กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ ได้นำส่วนต่างๆของกล้วยมาทำการวิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมี ได้พบว่า..
1.ใบกล้วย ใบกล้วยสด มีสีเขียวเข้ม มีวัตถุแห้งประมาณ 28 เปอร์เซ็นต์ และมีน้ำมากถึง 72 เปอร์เซ็นต์ มีสารอาหารที่สำคัญ เช่น..
-โปรตีนคิดจากน้ำหนักแห้งประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์
-มีเยื่อใยประมาณ 24 เปอร์เซ็นต์
เปรียบเทียบคุณค่าทางอาหารของใบกล้วยสด กับพืชอาหารสัตว์อื่นๆจะเห็นว่า ใบกล้วยสดมีระดับโปรตีนใกล้เคียงกับหญ้าขนสด (ใบกล้วยมีโปรตีนคิดจากน้ำหนักแห้ง 12 เปอร์เซ็นต์ หญ้าขนมีโปรตีน 10 เปอร์เซ็นต์ โดยประมาณ)
ส่วนใบของกล้วยไม่รวมก้านใบมี โปรตีนใกล้เคียงกับพืชตระกูลถั่ว ใบสดของต้นกล้วยจึงเป็นผลพลอยได้ที่น่าจะนำมาใช้เป็นอาหารหยาบสำหรับเลี้ยง โค-กระบือ ร่วมกับฟางข้าว และหญ้าแห้ง จะทำให้โค-กระบือกินอาหารมากขึ้น การนำใบกล้วยหั่นเป็นฝอยตากแห้งแล้ว นำมาผสมอาหารข้นเลี้ยงสุกร หรือสัตว์ปีก อาจจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าจะลดต้นทุนการผลิตได้ เนื่องจากใบกล้วยมีเยื่อใยสูงไม่มากนัก สัตว์กระเพาะเดี่ยวสามารถใช้ประโยชน์ได้มากพอสมควร ข้อน่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือ ใบกล้วยมีระดับ ไขมันค่อนข้างสูง น่าจะใช้เป็นแหล่งพลังงานสำหรับสัตว์ได้ค่อนข้างดีแหล่งหนึ่ง
.
2.ต้นกล้วย ต้นกล้วยส่วนที่เราเห็นโผล่พ้นจากดินนั้น อันที่จริงเป็นก้านใบของกล้วย ในทางวิชาการถือว่าเป็นลำต้นเทียมประกอบด้วย ก้านใบจำนวนมากอัดกันแน่นเป็นชั้นๆชั้นนอกสุดมีความแข็ง และเหนียวมากกว่าก้านใบที่อยู่ด้านใน จากผลการวิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมีของต้นกล้วย โดยกลุ่มงานวิเคราะห์อาหารสัตว์ กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ พบว่า ต้นกล้วยสดมีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณโปรตีนคิดจากน้ำหนักแห้งเพียง 2.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่ง ใกล้เคียงกับฟางข้าว มีเยื่อใยคิดจากน้ำหนักแห้ง 26.1เปอร์เซ็นต์
อย่างไรก็ตามระดับเยื่อใยในต้นกล้วยค่อนข้างต่ำ จึงสามารถใช้ต้นกล้วยเป็นอาหารเลี้ยงสุกร ซึ่งเป็นสัตว์กระเพาะเดี่ยวได้
นอกจากนั้นยังพบว่า ต้นกล้วยมีระดับแร่ธาตุแคลเซียม ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ โปแตสเซียมประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.1 เปอร์เซ็นต์ แมกนีเซียมประมาณ 0.42 เปอร์เซ็นต์ แร่ ธาตุแมงกานีส ทองแดง เหล็ก และสังกะสีประมาณ 2.87 0.05 6.37 และ1.41 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแห้ง 100 กรัม ตามลำดับ..
การใช้ต้นกล้วยเลี้ยงสัตว์ จึงทำให้สัตว์ได้รับแร่ธาตุ และวิตามินต่างๆอีกด้วย เนื่องจากต้นกล้วยสดมีปริมาณน้ำเป็นส่วน ประกอบมากต้นอ่อนๆของกล้วย มีเยื่อใยต่ำการนำต้นกล้วยสดสับผสมฟางข้าว หรือหญ้าแห้งเลี้ยง โค-กระบือ ในฤดูแล้งจะทำให้ โค-กระบือ กินอาหารได้มากขึ้น สัตว์สามารถประทังความหิวได้ และได้รับสารอาหารปลีกย่อย เช่น แร่ธาตุ และวิตามินต่างๆมากขึ้น อาจจะทำให้ โค-กระบือ สามารถเจริญเติบโตตามปกติ ตลอดช่วงฤดูแล้งในแต่ละปี..
.
3.เปลือกกล้วย ต้นกล้วยจะสามารถให้ผลเมื่อโตเต็มที่ ในสภาพดินอุดมสมบูรณ์ และมีน้ำเพียงพอ ต้นกล้วยจะให้ผลหลังจากปลูกประมาณ 6 เดือน และให้ผลตลอดทั้งปี ผลกล้วยจะเกาะกันเป็นกลุ่มเรียกว่า หวี แต่ละหวีมีจำนวน 10-15 ผล กล้วยต้นโตๆอาจจะให้ผลมากถึง 10-15 หวี มีน้ำหนักผลกล้วยสดมากถึง 20 กิโลกรัม
เปลือกกล้วยเป็นผลพลอยได้จาก ผลของกล้วย ตามปกติเมื่อเรารับประทานกล้วยสุกจะต้องปอกเปลือกของกล้วยทิ้งไป อันที่จริงเปลือกกล้วยยังสามารถนำ มาใช้เลี้ยงสัตว์ได้ เนื่องจากมีความหวาน และมีความน่ากินอยู่มาก สัตว์แทบทุกชนิดชอบกินเปลือกกล้วย โดยเฉพาะสุกร โค-กระบือ แม้กระทั่งสัตว์ปีกก็ชอบกินเปลือกกล้วย
-เปลือกกล้วยมีโปรตีน คิดจากน้ำหนักแห้งประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์
-มีไขมันคิดจากน้ำหนักแห้งประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์
…จากส่วนประกอบทางเคมีดังกล่าว เปลือกกล้วยน่าจะเหมาะสำหรับเลี้ยงสัตว์ทุกชนิด ทั้งสัตว์กระเพาะเดี่ยวและสัตว์กระเพาะรวม แม้จะมีระดับโปรตีนค่อนข้างต่ำ แต่มีไขมันมากทำให้สามารถให้พลังงานแก่สัตว์มาก นอกจากนั้น เปลือกกล้วยน่าจะย่อยได้มาก เพราะมีเยื่อใยอยู่น้อย (ประมาณ 11 เปอร์เซ็นต์)
ในปัจจุบันนี้มีการนำกล้วยมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทำให้มีเปลือกกล้วยเหลือทิ้งในปริมาณมากๆ เกษตรกรที่อยู่ใกล้แหล่งดังกล่าวอาจจะใช้เปลือกกล้วยเป็นอาหารหลักเลี้ยงโค-กระบือ และสุกรกรณีที่มีเปลือกกล้วยเหลือทิ้ง ในปริมาณมากเกินกว่าที่จะใช้เลี้ยงสัตว์ในแต่ละวัน เกษตรกรอาจจะนำเปลือกกล้วยมาหมักร่วมกับหญ้าสด หรืออาหารหยาบอื่นๆเก็บไว้เลี้ยงสัตว์ในฤดูแล้งจะได้ อาหารหมักที่มีความน่ากิน และมีคุณค่าทางอาหารเหมาะสมสำหรับเลี้ยงสัตว์
.
4.ผลกล้วย ผลกล้วยเมื่อแก่เต็มที่จะมีน้ำเป็นส่วนประกอบ 60-70 เปอร์เซ็นต์ มีวัตถุแห้งประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ มีแป้ง คิดจากน้ำหนักแห้งประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ เมื่อกล้วยสุกแป้งจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาล ทำให้มีรสหวานอาจจะมีกลิ่นหอมด้วย ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของกล้วย
สัตว์ทุกชนิดชอบกินผลกล้วยสุก เนื่องจากมีความหวาน และมีความน่ากิน ผลกล้วยน่าจะเป็นแหล่งพลังงานสำหรับสัตว์มากกว่าโปรตีน เพราะมีโปรตีนคิดจากน้ำหนักแห้งเพียง 3-5 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น และทำให้สัตว์ฟื้นจากการป่วยเร็วขึ้น ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากกล้วยสุกมีรสหวานมีความน่ากิน เป็นการกระตุ้นให้สัตว์กินอาหาร และในกล้วยสุกมีพลังงานสูงสามารถย่อยได้มาก ทำให้สัตว์ได้รับพลังงานในเวลารวดเร็ว ทำให้สัตว์มีความแข็งแรงเร็วขึ้น
การนำผลกล้วยหมักร่วมกับอาหารหยาบคุณภาพต่ำ เช่น ฟางข้าว ชานอ้อย ผักตบชวา น้ำตาลจากผลกล้วยจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการหมักให้เร็วขึ้น ทำให้อาหารหมักมีคุณภาพดีขึ้น นอกจากนั้น การใช้กล้วยสุกเป็นแหล่งพลังงานเสริม สำหรับโค-กระบือ ซึ่งเลี้ยงด้วยฟางหมักยูเรีย หรือชานอ้อยหมักยูเรีย น่าจะทำให้สัตว์กินอาหาร และใช้ประโยชน์จากอาหารมากขึ้น
การใช้ผลกล้วยเลี้ยงสุกร ควรใช้ผลกล้วยสุก เพราะสุกรจะชอบกินมากกว่าผลดิบ อย่างไรก็ตามถ้าให้สุกรกินกล้วยสุกเพียง อย่างเดียวจะทำให้สุกรท้องเสีย ดังนั้น เกษตรกรจะต้องเสริมอาหารข้นที่มีโปรตีน 10-22 เปอร์เซ็นต์ วันละ 1-2 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของสุกรจะทำให้สุกรเจริญเติบโตตามปกติ
การทำกล้วยป่น โดยนำกล้วยดิบหั่นเป็นชิ้นเล็กๆตากแห้ง สามารถเก็บไว้ได้นาน และใช้แทนรำแทนปลายข้าวในสูตร อาหารข้นสำหรับเลี้ยงสุกรได้มากถึง 70-80 เปอร์เซ็นต์ กรณีที่เกษตรกรทำสวนกล้วย และมีผลิตผลมากเกินความต้องการของตลาด อาจจะทำให้กล้วยป่นเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ หรือจำหน่ายให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงสัตว์ ก็จะเป็นรายได้ที่ดีอีกทางหนึ่ง
ตารางแสดง ส่วนประกอบทางเคมีของเปลือกกล้วย และผลกล้วย
ผลิตผลของกล้วย
|
เปอร์เซ็นต์ วัตถุแห้ง |
ปริมาณสารอาหารคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากน้ำหนักแห้ง |
แหล่ง ข้อมูล |
||||
โปรตีน(CP) |
เยื่อใย(CF) |
เถ้า(Ash) |
ไขมัน(EE) |
NFE |
|||
– ผลกล้วยดิบ |
20.9 |
4.8 |
3.3 |
4.8 |
1.9 |
85.2 |
ทรินิแดด |
– ผลกล้วยสุก |
31.0 |
5.4 |
2.2 |
3.3 |
0.9 |
88.2 |
ทรินิแดด |
– เปลือกกล้วยดิบ |
– |
7.7 |
13.0 |
16.5 |
6.0 |
56.8 |
โซมาเลีย |
– เปลือกกล้วยสุก |
14.1 |
7.9 |
7.7 |
13.4 |
11.6 |
59.4 |
ไนจีเรีย |
ข้อมูล : ดัดแปลงจาก FAO Feed Information Summaries and Nutritive Value. (1981)
ตารางแสดง ผลการวิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมีลำต้นกล้วย และใบกล้วย โดยศูนย์วิจัยอาหารสัตว์ปากช่อง กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์
ส่วนต่างๆ ของกล้วย |
วัตถุ แห้ง (%) |
ส่วนประกอบทางเคมี (เปอร์เซ็นต์จากน้ำหนักแห้ง) |
||||||||
โปรตีน (CP) |
ไขมัน (EE) |
เยื่อใย (CF) |
เถ้า (Ash) |
NFE |
NDF |
ADF |
Lignin |
Cellu-lose |
||
ลำต้นกล้วยส่วนโคน |
3.9 |
4.4 |
0.5 |
21.7 |
31.3 |
41.9 |
52.4 |
33.9 |
4.1 |
28.5 |
ลำต้นกล้วยส่วนกลาง |
4.3 |
3.7 |
0.5 |
24.1 |
30.8 |
40.9 |
55.3 |
37.9 |
4.2 |
32.7 |
ลำต้นกล้วยส่วนปลาย |
4.8 |
3.6 |
0.6 |
25.0 |
24.2 |
46.6 |
57.4 |
37.2 |
4.11 |
32.3 |
ลำต้นกล้วยรวมทั้งต้น |
4.9 |
4.1 |
0.4 |
23.9 |
31.4 |
40.0 |
57.8 |
37.7 |
4.51 |
26.9 |
ใบกล้วย |
28.0 |
11.7 |
9.6 |
24.3 |
13.7 |
40.7 |
57.4 |
46.7 |
14.2 |
21.9 |
หมายเหตุ การหาเปอร์เซ็นต์ของวัตถุแห้ง (Dry matter) คำนวณจากน้ำหนักสด
ขอขอบคุณ http://nutrition.dld.go.th/Nutrition_Knowlage/ARTICLE/ArtileF.htm
สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ E-mail address : nutrition1@dld.go.th
https://www.voathai.com/a/banana-protein-viruses-tk/..
https://www.google.com/search?newwindow=1&safe=active..