เลี้ยงสัตว์ » คลิป..วิธีการทำหญ้าหมักสำหรับวัว-แพะ TY

คลิป..วิธีการทำหญ้าหมักสำหรับวัว-แพะ TY

27 เมษายน 2018
9492   0

http://bit.ly/2HxjQNz

สูตร1

-ตัดหญ้าเนเปียร์ให้สั้นพอที่แพะจะกินได้ จากนั้นนำไปอัดให้แน่นในถังหรือถุงดำ  แล้วดูดอากาศออกด้วยเครื่องดูดฝุ่น ..มัดหรือปิดฝาอย่าให้อากาศเข้าได้ ..ประมาณ21วัน จึงนำไปเลี้ยงแพะได้.

.

สูตร2

วัสดุ-อุปกรณ์ :
1.หญ้าเนเปียร์ จำนวน 100 กก.
2.กากน้ำตาล จำนวน 5 กก.
3.น้ำ ปริมาณ 10-20 ลิตร
4ถังหมัก ขนาด 200 ลิตร
5.เครื่องบด

.

วิธีการหมักหญ้า
1. ตัดหญ้าเนเปียร์มาประมาณ100 ก.ก.
2. นำหญ้าเนเปียร์ที่ได้มาทำการสับละเอียดด้วยเครื่องบดสับ
3. นำหญ้าที่ตัดเป็นชิ้นเล็กๆละเอียดแล้วไปใส่ในถังขนาด200 ลิตรจะได้น้ำหนักหญ้าประมาณ 100ก.ก. ..อัดให้แน่น
4. ใส่กากน้ำตาล 5% หรือประมาณ5ก.ก.
5. เติมน้ำลงไปในถัง ประมาณ10-20 ลิตร(ขึ้นอยู่กับความอวบน้ำของหญ้า-อวบมากใช้น้ำน้อย)
6. คนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน  นำไปราดบนหญ้าเนเปียร์ในถัง

 

บรรจุหญ้าสดที่หั่นแล้วลงในถุงพลาสติก หรือถัง ..อัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศออกให้หมด ในขณะที่บรรจุหญ้าลงในถุง ให้ใส่กากน้ำตาล เกลือ ลงไปด้วย โดยแบ่งใส่เป็นชั้นๆ เพื่อช่วยให้การหมักดียิ่งขึ้น

7. ปิดฝาถัง อย่าให้อากาศเข้าได้ ..ทิ้งไว้นานประมาณ21วันถึงจะใช้ได้
8. เมื่อจะนำมาให้วัว-แพะกิน ควรผสมอาหารโปรตีนสูงลงไปด้วย อาทิ กากถั่วเหลือง กากปาล์ม ฯ  จะทำให้วัว-แพะ อ้วน โตเร็วยิ่งขึ้น


การทำหญ้าหมัก  หมายถึง พืชอาหารสัตว์ต่าง ๆ ที่นำมาเก็บถนอมไว้ในสภาพอวบ ในภาชนะปิดที่ป้องกัน อากาศจากภายนอกจนเกิดการหมัก ซึ่งจะช่วยทำให้คุณค่า ทางอาหารของพืชเหล่านั้นคงอยู่ สามารถถนอมไว้ใช้ได้

ในช่วงที่ขาดแคลนหญ้าสด พืชอาหารสัตว์ที่นำมาใช้ในการ หมักได้มาจากพืชอาหารสัตว์ที่มีอยู่มากมายในช่วงฤดูฝน ซึ่งเจริญงอกงามดี และมีปริมาณมากเกินพอสำหรับ เลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ยังไม่สามารถเก็บถนอมในการทำ หญ้าแห้งได้

ข้อควรระวังในการหมักหญ้า

1.การอัดหญ้าลงในภาชนะที่ใช้หมักต้องอัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศที่มีอยู่ในภาชนะออกให้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การหมักเกิดได้ดี และหญ้าหมักเสียน้อยที่สุด

2.การปิดภาชนะที่บรรจุต้องทำให้มิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศจากภายนอกเข้าไปในกองหญ้าหมัก

3.เมื่อเปิดภาชนะควรใช้ให้หมดในระยะเวลาอันสั้น และเปิดภาชนะอย่าให้กว้างมาก เพื่อช่วยให้หญ้าหมักเสื่อมช้าลง

4.หญ้าที่นำมาใช้หมักไม่ควรจะมีความชื้นสูงมากเพราะจะทำให้เกิดน้ำในภาชนะหมักมากเกินไป และหญ้าหมักเก็บได้ไม่นาน

5.ระมัดระวังหนูหรือแมลงสาบที่จะมากัดภาชนะหรือพลาสติกที่ปิดให้เป็นรู อากาศจะเข้าไปทำให้หญ้าหมักเสียได้

 

ข้อเสียของหญ้าหมัก

1. ต้องมีความรู้ความชำนาญในการทำหญ้าหมัก

2. เปลืองแรงงานและลงทุนสูง

3. ขาดวิตามินดี

4. เป็นราเสียหายง่ายเมื่อเปิดถังใช้แล้วควรรีบใช้ให้หมด

5.หญ้าหมักมีฤทธิ์เป็นกรดจึงทำลายภาชนะที่เป็นโลหะเช่นถังหมัก หรือรางอาหาร เพราะฉะนั้นต้องใช้ภาชนะที่เป็นพลาสติกเท่านั้น

-หลักสำคัญของการหมัก ต้องไม่ให้อากาศรั่วเข้าด้านในถัง

-การหั่นหญ้าและการอัดหญ้าให้แน่นเป็นขั้นตอนสำคัญมาก ถ้าหั่นหญ้ายาวเกินไป ทำให้การอัดไม่แน่น ไล่อากาศออกไม่หมด อากาศเข้าออกได้จะทำให้เชื้อราเจริญเติบโต และหญ้าจะเน่ากลายเป็นปุ๋ยหมัก

-สำหรับฟาร์มใหญ่ ควรซื้อถังสีฟ้าที่มีคลิปรัดแล้วล็อค จะสนิทกว่า
-หากใช้ถุงดำคลุมแล้วใช้ยางรัด มันไม่ค่อยจะสนิท ถ้ารั่ว จะใช้เป็นอาหารสัตว์ไม่ได้เพราะมีราขึ้นจะมีพิษต่อสัตว์ได้
-การหมัก บางคนใช้เกลือแกงผสมน้ำราดก็ได้.. บางคนก็ใส่ปุ๋ยยูเรียประมาณ คร่ึ่งช้อน/ถุง


-วิธีไล่อากาศออก ถ้าเป็นถุงดำ/ถุงใส ใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดอากาศออกได้เลย
แล้วใช้ยางในรถจักรยาน ตัดเป็นเส้นเล็กขนาด 2 ซ.ม. รัดได้ดี
แต่ถ้าเป็นถังสีฟ้า ให้ใช้คนตัวอ้วน ๆ ขึ้นเหยียบที่ละชั้นจะแน่นปึ๊ก
และอย่าลืมล๊อคปิดฝาให้สนิทด้วยการล็อคคลิปด้วย..

-สำหรับฟาร์มใหญ่ ควรใช้วิธีก่ออิฐแล้วฉาบทำเป็นเหมือนบ่อเลี้ยงกบเลี้ยงปลา
จะได้ปริมาณเยอะ ๆ และประหยัดต้นทุนระยะยาว

-หญ้าหมักที่ดีควรมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นผักดอง หรือมะม่วงดอง สีเขียวอ่อน ไม่ดำคล้ำ มีค่าความเป็นกรดประมาณ 4.3-4.4 คุณค่าอาหารจากหญ้าหมักที่ทำด้วยข้าวฟ่าง คิดเป็นร้อยละ ดังนี้..

ความชื้น 70.4

โปรตีน 2.8

ไขมัน 1.3

กาก 8.7

แป้ง 14.7

เถ้า 2.1

และความเป็นกรด 4.5
เนื่องจากหญ้าหมักมีรสเปรี้ยวกว่าอาหารอื่นๆ การใช้เลี้ยงโค-แพะ จึงมีขีดจำกัด โดยปกติแนะนำให้ใช้หญ้าหมัก 3-3.5 กิโลกรัมต่อน้ำหนักโค-แพะ 100 กิโลกรัม ใส่รางให้กินภายหลังให้อาหารข้นแล้ว

-หมักไว้ 3-4 สัปดาห์ หญ้าเหล่านั้นจะกลายเป็นหญ้าหมัก นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้
-กรณีเริ่มใช้หญ้าหมักเลี้ยง ควรแบ่งให้วันละน้อยและเพิ่มขึ้นเมื่อสัตว์เคยชิน

ขอขอบคุณ

http://www.legendnews.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539365556&Ntype=88

http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php

http://board.kobalnews.com/view.php?category=&wb_id=122

http://pvlo-pyu.dld.go.th/index.php/en/2014-08-15-16-41-23/104-2

การใช้หญ้าเนเปียร์เป็นอาหารสัตว์เสริมอาหารหลัก..ได้ผลดี(1)