เลี้ยงสัตว์ » พื้นฐานของการใช้ยาปฏิชีวนะและยากลุ่มสเตรียรอยด์ โดย อ.Isaraman Thippayanon

พื้นฐานของการใช้ยาปฏิชีวนะและยากลุ่มสเตรียรอยด์ โดย อ.Isaraman Thippayanon

19 พฤษภาคม 2019
1676   0

พื้นฐานของการใช้ยาปฏิชีวนะและยากลุ่มสเตรียรอยด์ โดย อ.Isaraman Thippayanon

Isaraman Thippayanon แนะนำให้ทำความเข้าใจกับยาแต่ละชนิด ว่ามีคุณสมบัติอะไร เพื่อพบอาการก็ใช้รักษาตามคุณสมบัตินั้นๆ เป็นพื้นฐานของการใช้ยา ยกตัวอย่าง แล้วนำไปใช้ตามอาการดูครับ..


1. อ๊อกซี่เต็ดตร้าไซคลีน ถ้าเป็น แอลเอ. ยาจะวนในกระแสเลือดนาน 72 ชม. เป็นปฏิชีวนะ กำจัดเชื้อแบคทีเรีย (เชื้อส่วนใหญ่จะเป็นแบคทีเรีย) กรณีไวรัสไม่สามารถกำจัดได้ ถ้ากรณีเป็นโปรโตซัวจะทำให้อ่อนแอลง แต่ไม่ได้ฆ่า ยาปฏิชีวนะแต่ละชนิด มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อเฉพาะที่ต่างกัน ส่วนอ๊อกซี่ฯ จะเป็นแบบครอบจักรวาล อัตราใช้ ส่วนใหญ่ฉลากแนะนำ 1:10

2. คลอรามีน เป็นยาที่ประกอบด้วย คลอเฟนิรามีน คุณสมบัติ แก้แพ้ อากาศ-พิษสัตว์กัดต่อย ลดน้ำมูก-น้ำลาย อัตราการใช้ตามคำแนะนำฉลากส่วนใหญ่ 1:10

3. โนวาซีแลน, เยนเนอยิ่น เป็นยาลดไข้ทั่วไป ใช้เฉพาะกรณีพบว่าสัตว์มีไข้ ด้วยการวัดด้วยปรอท สอดเข้าทางทวารหนัก (ไม่แนะนำใช้วิธีจับสัมผัส ซึ่งผลไม่ชัดเจน) กรณีไข้สูงจัด ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดย้อนขน (เหมือนเช็ดตัวเด็กเป็นไข้) อัตราแนะนำฉลากทั่วไป 1:10

4. บิวต้าซิล เป็นแก้ปวดลดไข้ ลดอาการบวมบางส่วน อัตราแนะนำฉลาก 1:10

5. เด็กซ่ามีราโซล (เด็กซอน-เอ) เป็นยากลุ่มสเตรียรอยด์ ไม่ควรใช้กับสัตว์ท้อง แก้อาการอักเสบเฉพาะที่ เช่น ข้อ กล้ามเนื้อ ลดอาการบวม (ข้อบวม ปอดบวม) เต้านมอักเสบ เป็นต้น อัตราใช้สัตว์ใหญ่ 3-10 cc. สัตว์เล็ก 0.5-3 cc.(มีสรรพคุณลดไข้ได้) ไม่แนะนำใช้ร่วมกับยาลดไข้

6. ยาปฏิชีวนะกำจัดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินหายใจ ใช้รักษากรณี สัตว์ท้องเสีย ถ่ายเหลวติดเชื้อ และ เป็นหวัด โรคทางเดินหายใจ หายใจติดขัด ไอ จาม เช่น
– เอ็นโรฟล็อกซาซิน เช่น เอ็นโรการ์ด , เอ็นโร-100
– ซัลฟามีโธซาโซล เช่น ซัลฟาเมท , ไบรีน่า , อินเตอร์ทริม
– เจนต้ามัยซิน
– กาน่ามันซิน
– ลินโคมัยซิน

ที่มา –https://web.facebook.com/groups/1211728858838662/permalink/2474016515943217/