❤รวมความคิดเห็นจาก เฟซบุ๊ค เลี้ยงแพะยั่งยืน
แนะนำสูตรแก้ท้องอืดจากเพื่อนๆชาวแพะสมาชิกเฟซบุ๊ค ” เลี้ยงแพะยั่งยืน “..สูตรไหนได้ผลดี กรุณาคอมเม้นท์ ที่ เลี้ยงแพะยั่งยืน ด้วยนะครับ..
●SirTee ครุฑชัยวิธีอื่นไม่รู้ แต่ผมใช้น้ำมันพืช สัก3-4 ช้อนโต๊ะ ถ้ายังไม่หายฉีดรูมิเซนเข้ากระเพาะถ้าฉีดไม่เป็นกรอกปาก แต่จะให้ผลช้ากว่า พยายามให้เดิน ห้ามให้แพะล่มเด็ดขาดไม่งั้นเอาไม่อยู่
Cr.หมอเบิร์ด มทส.
1. ต้องแน่ใจว่าแพะ-แกะ ท้องอืด ไม่ใช่เกิดจากกินอาหารเป็นพิษ
2. กรอกน้ำมันพืช (0.5-1 ขวดลิโพ พิจารณาตามขนาดตัวแพะ-แกะ) เพื่อลดการเกิดแก้สในกระเพาะ ไม่ให้เพิ่มขึ้น
3. กดท้องตรงสวาบด้านซ้าย ให้ยุบลง ค่อยๆ กด จะกดแบบให้สัตว์นอนเอาด้านซ้ายขึ้นแล้วกด หรือ จะยืนพิงฝา ให้ด้านซ้ายออกด้านนอก ใช้เข่ากดตรงสวาบให้ยุบลง ทำการกดแล้วปล่อย ทำซ้ำๆ 5-6 ครั้ง เพื่อให้น้ำมันที่กรอกเข้าไปได้กระจายในกระเพาะ และเป็นการไล่แก้สออกบางส่วนด้วย จากนั้นปล่อยให้ยืนหรือเดิน ห้ามนอนเด็ดขาด จะทำให้ไปกดกำบังลม สัตว์จะหายใจไม่ออก
4. อาจใช้ยาธาตุน้ำแดงหรือน้ำขาวกรอก (0.5-1 ขวดลิโพ) เพื่อช่วยให้แพะ-แกะ เรอแก๊สออกมา (ไม่มีใช้ก็ได้ มีก็ดี) และช่วยกดท้องอีกครั้ง 2-3 ครั้ง
5. ทิ้งช่วง 5-10 นาที ให้ทำการกรอกน้ำมันพืชซ้ำ (0.5-1 ขวดลิโพ) แล้วทำการกดท้องอีกครั้ง กด-ปล่อย 5-6 ครั้ง ปล่อยให้เดินหรือยืน ถ้าแพะ-แกะ เริ่มถ่ายได้ และ/หรือเริ่มเคี้ยวเอื้อง หรือกินอาหารได้ แสดงว่าปลอดภัย ถ้ามียาช่วยย่อย (เฮปปาเจน) ก็ฉีดเข้ากล้ามเนื้อคอลึกๆ 3-5 cc.
6. กรณีพบอาการโคม่า เป็นหนักถึงขนาดท้องโป่งแข็งมาก กดไม่ลง หายใจรวยระริน ให้ปฏิบัติดังนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ก. ใช้สายยางวัดระดับน้ำขนาดประมาณนิ้วก้อย ทาด้วยน้ำมันพืชเพื่อให้หล่อลื่น สอดเข้าปากให้ถึงกระเพาะหมัก(รูเมน) วิธีจะรู้ว่าถึงกระเพาะหมักหรือไม่ ให้ดึงสายยางวัดจากปากถึงสวาบ แล้วทำรอยไว้ เมื่อสอดเข้าไปในปากก็ให้สอดจนถึงจุดที่ทำรอยไว้ แต่ก่อนอื่นต้องหาไม้กลมขนาดเท่าหัวแม่มือ ยาวประมาณ 5-6 นิ้ว มัดเชือกหัวท้าย ให้ยาวพอจะคล้องมัดใต้เขาหรือกกหู ให้นำไม้ที่เตรียมไว้ใส่ปากตามขวางให้แพะคาบไว้ ป้องกันการกัดสายยางขาด แล้วผูกเชือกให้ล๊อคไว้ใต้เขาหรือกกหูให้แน่น ป้องกันไม้หลุด เมื่อสอดสายยางเข้าถึงกระเพาะแล้ว ค่อยๆ กดท้องไล่แก๊สออก อาจมีน้ำเขียวๆ ออกมาด้วยพร้อมแก๊ส ให้กดเรื่อยๆ จนกว่าท้องจะยุบเป็นปกติ ปล่อยทิ้งไว้สักระยะให้มั่นใจว่า แก๊สจะไม่เกิดซ้ำขึ้นอีก ถอดสายยางออก กรอกน้ำมันพืชซ้ำ ฉีดด้วยเฮปปาเจน 3-5 cc. ปล่อยให้แพะ-แกะยืนหรือเดิน แล้วเฝ้าดูอาการ จนเห็นว่า ถ่ายได้ เคี้ยวเอื้อง และกินอาหารได้ จึงจะปลอดภัย
ข. ใช้เข็มฉีดยา เบอร์ 18 เข็มยายาว 1.5 นิ้ว ปักตรงสวาบด้านซ้าย 1-2 เข็ม ให้จมสุดเข็ม วิธีการปักเข็ม ให้มือกดท้องให้ยุบลง แล้วปักเข็มให้จม มือที่กดอย่าปล่อย ให้กดลงเรื่อยๆ เพื่อระบายแก้สออกมา กดจนกว่าแก้สจะออกหมด ให้กดคาไว้สักพัก ค่อยดึงเข็มออก ให้ทำการกรอกน้ำมันพืชซ้ำ และฉีดเฮปปาเจน 3-5 cc. ปล่อยให้แพะ-แกะยืนหรือเดิน แล้วเฝ้าดูอาการ จนเห็นว่า ถ่ายได้ เคี้ยวเอื้อง และกินอาหารได้ จึงจะปลอดภัย
สาเหตุของปัญหา
1.อาการท้องอืด (Bloat)
สาเหตุเกิดจากการกินต้นพืชอ่อนหรือยอดอ่อนๆ จำนวนมากเกินไป จึงทำให้เกิดเป็นก๊าซขึ้นในกระเพาะแรก (Rumen) อย่างรวดเร็ว และอาจทำให้สัตว์ตายอย่างกะทันหันได้ โดยทั่วไปจะพบหลังจากที่ปล่อยสัตว์ลงแปลงหญ้าอ่อน หรือแปลงต้นข้าวโพดอ่อนในฤดูฝน สัตว์จะมีอาการท้องด้านซ้ายขยายใหญ่ขึ้นผิดปกติ เนื่องจากก๊าซหรือฟองอาหารในกระเพาะแรกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแน่นกระเพาะ ซึ่งสัตว์ไม่สามารถเรอออกมาได้ สัตว์กระวนกระวาย หายใจไม่สะดวก ล้มลงนอนทันที ขาทั้งสี่เหยียดและตายเนื่องจากหายใจไม่ออก.
ขอบคุณ เพื่อนๆชาวแพะใน เฟซบุ๊ค เลี้ยงแพะยั่งยืน ..
เก่งการเกษตรฟาร์มแพะ ฟาร์มแพะ :เอื้อเฟื้อภาพนิ่ง
Aiiw Kedkanok :เอื้อเฟื้อวีดีโอ
2.อาการอาหารไม่ย่อยและอัดแน่นในกระเพาะ (Chronic Indigestion Rumen Impaction)
ปัญหาการอัดแน่นในกระเพาะแรก หรืออาหารย่อยได้บ้างไม่ได้บ้างแบบเรื้อรัง..
เกิดขึ้นกับแพะนมได้บ่อยครั้ง เนื่องจากแพะได้รับอาหารที่มีคุณภาพต่ำ มีโปรตีนและพลังงานไม่เพียงพอ อาการที่สังเกตได้คือ ท้องจะแข็งตึง หยุดเคี้ยวเอื้อง และมีร่างกายทรุดโทรมอ่อนแอ ในที่สุดก็ตาย สำหรับในลูกแพะจะพบว่ามีนมจับกันเป็นก้อนใหญ่ในกระเพาะ
การแก้ไขปัญหาอาหารไม่ย่อยแบบเรื้อรัง ทำได้โดยการจัดการเกี่ยวกับอาหาร และการให้อาหาร กล่าวคือจะต้องให้อาหารที่มีโปรตีนและพลังงานเพียงพอกับความต้องการของแพะ การเปลี่ยนอาหารก็จะต้องค่อยเป็นค่อยไปและต้องให้อาหารตรงต่อเวลาด้วย ผู้เลี้ยงสัตว์ควรระลึกอยู่เสมอว่า การเกิดความเครียดของสัตว์นั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายเกิดอาการผิดปกติได้เสมอ
3.แผลในกระเพาะแท้ (Abomasal Ulceration)
การเกิดแผลในกระเพาะแท้ ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่พบได้ในแพะ โดยเฉพาะในแพะฤดูแห้งแล้ง หรืออาหารสัตว์มีไม่เพียงพอ แพะก็จะได้รับอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงทำให้เกิดแผลในกระเพาะแท้ขึ้นได้ เพราะในกระเพาะมีสภาพเป็นกรดมากนั่นเอง หรืออาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่แพะได้รับอาหารจำพวกเมล็ดพืชมาก และพืชหญ้าแห้งหรือหญ้าสดน้อยในระยะให้นม แผลในกระเพาะแท้ที่เกิดขึ้นอาจทำให้กระเพาะทะลุและสัตว์ตายได้ เนื่องจากการเสียเลือด หรือเยื่อบุของท้องอักเสบอย่างรุนแรง.
ความรู้เรื่อง”ท้องอืด”แพะแกะ
#ท้องอืด(bloat)เกิดได้อย่างไร
การแสดงอาการท้องอืดในสัตว์เคี้ยวเอื้อง ..
1.สัตว์จะแสดงอาการท้องโป่งด้านซ้ายแข็งกดท้องจะแน่น
2.สัตว์จะแสดงอาการเดินยืดตัว หลังแอ่น จะนอนและลุก ทำเช่นนี้บ่อยๆ และจะมีเสียงเบ่ง คล้ายสัตว์จะคลอดลูก ต่างกันที่สัตว์ท้องอืด ท้องจะโป่งโดยเฉพาะสวาบด้านซ้าย โป่งคล้ายลูกโป่ง กดแล้วจะแน่นแข็งๆ (แต่สัตว์ที่คลอดสวาบจะยุบลง+ เวลาจะนอนจะใช้เท้าเขี่ยพื้นแล้วลงนอน).. ส่วนสัตว์ท้องอืดจะนอนลุกบ่อยๆถี่ๆ เท้ามักไม่เขี่ยพื้นก่อนลงนอน
3.ถ้าไม่มีการแก้ไขสัตว์จะตัวเกร็งจนชักตายในที่สุด
#ปัญหาการเกิดท้องอืด(bloat) เกิดจากการสะสมแก๊สในทางเดินอาหารของสัตว์และสัตว์ไม่สามารถขับออกมาได้ เนื่องจากมีแก๊สเกิดขึ้นมากผิดปกติ หรือแก๊สเกิดปกติแต่สัตว์ไม่สามารถเรอเอาแก๊สออกมาได้
สาเหตุ ของการเกฺิดแก๊สในกระเพาะ
1.สัตว์ได้รับอาหารพวกถั่วสูงเกินไป
2.สัตว์ได้รับพืชใบเลี้ยงคู่หรือตระกูลถั่วในจำนวนมาก ซึ่งพืชเหล่านั้นจะมีโปรตีนที่ละลายได้ง่ายสูง ทำให้สารละลายในกระเพาะหมัก เกิดแรงตึงผิวสูง เมื่อเกิดแก๊สจากกระบวนการหมักจึงดันของเหลวให้เกิดเป็นฟองอากาศเหมือนฟองสบู่ที่ข้นและเหนียว แตกตัวยากหรือไม่ยอมแตก จนเป็นเหตุให้ฟองอากาศสะสมขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลทำให้ท้องอืด
3.สัตว์ได้รับหญ้าอ่อนหรือยอดอ่อนมาก เวลาสัตว์กินหญ้าอ่อนมักจะกินเร็ว ในหญ้าอ่อนมีสารในโปรตีนที่เรียกว่า Soluble protein สูง ซึ่งเป็นตัวให้เกิดฟอง
4.การเปลี่ยนสูตรอาหารเร็วเกินไป โดยเฉพาะอาหารข้น ทำให้จุลินทรีย์ปรับตัวไม่ทันเกิดอาการอาหารไม่ย่อย
#วิธีการป้องกันการเกิดแก๊สในท้อง(bloat)
1.ก่อนปล่อยสัตว์ลงกินในแปลงถั่วหรือทุ่งหญ้า ให้สัตว์ได้กินหญ้าแห้งรองท้องก่อนบางส่วน ป้องกันการกินต้นถั่วหรือหญ้าอ่อนมากเกินไป
2.อย่าเปลี่ยนสูตรอาหารข้นกระทันหัน ค่อยๆปรับ
ดูรายละเอียดของยารูมิเซน-Rumicen คลิ๊ก!!
.
.
ดูรายละเอียดของยา Hepagen (เฮปปาเจน)คลิ๊ก!!
#วิธีการแก้อาการท้องอืด(bloat)
1.การใช้ยาฉีดแก้ท้องอืด
ก.ฉีด“รูมิเซน-Rumicen” เข้าสวาบด้านซ้ายให้ทะลุถึงกระเพาะหมัก ขนาดตามคำแนะนำในฉลากยา
ข.ฉีด“Hepagen (เฮปปาเจน)“ 3 cc.เข้ากล้ามเนื้อส่วนที่แผงคอลึกๆ
2.ใช้สายยางที่ใช้วัดระดับน้ำตัดยาวประมาณ 70-80 cc. ค่อยๆ สอดเข้าทางปากให้สอดจนถึงกระเพาะหมัก (ให้วัดทาบภายนอกก่อน จากปากถึงสวาบด้านซ้าย แล้วทำเครื่องหมายไว้ เวลาสอดเข้าไปให้ถึงจุดที่ทำเครื่องหมายไว้ จากนั้นให้กดท้อง แก๊สจะออกมาพร้อมน้ำเขียวๆ ที่ปลายสายยาง ให้ทำการกดจนท้องนิ่มปกติ จึงถอดสายยางออก ตามด้วยการกรอกน้ำมันพืช 20-30 cc.
3.ใช้น้ำมันพืชกรอกปาก 10 cc.แล้วกดท้องตรงสวาบด้านซ้ายค่อยๆ กดแล้วปล่อยทำซ้ำๆ ให้พยุงหัวขึ้นหรือหนุนหัวขณะกดท้อง กรอกน้ำมันซ้ำอีก 10 cc.แล้วกดท้องซ้ำๆ อีก จนท้องนิ่มปกติ รอดูอาการ 5-10 นาที ถ้าสัตว์คลายตัวเริ่มเดินปกติหรือเห็นถ่ายขี้ออกมา ถือว่าปลอดภัย ให้กรอกน้ำมันอีกครั้ง 10 cc.
4.กรณีเป็นหนักมากต้องแก้วิธีเร่งด่วน ให้ใช้ trocar cannula หรือเหล็กกลวงก้านร่มตัดเป็นปากฉลามเหลาให้แหลมแทงตรงสวาบด้านซ้ายถึงกระเพาะ ปักคาไว้(อย่าลืมเช็ดแอลกอฮอร์ที่ปลายเหล็กก่อนแทงด้วย) ถ้าเครื่องมือข้างต้นไม่มี ใช้เข็มเบอร์ใหญ่สุดแทนได้ เบอร์ใหญ่ที่ขายทั่วๆไป คือเบอร์ 18 ให้ปักคาไว้หลายๆ เข็มที่สวาบด้านซ้ายจนจมเข็มประมาณ 4-5 เข็ม มือกดเบาๆ แก๊สจะพุ่งออกตามรูเข็ม เมื่อท้องยุบลงแล้ว ให้กรอกน้ำมันพืชอีก 10 cc. ป้องกันการเกิดแก๊สซ้ำ.
ขอบคุณ
http://tulyakul.blogspot.com/2011/06/blog-post..
นายก สมาคมผู้เลี้ยง แพะ-แกะไทย โดยนายก วสันต์ วโรกร
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=..
ดูอาการและฟังเสียงร้องเมื่อแพะท้องอืดให้เป็น.. 2018(ตอน1)