เลี้ยงสัตว์ » ความต้องการอาหารของแพะ และคุณค่าโปรตีน,หญ้า(ตอนที่ 1)

ความต้องการอาหารของแพะ และคุณค่าโปรตีน,หญ้า(ตอนที่ 1)

26 มิถุนายน 2018
12642   0

ความต้องการอาหารของแพะ และคุณค่าโปรตีน,หญ้า(ตอนที่ 1)

ความต้องการอาหารของแพะ

แพะเป็นสัตว์กระเพาะรวม (Ruminant) เช่นเดียวกับโค กระบือ และแกะจึงสามารถใช้หญ้าและอาหาร
หยาบต่างๆ ได้เช่นเดียวกัน แพะมีความสามารถหาอาหารกินได้เก่งเป็นพิเศษ เช่น หากินใบไม้ตามพุ่มไม้ต่างๆ ได้
เป็นอย่างดี และยังมีความสามารถกินอาหารได้มากคิดเป็นน้้าหนักวัตถุอาหารแห้งถึง 2 – 5 %ของ
น้้าหนักตัว ซึ่งก็เป็นการเพียงพอ แต่ควรจะมีอาหารแร่ธาตุเสริมให้บ้างเล็กน้อย

ในทางปฏิบัตินั้นจะไม่ให้แพะกินอาหารหยาบสดล้วนๆ ตลอดวัน แต่จะจัดอาหารหยาบแห้ง เช่น หญ้าแห้งฟางแห้ง
ต้นข้าวฟางแห้ง หรือต้นข้าวโพดแห้งสับเป็นท่อนเล็กๆ สั้นๆ  ให้แพะกินส่วนหนึ่งเสียก่อน ก่อนที่จะปล่อยลงเลี้ยงในแปลงหรือนำหญ้าสดให้กิน ทั้งนี้เพื่อป้องกันโรคท้องอืด ท้องร่วงหรือท้องเสีย เพราะแพะเป็นโรคท้องอืดเนื่องจากอาหารสดได้ง่ายมาก


ในฤดูแล้งขาดแคลนหญ้าสด อาจจะให้อาหารผสม คือ อาหารข้นช่วยบ้าง การให้อาหารข้นเสริมผู้เลี้ยง
ต้องระมัดระวัง คือ จัดให้ตามความจำเป็น เพื่อให้สัตว์ได้รับโภชนะพอตามความต้องการเท่านั้น เช่น แพะรีดนม
ต้องการโภชนะเพื่อการด้ารงชีพและเพื่อการผลิตน้้านม หากให้อาหารกินมากเกินไปจะทำให้ แพะอ้วนง่าย
และมักจะผสมพันธุ์ไม่ค่อยติด และจะไม่มีแพะได้รีดนมในฤดูถัดไปได้

อาหารข้นหรืออาหารผสม ..โดยทั่วไปจะใช้
เมล็ดธัญพืช ซึ่งหาได้ง่าย เช่น ปลายข้าว ข้าวโพด ร้าละเอียด พวกถั่วต่างๆ เช่น กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง เมล็ด
ถั่วเขียว มันเส้น  ใบกระถินป่น ฯลฯ นำมาผสมโดยคิดค้านวณสูตรอาหาร เช่น อาหารผสมส้าหรับแพะพ่อพันธุ์หรือ
แม่พันธุ์ที่ไม่ให้นม มีโปรตีนประมาณ 10-12 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแพะรุ่นก้าลังเติบโตและแพะรีดนม อาหารควรมี
โปรตีน 14 – 20 เปอร์เซ็นต์เป็นต้น

ความต้องการอาหารของแพะ

1. ความต้องการน้้า
แพะต้องการน้้าสะอาดเพื่อการเจริญเติบโต และการสร้างขน แพะเนื้อต้องการน้้า
น้อยกว่าแพะนม
และแพะมีความสามารถในการอดน้้าได้เป็นเวลานาน โดยการใช้น้้าอย่างมีประสิทธิภาพ ในตอน
กลางวันแพะของไทย และมาเลเซียจะกินน้้าประมาณ 550 ซีซี. ซึ่งมากเป็นสี่เท่าของปริมาณน้้าที่กินในตอน
กลางคืน (135 ซีซี.)
…แพะเนื้อพันธุ์กัตจังของมาเลเซียที่เลี้ยงในคอกจะกินน้้าวันละประมาณ 680 ซีซี. หากปล่อยให้
แพะออกหากินในแปลงหญ้าแพะจะต้องการน้้าเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2 – 3 เท่า   แพะจำเป็นจะต้องได้รับน้้าอย่าง
เพียงพอ โดยเฉพาะเมื่อแพะต้องกินอาหารหยาบแห้ง หรืออยู่ในวันที่อากาศร้อนจัด โดยทั่วๆไป แพะควรได้รับน้้า
4 – 5 ส่วนต่อวัตถุแห้งที่กิน 1 ส่วน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยควรจะจัดน้้าให้แพะตัวละ 1 – 2 ลิตรต่อวัน

2. การกินวัตถุแห้ง (dry matter intake: DMI) ปริมาณการกินอาหารของแพะขึ้นอยู่กับพันธุ์ (เนื้อหรือ
นม)
แพะนมในเขตร้อนจะกินวัตถุแห้งเพียง 4 – 5 เปอร์เซ็นต์ของน้้าหนักตัว
แพะเนื้อในเขตร้อนจะกินวัตถุแห้ง ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ของน้้าหนักตัว
และพบว่าแพะพันธุ์กัตจังกินวัตถุแห้ง 2.2 – 2.8 เปอร์เซ็นต์ของน้้าหนักตัว

3. ความต้องการพลังงาน โปรตีนและโภชนะอื่นๆ ในแพะ
แพะต้องการพลังงานโปรตีน เพื่อการด้ารงชีพและการเจริญเติบโต การผลิตนม
แพะจำเป็นต้องได้รับแร่ธาตุและวิตามินสำหรับการด้ารงชีพและการเจริญเติบโตตามความ
ต้องการที่ก้าหนด แต่พืชอาหารสัตว์โดยทั่วไปมักจะมีแร่ธาตุอยู่ในระดับต่ำ หรือขาดแร่ธาตุที่จำเป็นบางชนิด
สำหรับแพะเสมอ …โดยเฉพาะการขาดธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส แพะที่ขาดธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส จะทำให้การเจริญเติบโตลดลงกว่าปกติ กระดูกไม่แข็งแรง หรืออ่อนแอต่อโรคบางชนิด ดังนั้นจึงควรให้แพะได้รับธาตุชนิดนี้บ้าง โดยการเติมลงไปในอาหารแหล่งที่มาของแร่ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส คือ กระดูกป่น เหลือกหอยป่น เนื้อป่น และเกลือแกง เป็นต้น
สำหรับวิตามิน แพะจะได้รับอย่างเพียงพอจากอาหารที่กินอยู่ในยามปกติหรือแพะอาจสังเคราะห์เองได้ แต่ในบางครั้งแพะอาจขาดบ้าง ผู้เลี้ยงจึงต้องจัดหาวิตามินให้แพะกินโดยเติมลงในสูตรอาหาร
เช่น เติมน้้ามันตับปลา วิตามินเอ บี ดีและ อี ..หรือหาอาหารก้อนเกลือแร่ให้แพะเลียกินเองด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้
แพะขาดวิตามินพวกนี้..

โดยสรุป แพะมีความต้องการโภชนะดังต่อไปนี้

1. น้้า ประมาณวันละ 500 – 1000 ซีซี

2. วัตถุแห้ง ตามน้้าหนักตัวและอัตราความเจริญเติบโต การอุ้มท้องหรือการให้นม
ซึ่งโดยทั่วๆ ไป  แพะที่หนัก 10 – 30 กิโลกรัมจะต้องการวัตถุแห้งอยู่ระหว่าง 400– 1,200 กรัม/วันโดย แพะ
น้้าหนักมากกำลังเติบโต หรือก้าลังให้นม ย่อมต้องการวัตถุแห้งมากขึ้นด้วย

3. พลังงาน ซึ่งวัดในรูปของโภชนะย่อยได้รวม (TDN) ส้าหรับแพะที่หนัก 10 – 30 กิโลกรัมจะอยู่ระหว่าง
0.26 – 00.80 กก./วัน

4. โปรตีนที่ย่อยได้สำหรับแพะหนัก 10 – 30 กิโลกรัม อยู่ระหว่าง 23 – 70 กรัม/วัน

5. แคลเซียม สำหรับแพะหนัก 10 – 30 กิโลกรัม อยู่ระหว่าง 0.9 – 4.0 กรัม/วัน และฟอสฟอรัสอยู่
ระหว่าง 0.7 – 2.8 กรัม/วัน

6. วิตามิน เอ สำหรับแพะหนัก 10 – 30 กิโลกรัม อยู่ระหว่าง 400 – 4,700 หน่วยสากล/วัน และวิตามิน
ดีอยู่ระหว่าง 85 – 950 หน่วยสากล/วัน

พืชอาหารสำหรับแพะ

อาหารหยาบ ถือเป็นอาหารหลักที่สำคัญของสัตว์กระเพาะรวม โดยเป็นอาหารที่ให้เยื่อใยสูงเนื่องจากมี
แหล่งที่มาจากพืชอาหารสัตว์เช่น หญ้าสด หญ้าแห้ง พืชตระกูลถั่ว ใบไม้พืชผักต่างๆ ผลพลอยได้หรือเศษเหลือ
จากการเกษตร เช่น ฟางข้าว เปลือกข้าวโพดฟักอ่อน ต้นข้าวโพดหลังจากเก็บฝัก เปลือกสับปะรด เปลือกถั่ว
เหลืองและ เปลือกถั่วลิสง รวมถึงอาหารหยาบที่เกษตรกรจัดทำขึ้นเอง เช่น หญ้าหมัก เป็นต้น ในการเลี้ยงแพะมี
แหล่งที่มาของพืชอาหารสัตว์ที่ใช้ในการเลี้ยงแพะมีอยู่ 2 แหล่ง คือ..

– การปล่อยแพะเข้าแทะเล็มในแปลงหญ้าธรรมชาติซึ่งเป็นวิธีที่นิยมของเกษตรกรที่เลี้ยง แพะแบบปล่อย
เลี้ยงเป็นฝูงให้หากินเอง แต่แปลงหญ้าแบบนี้ถือว่ามีคุณภาพต่้า คุณค่าทางโภชนะไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต
ของแพะ จึงมักพบว่าแพะให้ลูกน้อยและมีอัตราการตายสูง โตช้า (วันละ 13 กรัม/วัน) เมื่อเทียบกับแพะในกลุ่มที่
ได้รับอาหารคุณภาพดีจะมีอัตราการเจริญเติบโตวันละ 50-100 กรัม/วัน

– แปลงหญ้าปลูก ซึ่งเป็นแปลงหญ้าที่เกษตรกรจัดหาพื้นที่ในการปลูกหญ้าขึ้นเองทำให้มีความสะดวกใน
การควบคุมคุณภาพของแปลงหญ้าได้ โดยการเลือกชนิดของหญ้าที่มีคุณค่า มีความน่ากินสูง เช่น หญ้าเนเปียร์
หญ้ากินนีหญ้าขน หญ้าซิกแนล เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรยังสามารถเพิ่มคุณค่าของแปลงหญ้าได้โดยการปลูก
หญ้าผสมกับการปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วสไตโล ถั่วลาย เป็นต้น รวมถึงควรจะมีการจัดการแปลงหญ้าให้มีอายุ
การใช้งานนาน โดยการจัดพื้นที่ในการลงแทะเล็มของแพะให้เป็นสัดส่วน หรือจะถนอม แปลงหญ้าไว้โดยการตัด
หญ้ามาให้แพะกินในคอกก็ได้เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าแพะเป็นสัตว์ที่มีความสามารถในการแทะเล็มเก่งและจะ
กินหญ้าได้เกือบทั้งหมดทุกส่วนของต้นหญ้าและต้นไม้อื่นๆ ทำให้ต้นหญ้าและแปลงหญ้าที่ปล่อยให้แพะลงแทะ
เล็มนั้นอาจจะมีอายุการใช้งานสั้น

ก. พืชตระกูลหญ้า เป็นพวกที่มีลำต้นและใบอ่อนนิ่ม ต้นไม่โตนัก หญ้าพันธุ์พื้นเมือง หรือหญ้าตามธรรมชาติหญ้าพื้นเมืองมีโปรตีนตั้งแต่ 3-14 เปอร์เซ็นต์ (วินัย, 2542) ซึ่งถือว่าต่ำเมื่อเมื่อเปรียบเทียบกับหญ้าพันธุ์ดีการปลูกหญ้าพันธุ์ดีเลี้ยงสัตว์และจัดการแปลงหญ้าอย่างถูกต้องทำให้เกษตรกรสามารถประหยัดพื้นที่ในการเลี้ยงสัตว์ได้ และสัตว์ก็จะมีสุขภาพดีไปด้วย หญ้าอาหารสัตว์พันธุ์ดีที่ได้รับความสนใจจากเกษตรผู้เลี้ยงแพะและแกะทั่วไป ได้แก่..

1. หญ้าขน (Brachiaria mutica) เป็นหญ้าที่มีอายุหลายปีลักษณะลำต้นเป็นแบบกึ่งเลื้อย ต้นสูง
ประมาณ 1 เมตร ลำต้นทอดขนานไปกับพื้นดิน มีรากขึ้นตามข้อ มีระบบรากเป็นรากฝอย และตื้น ไม่ติดเมล็ด
ขยายพันธุ์ด้วยเหง้าและล้าต้น สามารถเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตสูงในที่มีฝนชุก ทนต่อสภาพพื้นที่ชื้นแฉะ
หรือมีน้้าท่วมขังการปลูกใช้ระยะปลูก 50×50 ซม. อาจปลูกโดยหว่านท่อนพันธุ์แล้วไถกลบหรือปลูกแบบปักด้าข้าว
หญ้าขนเป็นหญ้าที่เจริญเติบโตเร็ว เหมาะสำหรับบริเวณพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวโดยไม่ใส่ปุ๋ยจะได้ผลผลิต 3,100
กิโลกรัมต่อไร่ และผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 4,370 กิโลกรัม ต่อไร่ เมื่อใส่ปุ๋ยยูเรีย 40 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก 1
ตัน/ไร่ ปริมาณโปรตีนเฉลี่ยประมาณ 7.2 เปอร์เซ็นต์


2. หญ้าเนเปียร์ ปัจจุบันมีหลายสายพันธุ์คือ เนเปียร์ธรรมดา (Pennisetum purpureum) เนเปียร์
แคระ (P. purpureum cv.Mott.) เนเปียร์ยักษ์ (King grass; P. purpureum cv.Kinggrass) เนเปียร์ใต้หวัน
หรือเนเปียร์ปากช่อง (P. purpureum xPennisetum americanum) หญ้าเนเปียร์มีทรงต้นเป็นกอค่อนข้างตั้งตรง
คลำยอ้อย หญ้าเนเปียร์แคระมีลักษณะทรงต้นเป็นพุ่มค่อนข้างตั้ง (bunch type) สูงเพียง 1.60 เมตรแต่มี
สัดส่วนของใบต่อต้น และแตกกอดีส่วนหญ้าเนเปียร์ธรรมดาสูงประมาณ 3 เมตร และหญ้าเนเปียร์ยักษ์เมื่อโต
เต็มที่จะสูงประมาณ 3.80 เมตร

หญ้าเนเปียร์ใต้หวัน เป็นหญ้าข้ามปี ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงสูง 2.5-3.5 เมตร และเมื่อออกดอกมีความสูง
ถึงปลายช่อดอก 3.5-4.5 เมตร ให้ผลผลิตน้ำหนักสด 12-15 ตัน/ไร่/รอบ 60 วัน และน้ำหนักแห้ง 2-2.5 ตัน/ไร่/รอบ

หญ้าเนเปียร์สายพันธุ์ต่าง ๆ มีเหง้า (rhizome) อยู่ใต้ดิน เป็นหญ้าอายุหลายปี เจริญเติบโตได้ในดินหลาย
ชนิดที่มีการระบายน้ำค่อนข้างดี ตอบสนองต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำได้ดี เหมาะสำหรับปลูกบริเวณ
พื้นที่ที่มีฝนชุก ทนแล้งได้พอสมควร ไม่ทนน้ำท่วมขังและไม่ทนต่อการเหยียบย่ำของสัตว์  ติดเมล็ดน้อยและมีความงอกต่ำ จึงต้องปลูกขยายพันธุ์ด้วยท่อนพันธุ์2–3 ท่อน ต่อหลุม ระยะระหว่างหลุม 75×75 เซนติเมตร ต้นพันธุ์
หญ้าเนเปียร์1 ไร่ สามารถปลูกขยายพันธุ์ในพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ การบำรุงรักษา ใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 40 กิโลกรัม/
ไร่/ปีโดยใส่ครึ่งหนึ่งก่อนปลูกหญ้า ส่วนที่เหลือแบ่งใส่ 2 ครั้ง หลังจากตัดหญ้าครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 สำหรับในพื้น
ที่ดินร่วนปนทรายถึงดินทราย ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 40–80 กิโลกรัม/ไร่/ปี  นอกจากนี้ยัง
จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมเป็นปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูกด้วย ควรตัดหญ้าเลี้ยงสัตว์ครั้งแรก
หลังปลูก 60 วัน และตัดครั้งต่อไปทุก ๆ 30 วัน จะได้ผลผลิตน้ำหนักแห้งประมาณ 2–4.2 ตันต่อไร่/ปี  มีโปรตีน
ประมาณ 8–10 เปอร์เซ็นต์


3. หญ้ารูซี่ (Ruzi Grass) หญ้ารูซี่เป็นหญ้าที่มีอายุหลายปีเจริญเติบโตเร็ว แตกกอดีใบอ่อนนุ่มสัตว์ชอบ
กิน ลักษณะลำต้นกึ่งตั้งกึ่งเลื้อยมีรากตามข้อ ขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ดและลำต้น เนื่องจากติดเมล็ดได้ดีมีความงอก
สูง นิยมขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดจัดเป็นพืชวันสั้น เจริญเติบโตได้ดีในดินหลายชนิด ทั้งดินอุดมสมบูรณ์ในที่ดอนน้ำไม่
ขัง และในดินที่มีธาตุอาหารค่อนข้างต่ำ ไม่ทนต่อสภาพน้ำขัง ไม่ทนต่อ การเหยียบย่ำอย่างรุนแรง
หญ้ารูซี่ตอบสนองต่อปุ๋ยได้ดี กล่าวคือให้ผลผลิต 2,584 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อใส่ปุ๋ยสูตร 12–24–12 อัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่
ถ้าปลูกในดินทรายชุดโคราชได้ผลผลิต 3,400 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อใส่ปุ๋ยยูเรีย 140 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปีมีปริมาณ
โปรตีนประมาณ 8.2 เปอร์เซ็นต์

4. หญ้าแพงโกลา (Pangola grass) เป็นหญ้าอายุที่มีหลายปี ต้นกึ่งตั้งกึ่งเลื้อย ลำต้นเล็ก ไม่มีขน ใบเล็ก
เรียวยาว ใบดกอ่อนนุ่มเหมาะสำหรับทำหญ้าแห้ง ทนน้ำท่วมขัง เจริญเติบโตดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง
เหมาะสำหรับปลูกในเขตชลประทานการปลูกใช้ท่อนพันธุ์อัตรา 250-300 กิโลกรัม/ไร่ พื้นที่ลุ่ม ทำเทือกแบบนา
หว่านน้ำตม ปรับระดับน้ำให้สูง 10-15 เซนติเมตร หว่านท่อนพันธุ์ให้ทั่วแปลง แล้วนาบกดท่อนพันธุ์ให้จมน้ำ แช่
ทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์แล้วระบายน้ำออก
…พื้นที่ดอน หลังจากไถพรวนแล้ว ชักร่องห่างกัน 30 เซนติเมตร ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร วางท่อนพันธุ์3-5 ท่อน
เรียงต่อกันเป็นแถว ใช้ดินกลบเล็กน้อยและเหยียบให้แน่น

การบำรุงรักษา

ใส่ปุ๋ยก่อนปลูกด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50-100 กิโลกรัม/ไร่ เป็นปุ๋ยรองพื้น และควรใส่ปุ๋ยคอก
ร่วมด้วย ในแต่ละรอบของการตัดควรใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 2 ครั้ง ๆ ละ 10 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งแรกหลังตัด 1 วัน
และครั้งที่ 2 หลังตัด 10-15 วัน การกำจัดวัชพืช ใช้วิธีการ ตัดปรับทุก ๆ 45-60 วัน 2-3 ครั้ง

การใช้ประโยชน์

ควรตัดหญ้าครั้งแรก 60 วันหลังปลูก และตัดครั้งต่อไปทุก ๆ 40 วัน โดยตัดสูงจาก
พื้นดิน 5-10 เซนติเมตร การปล่อยสัตว์เข้าแทะเล็มครั้งแรกควรปล่อยเมื่อหญ้าอายุ90 วัน หญ้าแพงโกล่าเหมาะ
สำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ในรูปหญ้าสด หญ้าแห้ง หรือหญ้าหมัก ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 5.0-7.0 ตัน/ไร่/ปีโปรตีน 7-11
เปอร์เซ็นต์

5. หญ้ากินนีสีม่วง (Purple guinea) และกินนีธรรมดาเดิม (Guinea Grass) กินนีสีม่วงจะมีลำต้นและใบ
สูงใหญ่กว่ากินนีธรรมดา ดอกมีสีม่วง ใบอ่อนนุ่มกว่ากินนีธรรมดาเป็นหญ้าที่มีอายุหลายปีลักษณะเป็นกอตั้งตรง
แตกดีใบดก ทนต่อสภาพร่มเงาได้ดีเหมาะสำหรับปลูกบนพื้นที่ดอนมีดินเหนียวจนถึงดินทรายและในพื้นที่เขต
ชลประทาน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและหน่อพันธุ์ตอบสนองต่อการให้น้ำและปุ๋ยได้ดี การปลูกโดยการหว่านเมล็ด
อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ไร่ หรือโรยเมล็ดเป็นแถวระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ไม่ควรกลบเมล็ด ส่วนการเพาะ
กล้าใช้เมล็ด 1กิโลกรัม เพาะในพื้นที่ 200 ตารางเมตรเมื่ออายุต้นกล้า 1 เดือน ให้ย้ายปลูกหลุมละ 3 ต้น ระยะ
ปลูก 50×50 เซนติเมตรจะปลูกได้3 ไร่ หรือใช้แยกหน่อจากต้นเก่ามาปลูกใช้ระยะปลูก 50×50 เซนติเมตรเช่นกัน
แต่ต้นหญ้าจะโตช้ากว่าการปลูกด้วยต้นกล้า

การบำรุงรักษา

ก่อนปลูกควรมีการใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 15-15-15 ในอัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่
นอกจากนี้อาจมีการใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วยเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน หลังการตัดทุกครั้งควรใส่ปุ๋ยยูเรียในอัตรา 10 กิโลกรัม/ไร่ การกำจัดวัชพืชครั้งแรก 3-4 สัปดาห์หลังปลูก และหากมีวัชพืชขึ้นมากอาจกำจัดวัชพืชครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก 2 เดือน

การใช้ประโยชน์

การตัดหญ้ากินนีสีม่วงเพื่อน้าไปให้สัตว์กินควรตัด
ครั้งแรกเมื่อหญ้ามีอายุ 60 วัน หลังจากนั้นจึงจะทำการตัดทุก ๆ 30-40 วัน โดยตัดสูงจากพื้นดิน 10-15
เซนติเมตรเหมาะสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ในรูปหญ้าสด ทำหญ้าหมักหรือปล่อยสัตว์เข้าแทะเล็มได้ให้ผลผลิตน้ำหนัก
แห้งประมาณ 2.5-3 ตัน/ไร่/ปี มีโปรตีนประมาณ 8–10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง

การจัดการแปลงหญ้า

เนื่องจากพืชอาหารสัตว์จัดเป็นแหล่งอาหารหยาบที่สำคัญที่สุดของสัตว์เคี้ยวเอื้องและถือว่าเป็นอาหารหลักที่ใช้ในการเลี้ยงแพะที่มีต้นทุนต่ำ หาง่าย อีกทั้งเกษตรกรยังสามารถ จัดการปลูกแปลงหญ้าเพื่อใช้เป็นแหล่งที่ให้สัตว์ลงแทะเล็มหากินหญ้าได้เองอีกด้วย การจัดการพื้นที่ในการปลูกแปลงหญ้าให้มีประสิทธิภาพและได้คุณค่าทางอาหารของหญ้าสูง โดยการใส่ปุ๋ย รดน้ำ พรวนดินแปลงหญ้า เพื่อให้พืชอาหารสัตว์มีการเจริญเติบโตที่ดี
มีการดูดซึมแร่ธาตุที่ได้จากดินและปุ๋ยไว้มาก ซึ่งแพะก็จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากต้นหญ้าที่กินเข้าไป อีกทั้ง
วิธีการปลูกหญ้าแล้วตัดสดมาให้แพะกินในคอกก็จะช่วยลดปัญหาการสูญเสีย พลังงานในการเดินหากิน หรือ
ความเครียดจากความร้อนที่จะตามมาจากการปล่อยแทะเล็มใน ทุ่งหญ้า.

การจัดการแปลงหญ้ามีหลักการที่ต้องคำนึงถึงดังนี้

1. ควรปลูกหญ้าไว้หลายๆชนิดเพื่อเพิ่มความน่ากิน และทำให้มีคุณค่าทางอาหารที่ หลากหลายในแปลงหญ้า
หรืออาจเพิ่มคุณค่าทางอาหารของแปลงหญ้าโดยการ ปลูกพืชตระกูลถั่วผสมกับหญ้า
2. ทำการใส่ปุ๋ยลงในแปลงหญ้าเพื่อการบำรุง และเร่งการเจริญเติบโตให้พืชอาหาร สัตว์ที่ปลูกไว้เช่น การใส่ปุ๋ย
คอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 (ใส่ภายหลังการตัดแต่ละครั้ง)
3. มีการจัดการปล่อยให้แพะลงแทะเล็มในแปลงหญ้าอย่างถูกเวลา คือ เน้นปล่อยใน ช่วงที่หญ้ามีการ
เจริญเติบโตที่ดีมีคุณค่าทางอาหารสูง หรืออยู่ในระยะก่อนออก ดอก รวมถึงต้นพืชมีความแข็งแรงพอที่จะทน
ต่อสภาวะการถูกเหยียบย่ำได้
4. ควรทำการไถ คราด พรวนดินแปลงหญ้าเป็นครั้งคราวเพื่อบำรุงรักษาหน้าดินและ เกลี่ยมูลแพะให้ทั่วแปลง
ช่วยให้เป็นปุ๋ยใส่แปลงหญ้าไปด้วยในตัว

ข. พืชแห้งหรือพืชหมัก โดยปกติแล้วไม่นิยมให้แพะกินอาหารพืชหมัก เนื่องจากมีน้ำปนอยู่มากถึง 65-70% ถ้าให้
แพะกินพืชหมัก 1.25-1.5 กิโลกรัม เท่ากับกินหญ้าแห้ง 0.5 กิโลกรัม จึงจะแทนกันได้  แพะที่โตเต็มที่จะกินพืช
หมักได้มากที่สุดวันละ 0.75-1 กิโลกรัม อย่าให้อาหารพืชหมักเลี้ยงลูกแพะ เพราะจะทำให้ท้องเสีย รอจนกระทั่ง
อวัยวะระบบย่อยอาหารทำงานได้เต็มที่แล้วจึงจะกินได้

การทำหญ้าหมัก

หญ้าหมัก หรือ พืชหมัก (Silage) เป็นอาหารที่มีกรรมวิธีจัดการเพื่อให้สามารถ เก็บถนอมหญ้าหรือพืชนั้น
ไว้ในสภาพอ่อนนิ่มคล้ายกับหญ้าที่ยังสดอยู่ หญ้าหมักมีประโยชน์ดีในหลายประการนั่นคือ หญ้าหมักสามารถที่จะ
จัดทำขึ้นได้ทุกโอกาส แม้ในฤดูที่สภาพอากาศไม่อำนวยให้ทำหญ้าแห้งเพื่อการเก็บไว้ใช้นานๆ ซึ่งหญ้าหมัก
สามารถใช้พืชได้หลายชนิด เช่น ต้นข้าวโพด พืชผัก หญ้าชนิดต่างๆ หรืออาจใช้เศษพืชทิ้งเปล่า รวมถึงเศษเหลือ
ทิ้งทางการเกษตร

การทำพืชหมักเพื่อเป็นอาหารเสริมแพะมีหลายสูตรเช่น..

-สูตรใช้เกลือ 1 กก./หญ้าสับ 100 กก.

-สูตรใช้กากน้ำตาล 4 กก./น้ำ 5 ลิตร/หญ้าสับ 100 กก.

-สูตรใช้เกลือ 500 กรัม กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม/หญ้า100กิโลกรัม

-สูตรไม่มีการเสริมอาหารเลย ฯลฯ

ใช้หญ้าสดพันธุ์ที่อวบน้ำ หรือต้นข้าวโพดสดสับผสมกับอาหารเสริม
หรือไม่ผสมอาหารเสริม บรรจุภาชนะ เป็นถุงพลาสติคอย่างหนา ถังพลาสติค หรือหลุม อัดให้แน่นอย่าให้อากาศ
เข้า  ครบ21 วันเริ่มเปิดทยอยให้สัตว์กินได้ หญ้าหมักที่ได้จะมีกลิ่นของกรดเกิดขึ้น โดยกลิ่นกรดที่ดีควรมีความหอมและมีรสชาติที่ออกเปรี้ยว เล็กน้อย ซึ่งความเปรี้ยวนี้เองที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความน่ากิน (Paratability) เมื่อแพะได้กินแล้วจะเกิดความอยากกินเพิ่มมากขึ้น

การทำหญ้าแห้ง

เป็นวิธีการถนอมอาหารหยาบไว้ให้มีใช้ได้นานๆ โดยเฉพาะในหน้าแล้งที่มีสภาวะการขาดแคลนพืชอาหาร
สัตว์ วิธีทำหญ้าแห้งไว้ใช้เลี้ยงสัตว์อาจทำได้หลายรูปแบบ คือ การ ทำหญ้าแห้งชนิดตากแดด จะใช้เวลานาน
ประมาณ 2-3 วัน แล้วแต่ชนิดของหญ้าหรือพืชที่น้า มาตากแห้งว่ามีความหนาบางของลำต้นและใบมากน้อย
เพียงใด นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและแสงแดดเอง

หญ้าแห้งที่ดีจะสามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่เสียหายหรือบูดเน่านั้น ควรจะต้องลด ความชื้นให้เหลือน้อย
ที่สุดโดยให้มีความชื้นได้ไม่เกินกว่าร้อยละ 15 หญ้าแห้งที่เก็บไว้ในโรงเก็บหญ้าที่มีอากาศชื้นเกินไปอาจทำให้หญ้าแห้งขึ้นราและเสียหายจนใช้เป็นอาหารสัตว์ไม่ได้คุณภาพและผลผลิตที่ได้ของการทำหญ้าแห้งจะขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่ใช้ทำหญ้าแห้ง คือพืชที่น้ามาใช้ควรเป็นพืชที่มีคุณภาพดีมีคุณค่าทางอาหารสูงหรืออยู่ในช่วงก่อนออก ดอกออกผล ซึ่งจะเป็นช่วงอายุที่มีคุณค่าทางอาหารสูงและมีปริมาณเยื่อใยที่มากพอ นอกจากนี้ถ้าใช้พวกพืชตระกูลถั่วผสมก็จะได้หญ้าแห้งที่มีคุณภาพดีกว่าพืชตระกูลหญ้าอย่างเดียว

หญ้าแห้งที่มีคุณภาพสูงควรมีลักษณะดังนี้คือ.. เป็นหญ้าแห้งที่มีคุณภาพดีและมีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น มี
โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุสูง การใช้พืชที่อยู่ในช่วงออกดอก มาทำหญ้าแห้งก็จะช่วยให้เกิดความน่ากินและมีค่า
การย่อยได้ของวัตถุแห้งที่สูง ทั้งนี้จะต้องได้จากพืชตระกูลถั่วหรือหญ้าอ่อนที่มีใบมาก หญ้าแห้งที่ดีควรมีสีเขียวจัดซึ่งแสดงถึงแคโรทีนที่มีอยู่ในใบพืชถูกทำลายไปน้อยที่สุด และหญ้าแห้งต้องมีกลิ่นหอมหวาน ชวนให้สัตว์มีความอยากกิน (Sweet smelling)

ค. พืชตระกูลถั่ว มีคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งถั่วกอตั้ง และถั่วต้นเลื้อยและไม้ยืนต้นกระกูลถั่ว (Tree legume) เช่น
ถั่วลาย ถั่วฮามาต้า กระถินยักษ์และโสน ซึ่งอาจจะปลูกพืชตระกูลถั่วปนหญ้าชนิดอื่น หรือปลูกแต่ถั่วแล้วตัดมัด
เป็นฟ่อน ๆ ให้แพะกินก็ได้

1. ถั่วลาย (Butterfly pea) ลักษณะลำต้นเป็นเถาเลื้อยขนานกับผิวดิน อาจเลื้อยพันหลักที่อยู่ใกล้เคียง มี
อายุหลายปีใช้เป็นพืชคลุมดินในสวนยางพาราภาคใต้เป็นเวลานานแล้ว มีลำต้นเลื้อยยาวประมาณ 0.5–1.5 เมตร
อาจมีรากตามข้อของลำต้นที่อยู่ชิดผิวดินมีระบบรากแก้วที่หยั่งลึกลงไปในดิน เป็นถั่วอาหารสัตว์ที่มีความน่ากิน
และมีคุณค่าทางอาหารสูง คือมีปริมาณโปรตีน 17 เปอร์เซ็นต์ทนต่อการแทะเล็มของสัตว์นอกจากนี้ยังสามารถ
ปรับตัวได้ดีภายใต้สภาพที่มีร่มเงาปลูกร่วมกับหญ้า เนเปียร์หญ้าขน หญ้ากินนี หญ้าโร้ด และหญ้ากรีนแพนิคได้
ปลูกดินในมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูง ได้ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 900 กิโลกรัม/ไร่

2) ถั่วฮามาต้า (Hamata) เป็นถั่วค้างปีลำต้นกึ่งตรง ลักษณะแผ่และตั้งไม่มีขน หลังจากออกดอกแล้ว
ยังคงเจริญเติบโตต่อไปจนถึงปลายฤดูมีความทนแล้งได้ดีไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขัง ปรับตัวได้ดีในดินกรด สามารถ
ปลูกร่วมกับหญ้ากินนีกินนีสีม่วง ซิกแนล และรูซี่ได้การปลูกควรปลูกต้นฤดูฝนระหว่างพฤษภาคม–กรกฎาคม
เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ควรจะเร่งความงอกด้วยการแช่น้ำร้อน 80 องศาเซลเซียส นาน 10 นาทีในอัตรา 2 กิโลกรัม/ไร่
ก่อนปลูกใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสอัตรา 6–16 กิโลกรัม/ไร่ และยิบซั่มอัตรา 1.6–3.2 กิโลกรัม/ไร่เป็นปุ๋ยรองพื้น ทำการ
ปลูกโดยหว่านเมล็ดให้สม่้าเสมอ หรือปลูกเป็นแถว ระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตรควรตัดหญ้าเลี้ยงสัตว์สูงจาก
พื้นดิน 10 เซนติเมตร ครั้งแรก 70–90 วัน หลังปลูกและตัดครั้งต่อไปทุก 45 วัน ได้ผลผลิตน้ำหนักแห้งประมาณ
1.3–1.9 ตัน/ไร่ โปรตีนประมาณ 18เปอร์เซ็นต์


3) กระถิน (Leucaena) มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ พันธุ์ที่นิยม คือ พันธุ์ฮาวาย เป็นพันธุ์ไม้พุ่มเตี้ย สูง
ประมาณ 5 เมตร ออกดอกขณะที่ต้นยังอ่อน ออกดอกตลอดปีมากกว่าจะออกเป็นฤดู มีความคงทนต่อ
สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดีแม้ในที่มีความแห้งแล้งหรือพื้นที่มีน้ำท่วมเป็นระยะการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดนิยมมาก
ที่สุด นำเมล็ดที่เก็บจากฝักที่เปิดอ้า สีน้ำตาล แช่ในน้ำเดือด 10-20 นาทีก่อนนำไปเพาะ หากพื้นที่นั้นไม่อุดม
สมบูรณ์โดยใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15   อายุ1 ปีใช้ปุ๋ยประมาณ 100 กรัม/ต้น ใบกระถินมีส่วนประกอบของสารไมโม
ซิน (mimosine) ซึ่งทำให้สัตว์เกิดอาการขนร่วง ไม่อยากกินอาหาร น้ำหนักตัวลดลง ถ้าให้กระถินมากกว่าครึ่งของ
อาหารและให้สัตว์กินติดต่อกันมากกว่า 6 เดือนแล้ว ผลที่เกิดขึ้นสัตว์อาจมีอาการไม่สบาย มีการเจริญเติบโตช้า
อย่างไรก็ตามในกระเพาะหมักของสัตว์เคี้ยวเอื้องจะมีจุลินทรีย์บางชนิด เช่น Synergistes jonesii สามารถ
ทำลายพิษของสารไมโมซินได้ ส่วนการนำใบกระถินไปตากแดดหลังจากเก็บมาทันทีสารไมโมซินจะลดลง 50%
และลดลง 2-9% โดยการล้าง การแช่น้ำ การต้ม และหมัก ใบกระถินสดมีโปรตีน 8.4% ใบแห้งป่นมีโปรตีนสูง
ประมาณ 17-24%

4. โสน เป็นพืชที่อยู่ในจีนัส Sesbania เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบประกอบแบบขนนก นิยมปลูกเพื่อใช้เป็น
ปุ๋ยพืชสดในนาข้าวเนื่องจากเป็นพืชตระกูลถั่ว ที่มีไรโซเบียมในปมรากสามารถตรึงไนโตรเจนจากบรรยากาศได้
(นันทกร และสุวรรณี, 2536) จึงช่วยเพิ่มปริมาณไนโตรเจน (N) และอินทรีย์วัตถุแก่ดิน จากการศึกษาของ ยุทธ
ชัย (2531) พบว่าการปลูกพืชจำพวกโสน เช่น โสนอินเดีย (Sesbania speciosa) โสนอาฟริกัน (Sesbania
rostrata) โสนคางคก (Sesbania aculeata) และโสนจีนแดง (Sesbania cannabina) ในพื้นที่ที่ดินมีระดับ
ความเค็มต่าง ๆ โสนเหล่านี้สามารถเจริญเติบโตได้ดี ทนต่อโรคและแมลง

จากข้อมูลในเว็บไซต์ต่างประเทศ โสนมีโปรตีนประมาณ 8.4% และมีสารอาหารอื่นๆดังภาพ..

ที่มา https://cals.arizona.edu/fps/sites/cals.arizona.edu.fps/files/cotw/Sesbenia.pdf
https://hort.purdue.edu/newcrop/duke_energy/Sesbania_grandiflora..

สำหรับข้อมูลในไทย เนื่องจากมีโปรตีนสูงและเยื่อใยต่ำพบว่าโสนสามารถตัดสดให้แพะ-แกะกินได้ (Khan et al., 1990) และจากการศึกษาการใช้ใบโสน 2 สายพันธุ์ (โสนอัฟริกัน และ โสนคางคก) เป็นอาหารเพียงแหล่งเดียวในการเลี้ยงแพะเพศผู้พันธุ์Bengal อายุประมาณ 5 เดือน เป็นระยะเวลา 56 วัน โดยแพะได้รับใบโสนอย่างเต็มที่ โดยการใบโสนเมื่อปลูกได้70 วัน พบว่าคุณค่าทางโภชนะของใบโสนอัฟริกันประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน เยื่อใยรวม วัตถุแห้งและโภชนะที่ย่อยได้รวม (total digestibility of nutrients) เท่ากับ 32.7, 8.7, 15.5, 21.0, และ 70.3% ตามลำดับ ..
โสนคางคกมีค่าเท่ากับ 25.4, 7.4, 16.7, 23.6, และ 64.7% ตามลำดับ แพะที่กินใบโสนอัฟริกัน และโสนคางคก
พบว่าปริมาณการกินได้ของวัตถุแห้ง (dry matter intake) มีค่าเท่ากับ 259 และ 229 กรัม/วัน ตามลำดับ และมี
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 38.1 และ 9.5 กรัม ตามลำดับ ในขณะที่ค่าการย่อยได้ของวัตถุแห้ง (dry matter
digestibility) อินทรีย์วัตถุ (organic matter digestibility) โปรตีน (crude protein digestibility) และ
metabolizable energy ของใบโสนอัฟริกันมีค่าสูงกว่าใบโสนคางคกอย่างชัดเจน (p<0.05) จึงแนะนำว่าใบ
โสนอัฟริกันเหมาะสำหรับนำมาเลี้ยงแพะมากกว่าใบโสนคางคก (Shahjalal and Topps, 2000)

ดังนั้นใบโสนอินเดียมีความเป็นไปได้ในการใช้เป็นแหล่งเสริมโปรตีนหรือใช้ในอาหารสูตรรวมสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องในประเทศไทย


ง. ใบมันสำปะหลัง
ใบมันสำปะหลังมีโปรตีน 15-25% โดยน้ำหนักแห้ง ดังนั้นใบมันสำปะหลังที่ตากแดดให้แห้ง สามารถใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์พวกเคี้ยวเอื้องได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ใบมันสำปะหลังยังมีสารแทนนิน (tannin) ที่สามารถจับกับโปรตีน เป็นสารประกอบโปรตีน-แทนนิน คอมเพล็กซ์(protein-tannin complex) มีความสามารถในการไหลผ่านกระเพาะรูเมนลงไปยังลำไส้เล็ก (bypass) เป็นอย่างดีทำให้เกิดการย่อย และดูดซึมเพื่อใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้แม่โคที่ได้รับใบมันสำปะหลังแห้งเป็นอาหาร จะปริมาณสารไธโอไซยาเนทในน้ำนมดิบเพิ่มขึ้นซึ่งช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบแลคโตเพอร์ออกซิเดส เพื่อช่วยยับยั้งการเจริญ หรือทำลายจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนในน้ำนมดิบได้

เพิ่มเติม..

-ส่วนที่เป็นเปลือกถั่วเขียว มีเนื้อแป้งปนเล็กน้อย จะมีโปรตีนประมาณ 18-21%

วีดีโอแสดงระบบย่อยอาหารของวัวและแพะ

เอกสารประกอบ
108kaset.comเรียบเรียง
การจัดการความรู้ปศุสัตว์. 2552. ตารางคุณค่าทางโภชนะของวัตถุดิบ. แหล่งที่มา:
http://www.dld.go.th/km/th/index.php?option=com_content&view=article&id=240:2009-
12-24-03-18-19&catid=41:present-general&Itemid=59, 3 กันยายน 2555.
ลักษณ์เพียซ้าย และ ศุภนุช ใจค้า. 2548. ระบบการผลิตและการจัดการฟาร์มแพะ-แกะ.
ศูนย์วิจัยและพัฒนาสัตว์เคียวเอื้องขนาดเล็ก สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจ มก. นครปฐม.
วินัย ประลมพ์กาญจน์. 2538. อาหารและการให้อาหารแพะ. ภาควิชาสัตวศาสตร์คณะ
ทรัพยากรธรรมชาติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่, สงขลา.http://www.asat.su.ac.th/techserv/2556/goat_food.pdf

http://rtzon.com/hdpixa/guinea+grass+panicum+maximum
http://www.bedtime.com/wp-content/uploads/2015/06/Lallu-Lilly-Laali-3.jpg

รวบรวมเนื้อหา-ภาพประกอบ ..ปื้น ปากพนัง
www.108kaset.com