เลี้ยงสัตว์ » การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อและใต้ผิวหนังแพะ-วัว..และการให้ยาแก่สัตว์เลี้ยง

การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อและใต้ผิวหนังแพะ-วัว..และการให้ยาแก่สัตว์เลี้ยง

13 เมษายน 2018
6978   0

 1 ml มีค่าเท่ากับ 1 cc.

[ml, cc, g เป็นหน่วยการตวงวัดคนละระบบ แต่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้โดยใช้ความหนาแน่นหรือค่าความถ่วงจำเพาะมาช่วยเปรียบเทียบข้าม  หน่วย ml ( มล. หรือ มิลลิลิตร) และ cc (ซีซี ย่อมาจาก cubic centimeters หรือลูกบาศก์เซนติเมตร) ]

ในต่างประเทศวัวเนื้อเขาจะฉีดยาแค่ตรงคอครับ จะไม่ฉีดเข้าสะโพกด้านหลังเลย

.

 

▲ยาที่ฉีดเข้าใต้ผิวหนังมีน้อยมาก เช่นยาถ่ายพยาธิและปรสิตไอเวอร์เม็กติน…ส่วนยาอื่นๆเช่นยาบำรุง, ยารักษาไข้, ยาแก้อักเสบฯ ..มักฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

วิธีการให้ยาแก่แพะ
สามารถทำได้หลายวิธี แต่ต้องเลือกการให้ยาให้เหมาะสมด้วย ดังนี้

1. การให้ยาโดยการฉีด แบ่งได้เป็น

– การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อแพะ การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อมีผลทำให้การเริ่มต้นออกฤทธิ์ของยาช้ากว่าการฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ ระยะเวลาที่ให้ผลในการรักษานานกว่าการฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ และระยะเวลาที่ให้ผลในการรักษาอาจจะเปลี่ยนให้ยาวนานขึ้น โดยการเลือกชนิดของยา หรือการเปลี่ยนยาให้อยู่ในรูปเฉพาะ หรือโดยการเพิ่มกลุ่มอินทรีย์เข้าไปในโมเลกุลของยา

ตำแหน่งที่นิยมฉีดเข้ากล้ามเนื้อแพะ ได้แก่ บริเวณแผงคอ กล้ามเนื้อขา (กล้ามเนื้อด้านหน้าของขาหลัง) กล้ามเนื้อขา (ขาด้านในใกล้ผนังท้อง)
ยาที่นิยมฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ วิตามิน ฮอร์โมน ในการฉีดใช้เข็มขนาด เบอร์ 20 ถึง 18 ยาว 1 นิ้ว ซึ่งเข็มต้องคมและสะอาด ก่อนฉีดยาให้ทาบริเวณที่จะฉีดด้วยแอลกอฮอล์ และเมื่อแทงเข็มเข้าไปแล้วก่อนเดินยาให้ดึงก้านกระบอกฉีดยาขึ้นเล็กน้อยดูว่ามีเลือดไหลเข้าในกระบอกฉีดยาหรือไม่ ถ้าไม่มีจึงเดินยา ถ้ามี แสดงว่าแทงเข็มโดนเส้นเลือดให้ดึงเข็มเปลี่ยนตำแหน่งฉีดใหม่

– การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังแพะ ผลการฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังมีผลทำให้การเริ่มต้นออกฤทธิ์ของยาจะเกิดขึ้นช้า ๆ และระยะเวลาที่ให้ผลในการรักษาอาจจะนานกว่าการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อเล็กน้อย เนื่องจากการดูดซึมของยาอาจจะเป็นไปช้า ๆ

ตำแหน่งที่นิยมฉีด ได้แก่ บริเวณแผงคอ บริเวณหลังไหล่

ยาที่นิยมฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ได้แก่ วัคซีน ยาบำรุง ในการฉีดใช้เข็มขนาด เบอร์ 22 ถึง 20 ยาว 3 ส่วน 4 นิ้ว (หรือขนาดความยาว 1 นิ้ว ก็ใช้ได้) ก่อนฉีดต้องเช็ดบริเวณจะฉีดด้วยแอลกอฮอล์ ใช้มือดึงหนังขึ้นแล้วแทงเข็มเข้าไปใต้ผิวหนัง เดินยาแล้วใช้มือคลึงบริเณที่ฉีดยา เพื่อให้ยากระจายได้ดีและเร็วขึ้น

– การฉีดยาเข้าเส้นเลือดแพะ การฉีดเข้าเส้นเลือดมีผลทำให้ระดับยาเริ่มต้นในเลือดสูงหลังจากฉีดยา การเริ่มต้นออกฤทธิ์ของยาอย่างรวดเร็วที่สุด ระยะเวลาที่ให้ผลการรักษาสั้น

ตำแหน่งที่นิยมฉีด ได้แก่ เส้นเลือดดำใหญ่ที่คอทั้งสองเส้น ในการฉีดใช้เข็มขนาด เบอร์ 22 ถึง 20 ก่อนฉีดควรบังคับจับแพะให้นิ่งโดยใช้ขาทั้งสองคล่อมตัวแพะ จับหัวแพะเงยขึ้นบิดลำคอเล็กน้อย แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือกดบริเวณร่องคอด้านล่าง จะเห็นเส้นเลือดดำโป่งขึ้นมา หลังจากนั้นเช็ดบริเวณที่จะฉีดด้วยแอลกอฮอล์ แล้วแทงเข็มให้ทำมุมประมาณ 30-45 องศา กับลำคอแพะ ค่อย ๆ เดินยาจนหมดกระบอกฉีดยา แล้วถอนเข็มออก เช็ดด้วยแอลกอฮอล์อีกครั้ง

2. การให้ยาทางปากแก่แพะ ผลการให้ยาทางปากจะทำให้การเริ่มต้นออกฤทธิ์ของยาช้ากว่าการให้ยาโดยการฉีด ระยะที่ให้ผลการรักษานานกว่า ขนาดของยาที่ใช้ในการรักษามากกว่าการให้ยาโดยการฉีด ในการให้ยาทางปากปลอดภัยกว่าการฉีดเพราะดูดซึมช้ากว่า และมีข้อจำกัดในกรณีสัตว์อาเจียน ท้องเสีย และยาถูกทำลายด้วยน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร การให้ยาทางปากจะลดการดูดซึมของยาหรือการออกฤทธิ์ของยา

ตำแหน่งที่ให้ยาคือ บริเวณโคนลิ้น

ยาที่นิยมให้ทางปาก ได้แก่ ยาถ่ายพยาธิ ยาลดไข้ ก่อนให้ยาต้องบังคับให้แพะอยู่นิ่ง ๆ แหงนหน้าขึ้นเล็กน้อย แต่จมูกต้องไม่อยู่สูงกว่าระดับลูกตาของแพะ เพื่อป้องกันกรณียาน้ำไม่สำลักเข้าปอด ขั้นตอนเริ่มต้นด้วยการดึงลิ้นแพะออกด้านข้างแล้วสอดยาวางบนโคนลิ้นและปล่อยให้แพะแ กะกลืนยาลงไป กรณียาน้ำให้สอดหลอดหรือกระบอกฉีดยาเข้าไปบนโคนลิ้นแล้วค่อย ๆ ปล่อยยาไหลลงไป

3. การให้ยาทางช่องคลอด ใช้ในกรณีที่ช่องคลอดหรือมดลูกมีบาดแผล หรืออักเสบ เช่น กรณีมดลูกอักเสบทำได้โดยการสอดเม็ดยาโดยใช้เครื่องสอดเม็ดยา กรณีมดลูกอักเสบนอกจากสอดยาแล้วให้ล้างช่องคลอดด้วยยาฆ่าเชื้อ หรือยาเหลืองล้าง โดยใช้สายยางสอดเข้าไปแล้วใช้ไซริงจ์ดูดยาต่อสายยางฉีดเข้าไป โดยให้สายยางเป็นตัวช่วย จากนั้นสอดยาเข้าไป จะช่วยให้มดลูกอักเสบหายเร็วยิ่งขึ้น

4. การให้ยาทางทวารหนัก บางครั้งในกรณีที่เกิดโรคบริเวณส่วนปลายของระบบทางเดินอาหาร เช่น มีแผลอักเสบ มีอุจจาระเป็นก้อนแข็ง สัตว์ไม่สามารถถ่ายได้สะดวก เช่น กรณีท้องผูก ไม่ถ่ายก็ให้ยาสวนทวารหนัก ซึ่งเป็นตัวยาหล่อลื่นและระคายเคืองน้อย เช่น น้ำสบู่หรือกลีเซอรีน

กรณีที่ทวารหนักมีแผล หรือมีแผลอักเสบสามารถให้ยาเม็ดได้เช่นกัน เนื่องจากอุณหภูมิของทวารหนักสูงสามารถละลายยาได้ .


เพิ่มเติม

ตำแหน่งบนตัวสัตว์ที่จะใช้ฉีดวัคซีน
โค กระบือ แพะ แกะ
1. การฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ จะทำบริเวณกล้ามเนื้อหนาๆ มี 2 บริเวณ คือ
1.1 บริเวณที่เป็นสามเหลี่ยมที่คอ ด้านหน้าซ้ายหรือขวาของขาหน้า
1.2 บริเวณลาดบั้นท้ายสะโพก ด้านซ้ายหรือขวา
2. การฉีดวัคซีนเข้าใต้ผิวหนัง จะทำบริเวณที่มีการเคลื่อนไหวมากๆ มี 2 บริเวณ คือ
2.1 บริเวณที่เป็นสามเหลี่ยมที่คอ ด้านหน้าซ้ายหรือขวาของขาหน้า
2.2 บริเวณด้านหลังของขาหน้า ด้านซ้ายหรือขวา

สุกร
1. การฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ
1.1 บริเวณคอหลังใบหู แทงตั้งฉากกับบริเวณที่ฉีด
1.2 บริเวณด้านในของโคนขาหลัง วิธีนี้ใช้กับสุกรเล็ก
2. การฉีดวัคซีนเข้าใต้ผิวหนัง บริเวณเดียวกับ 1.1 แต่แทงปลายเข็มลงล่าง
3. ใช้เข็มเบอร์ 20 ยาว 1 นิ้ว

สัตว์ปีก
1. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ใช้เข็มเบอร์ 21 ยาวครึ่งนิ้ว
1.1 บริเวณกล้ามเนื้อหน้าอก
1.2 บริเวณโคนขาหลัง แต่ต้องระวังเนื่องจากกล้ามเนื้อขาหลังมีเส้นประสาทใหญ่พาดผ่าน
2. ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง : บริเวณหลังคอใช้เข็มเบอร์ 21 ยาวครึ่งนิ้ว
3. หยอดตา : ดึงหนังตาล่าง หยดวัคซีนด้วยหลอดหยดลงที่ตา
4. หยอดจมูก : ใช้นิ้วมือปิดจมูกข้างหนึ่งแล้วหยอดวัคซีนที่รูจมูกข้างที่เหลือ เมื่อไก่สูดวัคซีนแล้วจึงปล่อยนิ้ว
5. แทงปีก : ใช้เข็มรูปส้อมจุ่มวัคซีนในขวด แทงที่พังผืดของปีกระหว่างเส้นเลือด

อ่าน..

-รู้จัก Ivermectin ยากำจัดพยาธิ-ปรสิต ที่นิยมใช้กันมากที่สุด

-ยาควรมีประจำคอก..กลุ่มยาถ่ายพยาธิแพะแบบฉีด+กิน

“บอระเพ็ด”ยอดสมุนไพร-ป้องกันหวัด,ช่วยถ่ายพยาธิ,ยาอายุวัฒนะ

ขอบคุณ www.108kaset.com/goat/index.php/topic,23

https://farmthestart.wordpress.com/tag/herd-health/
https://livestocklovely.blogspot.com/2015/04/1_27
https://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php