ขอบคุณข้อมูลจาก คุณ Suphaset Ariyachaisakun เฟซบุ๊ค เลี้ยงแพะยั่งยืน
กากนมถั่วเหลือง (Soy-milk residue)
คุณสมบัติ
– เป็นผลพลอยได้จากขบวนการผลิตน้ำเต้าหู้ หรือนมถั่วเหลืองซึ่งในขบวนการผลิตนมถั่วเหลือง เมล็ดจะผ่านการต้มให้สุกจึงมีการทำลายสารยับยั้งทริปซินไปด้วย สามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ได้
– มีโปรตีน ประมาณ 31.5% ไขมัน 8.88% เยื่อใย 12.2% โดยน้ำหนักแห้ง
– มีสัดส่วนกรดอมิโนใกล้เคียงกับกากถั่วเหลือง โดยระดับโปรตีนรวมต่ำกว่ากากถั่วเหลือง
ข้อจำกัด
– มีระดับเยื่อใยค่อนข้างสูง ตั้งแต่ 12-22% ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นกับขบวนการผลิต จึงเป็นตัวจำกัดการใช้เป็นอาหารสัตว์กระเพาะเดี่ยว
– สามารถใช้ได้ดีในอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง
– กากเต้าหู้สดจากโรงงาน มีความชื้นสูง (ประมาณ 80-90%) มีโปรตีน (สภาพสด) ต่ำ และบูดเสียง่าย ควรตากให้แห้งสนิท จึงจะเก็บไว้ใช้ได้นาน
ข้อแนะนำการใช้
– สัตว์กระเพาะเดี่ยว เช่น สัตว์ปีก สุกร ใช้เป็นแหล่งโปรตีนทดแทนกากถั่วเหลืองและปลาป่นได้บางส่วน ระดับที่ใช้ผสมสูตรอาหารข้นประมาณ 15-20% ไม่เหมาะจะใช้ในลูกสัตว์ระยะเล็ก
– ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง สามารถใช้ผสมในสูตรอาหารข้นได้สูงถึง 40% หรือให้เป็นแหล่งโปรตีนเสริมคุณภาพอาหารหยาบ
ดูสรุปทุกเรื่องราวของแพะจากเฟซบุ๊ค “เลี้ยงแพะยั่งยืน”ร่วมกับ 108kaset.com คลิ๊ก!!
ขอบคุณ http://www.thailivestock.com/cattle_handling/%E0%..