เลี้ยงสัตว์ » ประวัติ..วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่แพะลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประวัติ..วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่แพะลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

6 กรกฎาคม 2018
4538   0

 

ประวัติ..วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่แพะลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

สโลแกน : “ ร่วมกันคิด แยกกันผลิต รวมกันขาย ”
ที่ทำการกลุ่มฯ https://www.google.com/maps/@8.001686,100.269045,17z
10 หมู่ 10 ต.เขาพังไกร อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช
พิกัด GPS 8.001686, 100.269045
เฟซบุุ๊ค วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่แพะลุ่มน้ำปากพนัง ..คลิ๊ก!!
ความเป็นมาของแปลงใหญ่แพะลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ลุ่มน้ำปากพนังเป็นพื้นที่ราบเชิงเขาและที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การทำนาและ มีบางส่วนบริเวณที่ราบเชิงเขาเป็นพื้นที่ปลูกพืชสวน เช่น สวนยางพารา และสวนผลไม้ แต่ขณะนี้พื้นที่บางส่วน ถูกปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์จากที่ดิน โดยเฉพาะในส่วนของที่ราบลุ่มชายฝั่ง จากการทำนาไปเป็นสวนปาล์มน้ำมัน ใน พ.ศ.2545
..หลังจากมีโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ได้มีพระราชประสงค์ที่จะแก้ปัญหาความยากจนของผู้คนในพื้นที่ ลุ่มน้ำฯ โดยมอบหมายให้กรมปศุสัตว์ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงสัตว์ปีกและสัตว์เล็กเพื่อเป็นอาชีพเสริม แก่เกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าว แพะก็เป็นสัตว์เล็กอีกชนิดหนึ่งที่กรมปศุสัตว์ได้มอบหมายให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครศรีธรรมราชส่งเสริมให้เกษตรกร อำเภอหัวไทร เชียรใหญ่ ปากพนัง เฉลิมพระเกียรติ ร่อนพิบูลย์ จุฬาภรณ์ และชะอวด เลี้ยงแพะในลักษณะการรวมกลุ่ม แม้นว่า 3 ปีแรกอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเพราะเกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจด้านการเลี้ยงและการบริหารจัดการฟาร์ม
ปี พ.ศ.2549 กรมปศุสัตว์มีนโยบายให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังฯรวมกลุ่มการเลี้ยงในรูปแบบกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
 
ปี พ.ศ.2552 ในพื้นที่ดังกล่าวมีกลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงแพะเกิดขึ้นรวม 4 วิสาหกิจ มีผู้เลี้ยงรวม 45 ราย มีแม่พันธุ์ประมาณ 500 ตัว
ปี พ.ศ. 2555 ได้มีการจัดตั้งเครือข่ายผู้ผลิตและจำหน่ายแพะลุ่มน้ำปากพนังขึ้น เพื่อทำการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยใช้หลักคิดในการบริหารเครือข่าย คือ “ ร่วมกันคิด แยกกันผลิต รวมกันขาย ” ในปี 2560 โดยมีรายได้จากการจำหน่ายแพะและมูลแพะ รวมรายได้ทั้งสิ้น 4,267,455 บาท หรือรายได้เฉลี่ยประมาณ 94,832 บาท/ฟาร์ม
เมื่อปี พ.ศ. 2560 เครือข่ายผู้ผลิตและจำหน่ายแพะลุ่มน้ำปากพนัง ได้ยื่นความประสงค์เข้าร่วมโครงการ เกษตรแปลงใหญ่ สาขาปศุสัตว์ ชื่อ “ วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่แพะลุ่มน้ำปากพนัง ” ได้รับอนุมัติให้เป็นแปลงเตรียมความพร้อมเมื่อเดือนมิถุนายน 2560 และได้รับการอนุมัติให้เป็นแปลงใหญ่แพะ ลุ่มน้ำปากพนัง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560
แปลงใหญ่แพะลุ่มน้ำปากพนังในระยะเริ่มต้นจัดองค์กรในรูปวิสาหกิจ ชื่อ “ วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่แพะลุ่มน้ำปากพนัง ”มีสมาชิกทั้งสิ้นในปีนี้รวม 55 ราย มีแม่พันธุ์รวม 1,435 ตัวมีพ่อพันธุ์รวม 115 ตัว ในปีนี้คาดว่ามีปริมาณแพะหมุนเวียนในแปลงรวม ประมาณ 3,990 ตัว ประมาณการรายได้ เฉพาะการจำหน่ายแพะไม่น้อยกว่า  8,329,000 บาท  หรือรายได้เฉลี่ย  151,436 บาท/ฟาร์ม  และมีความมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า สมาชิกในแปลงใหญ่ จะมีรายได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 263,500 บาท/ฟาร์มในปี 2564
..ทั้งนี้เพราะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี จากหน่วยงานต่างๆ ของกรมปศุสัตว์และสถาบันอุดมศึกษาในภาคใต้ เช่น  สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครศรีธรรมราช,  ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครศรีธรรมราช,  ศูนย์ทดสอบพันธุ์สัตว์นครศรีธรรมราช,  ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโยลีชีวภาพสุราษฎร์ธานี(AI),  ศูนย์ปรับปรุงพันธ์สัตว์ สุราษฎร์ธานี,…  สถาบันอุดมศึกษา เช่นมหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย  มหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุง  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.)  และ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  ประกอบกับความมุ่งมั่นของสมาชิก    ที่จะทำความดีเพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นผู้ให้กำเนิด การเลี้ยงแพะแก่เกษตรในพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังตามแนวพระราชดำริ.
คุณ ศักรินทร์ สมัยสง ประธานคณะกรรมการกลุ่มฯ

การส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่

แปลงใหญ่แพะลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ข้อมูลพื้นฐานแปลงใหญ่ : แพะลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

  • ขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบาย (SC) วันที่ 31 พฤษภาคม 2560
  • พื้นที่แปลงใหญ่แพะลุ่มน้ำปากพนัง มีพื้นที่จำนวน 5 ไร่ จำนวนกลุ่ม 6 กลุ่ม
  • แพะจำนวน 2,615 ตัว
  • วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะอำเภอหัวไทร 12  คน    
  • วิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงแพะอำเภอเชียรใหญ่ 12 คน
  • กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเกาะเพชร จำนวน 8 คน
  • วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงแพะชะอวดยุคใหม่ จำนวน  8  คน
  • กลุ่มผู้เลี้ยงแพะปากพนังยั่งยืน 7  คน
  • กลุ่มปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านดอนศาสตร์ จำนวน 6 คน
  • เกษตรกร 55 ราย
  • Smart Farmer 23 ราย
  • Smart Farmer ต้นแบบ  1 ราย    
  • อาสา Smart Farmer 1 ราย
  • แผนยุทธศาสตร์จุดประสงค์ เป้าหมาย และความสำเร็จ จะเกิดขึ้นได้นั้นจะต้องมีแผนอย่างน้อย 5 แผน คือ
    1. แผนการลดต้นทุนในการผลิต
    2. แผนการเพิ่มผลผลิต
    3. แผนการเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต
    4. แผนการตลาด
    5. แผนการบริหารองค์กร

    เพื่อให้แผนทั้ง  5  มีความสามารถเดินสู่เป้าหมายและบรรลุวัตุประสงค์ภายในเวลาที่กำหนดไว้ ควรมีองค์กรขับเคลื่อนเครือข่ายระดับจังหวัด ซึ่งเป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม.

  • จุดแข็ง (strength)สภาพพื้นที่ทั่วไปในลุ่มน้ำปากพนังมีพืชอาหารหยาบที่เหมาะสมกับการเลื้ยงแพะ- สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศส่วนใหญ่เหมาะสำหรับการปลูกพืชอาหารสัตว์ สำหรับใช้เป็นอาหารหยาบเลี้ยงแพะได้ตลอดปี- เกษตรกรในเครือข่ายชมรมฯประมาณ70%มีความรู้พื้นฐานในการเลี้ยงแพะ- เกษตรกรประมาณ 60% ปลูกพืชอาหารสัตว์อย่างเพียงพอแก่การเลี้ยงสัตว์ในภาวะปกติ- เกษตรกรประมาณ 20%สามารถผลิตอาหารTMR.เพื่อเลี้ยงแพะของตนเองอย่างเพียงพอตลอดปี.
  • จุดอ่อน  (weak)– บางพื้นที่โดยเฉพาะลุ่มน้ำปากพนัง มักขาดแคลนอาหารสัตว์ในช่วงฤดูกาลน้ำท่วม(เดือนพฤศจิกายน-มกราคม) เพราะขาดอุปกรณ์ในการจัดทำเสบียงอาหารสัตว์- ขาดฟาร์มกระจายพันธุ์สำหรับผลิตพ่อ-แม่พันธุ์ที่เหมาะสมในการผลิตแพะเชิงพานิชย์ และป้องกันการผสมเลือดชิด(in-breeding)- เกษตรกร ประมาณ 30% ขาดองค์ความรู้ในการเลี้ยงและการจัดการฟาร์ม จึงไม่สามารถขยายฟาร์มและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
  • โอกาส (opportunity) – ความต้องการแพะของตลาดทั้งภายในจังหวัด ต่างจังหวัดและต่างประเทศมีแนวโนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น- หากมีการบริหารจัดการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเกษตรกรเป็นไปอย่างเป็นระบบและเหมาะสม นครศรีธรรมราชสามารถผลิตแพะคุณภาพสู่ตลาดอย่างเพียงพอภายใน 3-5 ปี- มีหน่วยงานภาครัฐ ทั้งในส่วนของกรมปศุสัตว์และสถาบันการศึกษาในภูมิภาคพร้อมให้การสนับสนุนด้านวิชาการ
  • ความเสี่ยง(threat)– การสนับสนุนและการบริหารงบประมาณ- การบังใช้กฎหมายของกรมปศุสัตว์- ความผันผวนทางการเมืองที่ผลต่อสภาพคล่องของผู้บริโภคภายในและภายนอกประเทศ…ด้านการบริหารจัดการวัตถุประสงค์ :          –  เพื่อให้สมาชิกมีความสามารถในการเพิ่มการผลิตให้สอดคล้องกับ  การขยายตัวของตลาดเป้าหมาย
    1. จัดตั้งวิสาหกิจผู้เลี้ยงแพะลุ่มน้ำปากพนัง
    2. มีคณะกรรมการรับผิดชอบแผนงานทั้ง 5 แผน
    3. มีการประเมินผลการดำเนินงาน ปีละ 2 ครั้ง
    4. ประชุมคณะกรรมการวิสาหกิจเดือนละ 1 ครั้ง

    5.มีการประชุมกลุ่มย่อยเดือนละ 1 ครั้ง

    6.มีคณะกรรมการร่วมกำหนดยุทธศาสตร์แพะจังหวัดนครศรีธรรมราช

    7.ใช้ Application ในการเชื่อมต่อฐานข้อมูล

     

    ระเบียบข้อบังคับวิสาหกิจแพะแปลงใหญ่ลุ่มน้ำปากพนัง

     

    หมวดที่  1

    ความทั่วไป

    ข้อที่  1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบข้อบังคับวิสาหกิจแพะแปลงใหญ่ลุ่มน้ำปากพนัง

    ข้อที่  2 คำว่าสมาชิก หมายถึง ผู้เลี้ยงแพะในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ซึ่งสมัครเป็นสมาชิกในโครงการแพะแปลงใหญ่ลุ่มน้ำปากพนัง

    ข้อที่  3 สำนักงานที่ทำการเครือข่าย บ้านเลขที่ 10 หมู่ 10 ตำบลเขาพังไกร อำเภอหัวไทร

    จังหวัดนครศรีธรรมราช

     

     

    หมวดที่  2

    วัตถุประสงค์ของวิสาหกิจ

    ข้อที่  4 วัตถุประสงค์ในการตั้งวิสาหกิจประกอบด้วย

    4.1 เพื่อปรับปรุงพันธุ์แพะให้มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับใช้เลี้ยงเชิงพาณิชย์

    4.2 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงแพะ

    4.3 เพื่อความสามัคคีในกลุ่มบุคคลที่มีอาชีพเดียวกัน

    4.4 เพื่อให้สมาชิกมีรายได้เสริมจากอาชีพการเลี้ยงแพะ

    4.5 เพื่อแสวงหาเงินทุนสำหรับสมาชิกในการพัฒนาอาชีพการแพะเลี้ยง

     

    หมวดที่  3

    แหล่งที่มาของเงินทุน

    ข้อที่  5 แหล่งที่มาของเงินทุนของกลุ่ม

    5.1 เงินสัจจะออมทรัพย์จากสมาชิกเดือนละ 100 บาท ต่อคน

    5.2 เงินค่าสมัครเป็นสมาชิกและเงินค่าธรรมเนียมแรกเข้าเป็นสมาชิก

    5.3 เงินสนับสนุนจากรัฐและภาคเอกชน

     

    หมวดที่  4

    คุณสมบัติของสมาชิก

    ข้อที่  6 บุคคลที่เป็นสมาชิกกลุ่มจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

    6.1 เป็นผู้เลี้ยงแพะในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง หรืออำเภอใกล้เคียงลุ่มน้ำปากพนัง

    6.2 มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

    6.3 เลี้ยงแพะอยู่แล้วโดยมีแม่พันธุ์แพะอย่างน้อย 10 ตัว และมีโรงเรือนในการเลี้ยง

    6.4 ไม่เคยเสียประวัติในการรวมกลุ่ม

    6.5 ไม่ติดการพนัน

    6.6 ไม่ติดยาเสพติด

     

     

    หมวดที่  5

    รับสมาชิกใหม่

    ข้อที่ 7 การรับสมาชิกใหม่

    7.1 วิสาหกิจเปิดรับสมาชิกใหม่ในวันประชุมประจำเดือน เดือนแรกของปี

    7.2 ผู้ที่จะสมัครสมาชิกต้องเข้าใจระเบียบข้อบังคับของกลุ่มและมั่นใจว่า

    สามารถปฏิบัติตามระเบียบของกลุ่มได้ด้วยความสมัครใจ

    7.3 ก่อนสมัครเป็นสมาชิกต้องเข้าร่วมประชุมประจำเดือนกับสมาชิกเก่า 2 ครั้งติดต่อกัน

    7.4 ต้องได้รับรองจากสมาชิกเก่าอย่างน้อย 3 คน

    7.5 ผู้ที่จะเป็นสมาชิกต้องมาสมัครด้วยตนเอง

    7.6 สมาชิกแรกเข้าต้องชำระเงินค่าธรรมเนียม 150 บาท

    และเงินสัจจะออมทรัพย์ 100 บาท

     

    หมวดที่  6

    การพ้นสภาพการเป็นสมาชิก

    ข้อที่ 8 สมาชิกภาพของสมาชิกจะสิ้นสุดลงเมื่อ

    8.1 ไม่สามารถรักษาสัจจะที่ให้ไว้กับวิสาหกิจ

    8.2 ในรอบหนึ่งปีส่งเงินสัจจะออมทรัพย์ไม่ตรงตามกำหนด 2 ครั้ง ติดต่อกัน

    8.3 ในรอบหนึ่งปีขาดประชุมโดยไม่ทราบสาเหตุรวม 2 ครั้ง

    8.4 คณะกรรมการ 2 ใน 3 มีมติให้ออก

    8.5 ตาย

    8.6 ลาออก

     

    หมวดที่  7

    การถอนเงินสัจจะออมทรัพย์

    ข้อที่  9  สมาชิกสามารถถอนเงินสัจจะออมทรัพย์ได้ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ คือ

    9.1 สมาชิกที่ประสงค์จะถอนเงินสัจจะออมทรัพย์ต้องแจ้งความจำนงในถอน

    ด้วยตนเองให้คณะกรรมการทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน

    9.2 สมาชิกที่ประสงค์จะถอนเงินสัจจะออมทรัพย์ต้องไม่มีพันธะทางการเงิน

    อื่นใดกับวิสาหกิจ

    9.3 สมาชิกที่ขาดคุณสมบัติตามความในหมวดที่ 6 ข้อ 8.1 – 8.5 จะไม่ได้รับ

    สิทธิใด ๆ ทั้งสิ้นยกเว้นการถอนเงินสัจจะออมทรัพย์

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    หมวดที่  8

    การประชุมวิสาหกิจ

    ข้อที่  10 การประชุม

    10.1 วิสาหกิจประชุมกรรมการเดือนละ  1  ครั้ง

    10.2 วิสาหกิจประชุมสมาชิก  3  เดือน / ครั้ง  และการประชุมครั้งสุดท้ายของปีให้ถือเป็นการประชุม  ใหญ่สามัญประจำปีนั้น ๆ

    10.3 ในกรณีที่สมาชิกท่านใดไม่สามารถประชุมได้เพราะเหตุติดประชุมหน่วยราชการหรือหน่วยเอกชนที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับวิสาหกิจ ให้ถือว่าสมาชิกท่านนั้นไม่ได้ขาดหรือลาการประชุม

    10.4 ในกรณีที่สมาชิกไม่สามารถมาประชุมด้วยตนเองได้เนื่องจากมีเหตุจำเป็น

    สามารถให้ตัวแทนซึ่งเป็นบุคคลในครอบครัวมาประชุมแทนได้ แต่ไม่ สามารถลงมติใดๆ ได้

    10.5 ในกรณีที่จะต้องลงมติประเด็นใดประเด็นหนึ่งให้ใช้หลักประชาธิปไตย เว้นแต่ระเบียบข้อบังคับที่กำหนดให้เป็นอย่างอื่น

     

     

    หมวดที่  9

    คณะกรรมการบริหารวิสาหกิจ

    ข้อที่  11 คณะกรรมการบริหารวิสาหกิจมีอย่างน้อย 17 คน อย่างมากไม่เกิน 24 คน ประกอบด้วย

    11.1 ประธานกรรมการ

    11.2 รองประธานกรรมการ

    11.3 กรรมการผู้จัดการ

    11.4 นายทะเบียน

    11.5 เหรัญญิก

    11.6 ประชาสัมพันธ์

    11.7 การตลาด

    11.8 ส่วนที่เหลือเป็นกรรมการ

    ข้อที่ 12 กรรมการคนหนึ่งอาจรับหน้าที่มากกว่าหนึ่งหน้าที่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

    ข้อที่ 13 วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการ

    13.1คณะกรรมการอยู่ในวาระ คราวละ 2 ปี

    13.2 ในกรณีที่กรรมการออกทั้งคณะก่อนครบวาระจะต้องจัดให้มีการเลือกตั้ง

    ใหม่ภายใน  30 วัน

    13.3 ในกรณีที่กรรมการคนหนึ่งคนใดออกก่อนครบวาระมีระยะเวลาไม่ถึง

    60 วัน ไม่ต้องมีการเลือกตั้งซ่อม

    13.4 เมื่อหมดวาระลงคณะกรรมการจะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการ

    ชุดใหม่ภายใน 30 วัน

    ข้อที่  14 คุณสมบัติของคณะกรรมการ

    14.1 เป็นสมาชิกกลุ่มอย่างน้อย 1 ปี

    14.2 ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากสมาชิก

    ข้อที่  15 การพ้นสภาพของคณะกรรมการ

    15.1 ตาย

    15.2 ลาออก

    15.3 ขาดประชุม 2 ครั้ง / ปี

    15.4 สมาชิกไม่น้อยกว่าครึ่งเข้าชื่อถอดถอน

     

    หมวดที่  10

    อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ

    ข้อที่  16 อำนาจหน้าที่ของประธานกรรมการ

    16.1 ร่วมกับคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของ

    วิสาหกิจ

    16.2 ร่วมกับคณะกรรมการบริหารแผนพัฒนาวิสาหกิจ

    16.3 ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมสมาชิก

    16.4 ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมกรรมการ

    16.5 มีอำนาจในการเสนอชื่อที่ปรึกษาวิสาหกิจให้สมาชิกพิจารณาแต่งตั้ง

    16.6 มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการส่วนต่าง ๆ ของวิสาหกิจ

    16.7 ติดต่อประสานงานกับหน่วยราชการ องค์กรอื่นๆและชุมชน

    ข้อที่  17 อำนาจหน้าที่ของรองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการทำหน้าที่แทน

    ประธานตามที่ได้รับมอบหมาย

    ข้อที่  18 อำนาจหน้าที่ของเหรัญญิกวิสาหกิจ

    18.1 จัดทำเอกสารายรับรายจ่ายของวิสาหกิจ

    18.2 จัดเก็บรักษาเงินของวิสาหกิจ

    18.3 จัดทำงบดุลประจำปีและรายงานฐานะทางการเงินของวิสาหกิจ

    18.4 เก็บรักษาเงินวิสาหกิจเป็นเงินสดได้ไม่เกิน 1,000 บาท (หนึ่งพันบาท)

    ส่วนที่เกิน 1,000 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน) ให้นำฝากธนาคารในบัญชีของวิสาหกิจ

    ข้อที่  19 อำนาจหน้าที่ของเลขานุการวิสาหกิจ

    19.1 จดการประชุมของวิสาหกิจ

    19.2 จัดทำหนังสือเอกสารและรายงานการประชุมของวิสาหกิจเพื่อแจ้งสมาชิกทราบ

    ข้อที่  20 อำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนวิสาหกิจ

    20.1 จัดทำทะเบียนประวัติของสมาชิก

    20.2 จัดรวบรวมและจำแนกประชากรแพะภายในวิสาหกิจให้เป็นปัจจุบัน

    ข้อที่  21 อำนาจหน้าที่ของฝ่ายตลาดวิสาหกิจ

    21.1 ประสานงานกับฝ่ายการตลาดของชมรมแพะนครศรีธรรมราช

    21.2 ประสานงานกับพ่อค้าแพะทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด

    21.3 ประสานงานกับฝ่ายทะเบียนวิสาหกิจเพื่อนวางแผนทางการตลาด

    ข้อที่  22 อำนาจหน้าที่ของฝ่ายประชาสัมพันธ์วิสาหกิจ

    เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารของวิสาหกิจไปสู่สมาชิกและประชาชนทั่วไป

    ข้อที่  23 อำนาจหน้าที่ของผู้จัดการแปลงใหญ่คือ  บริหารจัดการภารกิจตามที่คณะกรรมการ

    มอบและรายงานความกว้าหน้าของภารกิจให้มอบหมายที่ประชุมคณะกรรมการทราบ

    หมวดที่ 11

    การปล่อยเงินกู้ของ

    ข้อที่  24 วิสาหกิจสามารถนำเงินรายได้ของเครือข่ายจากหมวดที่  3  ให้สมาชิกกู้ยืมเพื่อนำไปพัฒนาอาชีพการเลี้ยงแพะเท่านั้น การกู้และการค้ำประกันเงินกู้และการชำระเงินกู้ให้เป็นไปตามเงื่อนไขของเงินแต่ละประเภททั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการได้กำหนดขึ้น

    หมวดที่  12

    การแก้ไขระเบียบข้อบังคับวิสาหกิจ

    ข้อที่  25 ระเบียบข้อบังคับของวิสาหกิจสามารถปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับการเจริญเติบโตของ

    วิสาหกิจได้โดย

    25.1 คณะกรรมการ 3 ใน 5 เสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไข

    25.2 สมาชิก 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไข

    25.3 การเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ระเบียบข้อบังคับนี้ก็ต่อเมื่อระเบียบข้อบังคับ

    ฉบับเดิมบังคับใช้แล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน

    25.4 ระเบียบข้อบังคับกลุ่มที่แก้ไขแล้วจะมีผลบังคับใช้ก็ต่อเมื่อได้รับความ

    เห็นชอบจากที่ประชุมสมาชิก

    ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป

     

     

    ประกาศใช้ ณ วันที่ 15  มีนาคม  2561

    นายศักรินทร์    สมัยสง

    ประธานวิสาหกิจแพะแปลงใหญ่ลุ่มน้ำปากพนัง.

  •