เลี้ยงสัตว์ » ดื่มนมแพะเเล้วจะไม่มีอาการท้องอืด-แน่นท้อง ขับถ่ายคล่อง ท้องไม่เสีย

ดื่มนมแพะเเล้วจะไม่มีอาการท้องอืด-แน่นท้อง ขับถ่ายคล่อง ท้องไม่เสีย

18 พฤศจิกายน 2020
964   0

ดื่มนมแพะเเล้วจะไม่มีอาการท้องอืด-แน่นท้อง ขับถ่ายคล่อง ท้องไม่เสีย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุไรพร จิตต์แจ้ง สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายไว้ว่า นมแพะมีประโยชน์ในแง่คุณค่าสารอาหารเช่นเดียวกับ นมวัว แต่มีความแตกต่างกันในบางส่วน ดังต่อไปนี้

1. นมแพะมีคุณสมบัติที่ย่อยง่ายกว่านมวัว

เนื่องจากส่วนประกอบบางอย่างของนมแพะแตกต่างจากนมวัว โดยเฉพาะโปรตีนเคซีนในน้ำนม โดยนมแพะจะประกอบด้วยโปรตีนชนิด A2 beta-casein เป็นโปรตีนเคซีนชนิดดี ร่างกายสามารถย่อยได้ง่ายอีกทั้งยังมีลักษณะโครงสร้างคล้ายคลึงกับนมแม่อีกด้วย ทำให้ไม่เกิดอาการแน่นท้อง ท้องเดิน ขับถ่ายได้คล่อง ต่างจากนมวัวทั่วไปจะมีโปรตีน A1 beta-casein เป็นหลัก จัดว่าเป็นโปรตีนเคซีนชนิดไม่ดี เพราะมีคุณสมบัติที่ทำให้ย่อยยาก ส่งผลทำให้ปวดท้อง แน่นท้องได้

2. นมแพะมีหยดไขมัน (Fat Globules) ขนาดเล็กกว่านมวัว ส่งผลให้ย่อยง่าย ดูดซึมได้เร็ว ส่วนนมวัวนั้นมีขนาดหยดไขมันขนาดใหญ่ ทำให้ย่อยยาก

3.นมแพะมีกรดไขมันที่มีความยาวสายโซ่ขนาดกลาง (MCFAs) และขนาดสั้น (SCFAs) ในปริมาณมากกว่านํ้านมวัว ดังนั้นนมแพะก็จะสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีกว่านมวัวในผู้ที่มีปัญหาภาวะการดูดซึมสารอาหารบกพร่อง

4.นมแพะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญในปริมาณที่สูงกว่านมวัว เช่น วิตามินบี2 (Riboflavin) วิตามินบี3 (Niacin) และแร่ธาตุซีลีเนี่ยม โดยวิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ต้านการอักเสบ (Anti inflammation) ทำให้ลดการเกิดโรคต่างๆ เเละความเสื่อมของเซลล์

5.นมแพะมักเลี้ยงด้วยวิธีธรรมชาติ หรือเลี้ยงด้วยฟาร์มหญ้าออร์แกนิก ระบบฟาร์มที่ดีส่งผลให้นมแพะไม่มีกลิ่นสาบ เเถมยังอุดมด้วยสารอาหารธรรมชาติมากมายอีกด้วย


นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากวารสารทางการแพทย์ Nutrients ในปี 2017 พบว่า เมื่อดื่มนมแพะในตอนเช้า จะส่งผลต่อศูนย์ควบคุมความอิ่มในสมองได้ดีกว่านมวัว ดังนั้น ทำให้ความอยากกินอาหารระหว่างวันน้อยลงด้วย

จากประโยชน์ และคุณสมบัติแน่นขนาดนี้ แถมยังช่วยป้องกันอาการท้องอืด เเน่นท้องอีกด้วย จึงไม่เเปลกใจเลยว่าทำไม นมแพะ จึงกลายเป็นเครื่องดื่มนมสุขภาพที่กำลังมาเเรง เเละเป็นที่นิยมอยู่ในตอนนี้.

ที่มา – https://www.pohchae.com/2020/11/18/goat-milk/