เลี้ยงสัตว์ » โรคเต้านมอักเสบของแพะ และวิธีรักษา

โรคเต้านมอักเสบของแพะ และวิธีรักษา

4 พฤศจิกายน 2018
11290   0

โรคเต้านมอักเสบ  (Mastitis)

มักพบโดยทั่วไปในแพะนม  ทั้งชนิดที่เป็นแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง  สาเหตุของการเกิดโรคเต้านมอักเสบคือ  เชื้อแบคทีเรีย  เช่น  Staphyllococcus  และ  Streptococcus  agalactiae  ซึ่งพบมากที่สุด

ลักษณะของเต้านมที่เป็นโรค  บางทีไม่สามารถสังเกตเห็นด้วยตาเปล่า  แต่ถ้าเป็นโรครุนแรงขึ้น  น้ำนมที่ปรากฏออกมานั้นจะมีก้อนหรือลักษณะเป็นเกล็ดนมติดออกมา  และอาจมีลักษณะเป็นสีเหลือง  หรือช้ำเหลือง  เมื่อชิมดูจะมีรสเปรี้ยว  ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาและปฏิบัติที่ดีแล้ว  เต้านมนั้นจะไม่สามารถรีดนมได้อีกต่อไป  และจะลุกลามไปยังเต้าอื่นๆ  ด้วย  โดยติดไปกับมือของผู้รีดนม  หรืออุปกรณ์รีดนมและบริเวณพื้นคอก  ฯลฯ

ข้อควรระวังในการรีดนมคือ  ต้องรักษาความสะอาดเต้านมทุกครั้งที่ทำการรีดนม  และระวังอย่าให้เกิดเป็นแผลขึ้นที่เต้านม  ประการสุดท้ายควรจะทำการรีดนมและให้อาหารสม่ำเสมอตรงเวลา

การรักษาเต้านมอักเสบ  ใช้สเตรปโตมัยซิน  ออริโอมัยซิน  เทอรามัยซิน   หรือเพนนิซิลิน  ฉีดเข้าเต้านมวันละครั้งเป็นเวลา  3  วัน  ร่วมกับการประคบด้วยน้ำอุ่น  หรือฉีดยาปฏิชีวนะเข้ากล้ามเนื้อก็จะทำให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น

เต้านมโค

เต้านมแต่ละเต้าแยกกันอย่างอิสระด้วยแผ่นผังผืดกั้นซ้ายและขวา หน้าและหลัง ดังนั้นหากเต้านมเต้าใดเต้าหนึ่งติดเชื้อทางหัวนม เชื้อจะไม่สามารถแทรกผ่านผังผืดจากเต้าหนึ่งไปยังอีกเต้าหนึ่งได้ นอกเสียจากว่าการติดเชื้อนั้นมาทางกระแสโลหิต ซึ่งในกรณีเช่นนี้เต้านมมักจะติดเชื้อทั้ง 4 เต้า

ภายในเต้านมแต่ละเต้าประกอบด้วยเนื้อเยื่อลักษณะคล้ายฟองน้ำอยู่ส่วนบนและส่วนล่างจะเป็นแหล่งรวมน้ำนม ที่ส่วนบนจะประกอบด้วยกระเปาะสร้างน้ำนม น้ำนมที่สร้างขึ้นที่นี่จะไหลผ่านท่อน้ำนมเล็กลงสู่ท่อใหญ่ แล้วไปรวมกันอยู่ที่แอ่งรวมน้ำนม

ก่อนถึงเวลารีดแม่โคจะปล่อยฮอร์โมนชนิดหนึ่งชื่ออ๊อกซีโทซินออกมา ฮอร์โมนจะออกฤทธิ์อยู่นาน 6-8 นาที หลังจากนั้นกล้ามเนื้อกระเปาะสร้างน้ำนมจะคลายตัว จึงไม่มีน้ำนมไหลออกมาอีก เมื่อเวลารีดนมน้ำนมจากแอ่งรวมน้ำนมจะไหลผ่านมายังโพรงหัวนม (Teat cistern) ที่ปลายหัวนมจะมีรูเปิดขนาดเล็ก ซึ่งโดยปกติรูเปิดนี้จะปิดอยู่เสมอด้วยการหดตัวของกล้ามเนื้อหูรูดที่แข็งแรง ถ้ากล้ามเนื้อจุดนี้ไม่แข็งแรงอาจเนื่องจากการรีดนมที่รุนแรง การกระทบกระแทรกหรือการเสื่อมสภาพเมื่อโคอายุมากขึ้นทำให้น้ำนมไหลออกมาเองได้เมื่อใกล้เวลารีดนม จึงเป็นสาเหตุให้แม่โคตัวนั้นเป็นโรคเต้านมอักเสบได้ง่าย..

ความยาวของรูเปิดประมาณ 7-11 มิลลิเมตรและโดยปกติรูเปิดจะถูกปิดด้วยสารชนิดหนึ่งเรียกว่า เคราติน เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ภายในเต้านม ดังนั้นการสอดยาเข้าเต้านมโคจึงไม่ควรสอดลึกจนเลยรูเปิดของหัวนมนี้เข้าไป เพราะปกติแล้วเชื้อโรคจะไม่สามารถผ่านแนวป้องกันตามธรรมชาตินี้ได้..

อาการ
เต้านมอักเสบมี 2 ลักษณะสำคัญคือ
1. เต้านมอักเสบแบบแสดงอาการ จะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเต้านมและน้ำนม เป็นได้มากน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ ปริมาณเชื้อ และตัวแม่โค เต้านมอาจมีลักษณะบวม แข็ง เท่านั้น หรือในรายที่เป็นรุนแรงมากอาจถึงกับเต้านมแตกก็มี ส่วนลักษณะน้ำนมอาจพบตั้งแต่น้ำนมเป็นสีเหลืองเข้มข้นจนถึงเป็นน้ำใสมีหนองปนเลือด เต้านมอักเสบแบบนี้แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
1.1 เต้านมอักเสบชนิดรุนแรง เต้านมอักเสบนี้แม่โคจะแสดงอาการป่วยร่วมด้วย เช่น มีไข้ เบื่ออาหาร หายใจหอบ ท้องเสีย
1.2 เต้านมอักเสบชนิดไม่รุนแรง เต้านมอักเสบชนิดนี้แม่โคจะกินอาหารได้ตามปกติ อาจพบมีไข้เล็กน้อย
1.3 เต้านมอักเสบชนิดเรื้อรัง เต้านมอักเสบชนิดนี้พบการเปลี่ยนแปลงของเต้านมได้เล็กน้อย หรืออาจพบแต่เพียงน้ำนมเปลี่ยนแปลงให้เห็นก็ได้ มักจะเป็นๆ หายๆ เมื่อคลำดูจะพบก้อนแข็งอยู่ภายในเต้านม
2. เต้านมอักเสบแบบไม่แสดงอาการ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะระของเต้านมและน้ำนมให้เห็น การอักเสบแบบนี้พบได้ 8-10 เท่าของการอักเสบแบบแสดงอาการ และมีสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพน้ำนมเสื่อม เนื่องจากปริมาณเชื้อแบคทีเรียและเม็ดเลือดขาวในน้ำนมสูง สามารถตรวจได้โดยใช้น้ำยา CMT หาปริมาณเม็ดเลือดขาวในน้ำนม

การรักษา
การรักษาโรคเต้านมอักเสบต้องใช้ยาปฏิชีวนะเป็นส่วนมาก เพราะสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ ยาปฏิชีวนะแต่ละชนิดก็สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียได้แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรศึกษาประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะต่างๆ ไว้ เพื่อจะได้ใช้ยาให้เหมาะสมกับชนิดของเชื้อแบคทีเรีย
การรักษาเต้านมอักเสบแบบแสดงอาการ
เต้านมอักเสบที่แสดงอาการไม่รุนแรงพบเฉพาะการเปลี่ยนแปลงลักษณะน้ำนมและเต้านมบวมเล็กน้อย โคไม่แสดงอาการป่วยร่วมด้วย ลักษณะเช่นนี้ใช้ยาสอดเต้าสำเร็จรูปของบริษัทต่างๆ เช่น คล๊อกซาเจล 200 แอมปิโอแฟค ลีโอเยลโล กานามัยซิน เจนทริเยน หรืออีริโทรมัยซิน (Cloxagell 200 Ampiofax, Leoyellow, Kanamycin, Gentreyen หรือ Erythromycin) สอดเต้าวันละ 1-2 ครั้ง เป็นเวลา 2-3 วัน ก็ได้ผลดี แต่ถ้าเป็นเต้านมอักเสบแบบรุนแรงแม่โคแสดงอาการป่วยร่วมด้วย เช่น ซึม ไข้สูง เบื่ออาหาร หายใจหอบ ถ้าพบลักษณะเช่นนี้จะต้องรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะหรือซัลฟาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือเข้าเส้นเลือดร่วมกับการให้น้ำเกลือ แอนติฮีสตามิน ยาลดการอักเสบ อ๊อกซีโตซิน แต่ก่อนรักษาควรเก็บน้ำนมส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการ เพื่อหาชนิดของเชื้อแบคทีเรียและทดสอบประสิทธิภาพของยาฆ่าเชื้อนั้นก่อน การให้อ๊อกซีโตซินก่อนรีดนมจะช่วยให้เต้านมปล่อยน้ำนมออกมาหมด และการให้คอร์ติโคสเตอรอยด์ แก่แม่โคท้องแก่ อาจทำให้เกิดการแท้งลูกได้
การสอดยาเข้าเต้านม
ก่อนสอดยาเข้าเต้านมหัวนมจะต้องสะอาดและแห้ง ตรวจความสะอาดหัวนมโดยเฉพาะรูเปิดด้วยแอลกอฮอล์ 70% และแต่ละเต้าควรใช้สำลีคนละชิ้น การสอดยาไม่ควรสอดหัวฉีดเข้าไปในหัวนมจนสุด เพราะจะไปทำอันตรายต่อสารเคราตินที่รูเปิดหัวนมได้ เมื่อสอดยาหมดแล้วควรคลึงเต้านมด้วยเพื่อให้ยากระจายออกไปทั่วทั้งเต้า
การรักษาเต้านมอักเสบแบบไม่แสดงอาการ
เต้านมอักเสบแบบไม่แสดงอาการจะมีประมาณ 8-10 เท่าของแบบแสดงอาการ ถ้าพบว่าน้ำนมภายในฟาร์มไม่ผ่านการตรวจรับของศูนย์รวมนม และปริมาณเม็ดเลือดขาวภายในน้ำนมสูง จะต้องทำการตรวจหาเชื้อจากแม่โคทุกๆ ตัว และทุกเต้า เมื่อพบเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคเต้านมอักเสบ ต้องรักษาทันทีเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อออกไปสู่แม่โคตัวอื่นๆ
การควบคุมและป้องกัน
1. ต้องเลี้ยงโคนมไม่ให้อยู่แออัดจนเกินไป
2. คอกที่เลี้ยงต้องแห้ง สะอาด ไม่ปล่อยให้อุจจาระหมักหมม
3. แม่โคที่นำเข้ามาใหม่ควรได้รับการตรวจโรคเต้านมอักเสบก่อนที่จะนำมาเลี้ยงในฟาร์ม
4. ก่อนการรีดนมควรล้างเต้านมให้สะอาดด้วยน้ำยาคลอรีนและเช็ดให้แห้ง
5. ผ้าเช็ดเต้านมต้องใช้ตัวละหนึ่งผืน และต้องแห้งสะอาด
เก็บตัวอย่างน้ำนมประมาณ 8-10 มิลลิลิตร/ตัว เขียนหมายเลขโคหรือชื่อโค ชื่อเจ้าของหรือเบอร์ถังนม และเต้านม น้ำนมที่ได้ควรเก็บไว้ในที่เย็น เพราะในอุณหภูมิสูงปริมาณเชื้อแบคทีเรียจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น และเซลล์ในน้ำนมจะสลายตัวในเวลา 10 -12 ชั่วโมง

6. มือผู้รีดก่อนทำการรีดจะต้องล้างให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง ถ้าสวมถุงมือได้ยิ่งเป็นการดี
7. ก่อนรีดน้ำนมทุกครั้งต้องตรวจด้วยถ้วยตรวจนม (strip cup)
8. ควรเช็ดหัวนมทุกครั้งหลังรีดนมด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น คลอเฮกซิดิน (0.5%) หรือไอโอไดฟอร์ (0.5-1.0%)
9. ควรตรวจโคในฝูงด้วยน้ำยา CMT ทุกครั้งที่ตรวจพบว่าโคเป็นโรคเต้านมอักเสบ หรือ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
10. ควรสอดยาดราย (Dry) เพื่อป้องกันการเกิดเต้านมอักเสบในช่วงก่อนหรือหลังคลอดลูกใหม่ๆ
การเก็บตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการ
การรักษาโรคเต้านมอักเสบในบางครั้งไม่ได้ผล เนื่องจากการเกิดการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรีย การเก็บตัวอย่างส่งตรวจจะช่วยให้ทราบถึงประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะที่ควรใช้รักษาและยังทราบชนิดของเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคเต้านมอักเสบ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการวางแผนควบคุมโรคเต้านมอักเสบภายในฟาร์มด้วย ตลอดจนเป็นการฝึกฝนการสังเกตการเปลี่ยนแปลงลักษณะเต้านม น้ำนม และอาการของโคที่เป็นโรคเต้านมอักเสบแบบแสดงอาการเพื่อให้เกิดความชำนาญในการวินิจฉัยหาชนิดของเชื้อต้นเหตุต่อไป
วิธีการเก็บตัวอย่าง
ล้างเต้านมให้สะอาดด้วยน้ำยาคลอรีน เช็ดเต้านมให้แห้งแล้วเช็ดหัวนมด้วยแอลกอฮอล์ 70% รีดน้ำนมทิ้ง 2-3 ครั้ง ก่อนรีดลงหลอดหรือขวดหรือขวดบรรจุน้ำนมที่เอียงทำมุม 45 องศา กับพื้นเพื่อป้องกันฝุ่นละอองตกลงไป

ขอบคุณ http://tulyakul.blogspot.com/2012/11/..
http://region7.dld.go.th/DControl/Data/Disease/Cow/..

 

โรคเต้านมอักเสบของแพะ และวิธีรักษา จาก เพื่อนๆชาวแพะในเฟซบุ๊ค เลี้ยงแพะยั่งยืน

●อ.มีดบิน ฟาร์มไก่ชน ต้องบีบออกให้หมด
●Anuchit Suwanarat ประคบน้ำอุ่นก่อน
นักบุญ ปีศาจ ถ้าไม่ได้น้ำอุ่นประคบ นวดๆตามที่แนะนำ คงบีบไม่ออกเป็นแน่
Phanatchakon Promtai ที่คอกเคยเป็นเต้าใหญ่ข้างหนึ่งบวมด้วย ฉีดเพ็บสเตป แอล เอ และเอาน้ำอุ่นประคบและนวดๆบีบๆนมไหลออกเหมือนแป้งเปียกเลยค่ะ
Sunan Chaikong ลองเอาสองนิ้วค่อยๆคลึงและบีบเบาให้ไขคล้ายๆหัวสิวหลุดออกก่อน บีบนมค้างเต้าแพะออกก่อน เต้าอาจยังปกติก็ได้
สิริกร ใกล้ผล มีไขมันอุดตันสีดำๆค่ะบีบออกลูกแพะก้จะดูดได้แล้วค่ะ
Rattanapron Machanon ….ไม่ทราบว่าที่นั่นมียา บลูต้าไดโครพลัสหรือป่าว..ตัวนี้ใช้กับนมอีกเสบได้ดีมาก.
Rattanapron Machanon รีดทิ้งก่อนเลยค่ะ.ปล่อยให้นมคัดจนเต้าจะแข็งแล้ว..รีดออกให้เหลือนิดหน่อยค่ะ
เก้า กันยา ใช้เข็มเย็บผ้าล้างแอลกอฮอ ค่อยๆแหย่ + ใช้น้ำอุ่นประคบ ค่อยๆนวด
Isaraman Thippayanon เต้านมอักเสบเป็นไตแข็ง

1. เช็ดเต้าทำความสะอาด
2. ใช้ยาสอดเต้า สอดครึ่งหลอด หรือ ใช้เจนต้ามัยซิน 2 cc. สอดเต้า (ให้ตัดเข็มชิดขอบพลาสติก ฝนให้หายคม) ทิ้งไว้ ประมาณ 5 นาที นวดคลึงเต้า แล้วรีดออก ออกเท่าที่ออกได้ ทำติดต่อทุกวัน 2-3 วัน
3. ฉีดเพ็นไดสเตร็ป 1:20 เข้ากล้ามเนื้อ
4. นวดเต้าด้วย “บิสครีม” หรือน้ำมันอื่นๆที่หล่อลื่น หรือครีมต่างๆ ก็ได้ เช่น เคาเตอร์เพนบาล์ม , ไดฟีลีน จะชนิดเย็นหรือร้อนก็ได้ นวดทุกวัน เช้า-เย็น ยิ่งดี จนกว่าเต้านมจะนิ่มปกติ
ต้องทำต่อเนื่อง อาจต้องใช้เวลานานหน่อย แล้วแต่ความรุนแรงของอาการ การนวดทุกครั้ง ควรรีดเอาของเสียภายในออกทุกครั้ง เท่าที่รีดออกได้ ส่วนลูกที่ไม่มีนมของแม่ให้กิน ก็ต้องจัดหานมแหล่งอื่นมาเสริมครับ!