๒๐ไร่..
ประโยชน์ของลำไย
-เปลือกของต้น มีสีน้ำตาลอ่อนหรือเทาและมีรสฝาดใช้ต้มเป็นยาหม้อแก้ท้องร่วง ลำต้นมีขนาดใหญ่สูงประมาณ ๓๐-๔๐ ฟุต เนื้อไม้มีสีแดงและแข็งสามารถใช้ทำเครื่องใช้ประดับบ้านได้..
-ผลลำไย มีเปลือกสีน้ำตาลอมเขียว ภายในมีเนื้อขาวอมชมพู ขาวอมเหลืองแล้วแต่สายพันธุ์
-เนื้อลำไย สามารถบริโภคสด บรรจุกระป๋อง ตากแห้งสามารถทำเป็นชาชงใช้ดื่ม เป็นยาบำรุงกำลัง ช่วยให้หลับสบายเจริญอาหาร
พันธุ์ลำไย
ลำไยปลูกในหลายประเทศที่สำคัญคือประเทศจีนมีการปลูกลำไยถึง ๒๖ พันธุ์ คือพันธุ์ที่ปลูกในมณฑล
กวางตุ้ง ๑๒ สายพันธุ์ปลูกในประเทศไต้หวันอีก ๑๕ สายพันธุ์
แม้กระทั่งยังมีการปลูกในสหรัฐอเมริกา๑ สายพันธุ์คือ พันธุ์โคฮาลา
พันธุ์ลำไยในประเทศไทย จำแนกออกตามลักษณะผลเนื้อเมล็ดและรสชาติแบ่งได้ ๕ พวก คือ..
►ลำไยกะโหลก เป็นพันธุ์ลำไยที่ให้ผลขนาดใหญ่มีเนื้อหนารสหวานมีหลายสายพันธุ์ได้แก่..
๑.สีชมพู ผลใหญ ่เนื้อหนา เมล็ดเล็ก เนื้อมีสีชมพู รสดีมากที่สุด
๒.ตลับนาค ผลใหญ่ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบแห้ง เปลือกบาง
๓.เบี้ยวเขียว ผลใหญ่กลมเบี้ยว เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบ
๔.อีดอ ผลขนาดปานกลาง เมล็ดเล็ก รสหวาน แบ่งเป็น ๒ ชนิดคือ
– อีดอยอดแดง ใบอ่อนมีสีแดง
– อีดอยอดเขียว ใบอ่อนมีสีเขียว
๕.อีแดง สีเปลือกของผลค่อนข้างแดง เป็นพันธุ์กลาง กิ่งเปราะหักง่าย ผลกลมใหญ ่เมล็ดใหญ่ รสหวาน
แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ
– อีแดง (อีแดงเปลือกหนา) มีใบป้อมใหญ่ผลใหญ่
– อีแดง (อีแดงเปลือกบาง) ใบยาวผลเล็กกว่าอีแดงเปลือกหนา
๖.อีดำ ผลใหญ ่ใบดำ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบ แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ
– อีแห้วยอดแดง เมล็ดปานกลาง
– อีแห้วยอดขาว ผลกลมใหญ่ หัวเบี้ยว เนื้อกรอบ ไม่หวาน
►ลำไยกระดูก เป็นพันธุ์พื้นเมือง ทรงพุ่มกว้างใบหนาทึบ ผลเล็กมีน้ำมาก เนื้อน้อยไม่หวาน มีน้ำตาลประมาณ ๑๓.๗๕% ขึ้นได้ทั่วไปปลูกง่าย เหลือให้เห็นน้อย เพราะไม่นิยมปลูก ไม่มีราคา
►ลำไยธรรมดา ผลปานกลาง เนื้อหนากว่าลำไยพันธุ์กระดูก เนื้อกรอบบางมีน้ำมาก ให้ผลดก
►ลำไยสายน้ำผึ้ง ลักษณะคล้ายลำไยธรรมดา แต่เนื้อมีสีเหลืองอ่อน เนื้อมีรสดี หอมกรอบ เมล็ดเล็ก
►ลำไยเถาหรือลำไยเครือ มีลำต้นเลื้อยคล้ายเถาวัลย์ นิยมปลูกไว้ประดับมากกว่าปลูกไว้รับประทาน ชอบขึ้นตามป่าแถบภูเขาบรรทัด ภูเขาดงเล็ก ลำต้นไม่มีแก่นจึงพันเข้ากับรั้วหรือหลัก
คุณค่าทางอาหารของลำไย
กองวิทยาศาสตร์กรมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยได้ทำการวิเคราะห์ส่วนประกอบของลำไยปรากฏผลว่า
๑.ลำไยสดทั่วไปประกอบด้วยน้ำ๘๑.๑%คาร์โบไฮเดรต๑๖.๙๘%โปรตีน๐.๙๗%เถ้า๐.๕๖%กาก๐.๒๘%
และไขมัน ๐.๑๑%
๒.ในลำไยสด๑๐๐กรัมจะมีค่าความร้อน๗๒.๘แคลอรีและมีวิตามิน๖๙.๒มิลลิกรัมแคลเซียม๕๗มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส๓๕.๑๗มิลลิกรัมและธาตุเหล็ก๐.๓๕มิลลิกรัม
๓.ลำไยแห้งประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต ๖๙.๐๖%น้ำ ๒๑.๒๗%โปรตีน ๔.๖๑%เถ้า ๓.๓๓%กาก ๑.๕๐%
และไขมัน ๐.๑๗๑%
๔.ลำไยแห้ง ๑๐๐กรัมจะมีค่าความร้อน ๒๙๖.๑แคลอรี แคลเซียม ๓๒.๐๕มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส ๑๕๐.๕มิลลิกรัม
โซเดียม ๔.๗๘มิลลิกรัม เหล็ก ๒.๘๕มิลลิกรัม โพแทสเซียม ๑๓๙๐.๓มิลลิกรัม กรดแฟนโทซินิค ๐.๗๒มิลลิกรัม
วิตามินบี ๑๒จำนวน ๑.๐๘มิลลิกรัม.
ที่มา – https://www.pohchae.com/2020/08/27/longan/