หอมๆ เหมือนซีอิ้วดำ กากน้ำตาล เป็นกากที่ได้จากการผลิต
น้ำตาลอ้อย โมลาสจะมีกลิ่นหอมหวาน ตัวนี้ใช้เป็นอาหารจุลินทรีย์
เพราะน้ำตาล เป็นอาหารให้แก่จุลินทรีย์ รา ยีสต์ สัดส่วนการ
ปรุงก็เปลี่ยนไป ถ้าใช้กากน้ำตาล 1 ส่วน เราใช้น้ำตาลแค่ครึ่งนึง)
หมักไว้ในภาชนะที่มีผาปิดมิดชิดอย่าให้อากาศเข้าได้เป็นเวลา 7 วัน แล้วนำมาใช้ให้หมดภายใน 7 วัน
ใช้เวลา 2-3 วัน ให้เปิดฝาเพื่อระบายแก๊สออก คนให้เข้ากันเล็กน้อยแล้วปิดฝาตามเดิม พอหมักครบ 2 สัปดาห์ …ถ้าเปิดดูมีฝ้าขาว ๆ แสดงว่าจุลินทรีย์ขยายตัวแล้ว
*เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำ และกากน้ำตาลจะมีกลิ่นหอมและเป็นฟองขาว ๆ ภายใน 2 – 3 วัน ถ้าไม่มีฟองดังกล่าวแสดงว่า การหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล
วิธีใช้น้ำหมัก EM
- ใช้กับพืช (ปุ๋ยน้ำ)ผสม น้ำในอัตรา 1:1000 (EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร) ใช้ฉีด พ่น รด ราด พืชต่าง ๆ ให้ทั่ว เป็นการเพิ่มจุลินทรีย์ลงดิน การใช้จุลินทรีย์สดในดิน ควรมีอินทรีย์วัตถุปกคลุมด้วย เช่น ฟางแห้ง ใบไม้แห้ง เพื่อรักษาความชื้นและเป็นอาหารของจุลินทรีย์
- ใช้ในการทำปุ๋ยหมักแบบต่าง ๆ ,ปุ๋ยอินทรีย์จากซากพืชซากสัตว์
- ใช้กับสัตว์ ให้ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 200 ลิตร ให้สัตว์กินทำให้แข็งแรงผสม และEM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร ใช้พ่นคอกให้สะอาดกำจัดกลิ่นหากสัตว์เป็นโรคทางเดินอาหารให้กิน EM สด 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับอาหารให้สัตว์กิน
- ใช้ดับกลิ่นในคอกสัตว์ ห้องน้ำ แม่น้ำลำคลองที่เน่าเสีย
การเก็บรักษาอีเอ็ม (EM) เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ถึง 45 องศาเซลเซียส (อย่าเก็บในตู้เย็น)
โดยปิดฝาให้สนิทอย่าให้อากาศเข้าได้ ถ้าเปิดใช้แล้วต้องรีบปิดทันที เก็บรักษาไว้ได้ประมาณ 6-8 เดือน
////////////////////////////////////////
ริวกิว เมืองโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้เทคนิคทางชีวภาพ รวบรวมเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ หมวดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ช่วยปรับปรุงสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
จุลินทรีย์หมวดสร้างสรรค์ที่มีใน EM ได้แก่ กลุ่มจุลินทรีย์แสง แลกโตบาซิรัส เพนนิซีเลี่ยม ไตรโคเดอมา ฟูเซเลียม สเตปโตไมซิส อโซเบคเตอ ไรโซเบียม ยีสต์รา รูปเส้นใย ฯลฯ
1. เป็นของเหลวสีน้ำตาลกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน (เกิดจากการทำงานของกลุ่มจุลินทรีย์ต่าง ๆ ใน E.M.)
2. เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีหรือยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้
3. ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช และแมลงที่เป็นประโยชน์
4. ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
5. เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ ที่ทุกคนสามารถนำไปเพาะขยายเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง
เพาะขยายจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากกว่า 80 ชนิด จากกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
o กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติค
o กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน
o กลุ่มจุลินทรีย์เอคทีโนมัยซีทส์
o กลุ่มจุลินทรีย์ยีสต์
ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ได้จากธรรมชาตินำมาเพาะเลี้ยงและขยายให้จุลินทรีย์ขยายตัวด้วย
ปริมาณที่สมดุลกันด้วยเทคโนโลยีพิเศษ โดยใช้อาหารจากธรรมชาติ เช่น โปรตีน รำข้าว และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
ประโยชน์ของจุลินทรีย์โดยทั่วไป
ด้านการเกษตร
1. ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำ
2. ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืชและโรคระบาดต่าง ๆ
3. ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศผ่านได้ดี
4. ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ เพื่อให้เป็นปุ๋ย (อาหาร) แก่อาหารพืชดูดซึมไปเป็นอาหารได้ดี ไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
5. ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช พืชให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีขึ้น
6. ช่วยให้ผลผลิตคงทน สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน มีประโยชน์ต่อการขนส่งไกล ๆ เช่น ส่งออกต่างประเทศ
7. ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ ไก่และสุกร ได้ภายในเวลา 24 ชม.
8. ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์
9. ช่วยกำจัดแมลงวัน โดยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเป็นตัวแมลงวัน
10. ช่วยป้องกันอหิวาห์และโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนยาปฏิชีวนะและอื่น ๆ ได้
11. ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรงมีความต้านทานโรคสูง ให้ผลผลิตสูงอัตราการตายต่ำ.
1. ช่วยควบคุมคุณภาพในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้
2. ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำเป็นอันตรายต่อกุ้ง ปลา กบ หรือสัตว์น้ำที่เลี้ยงได้
3. ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กบ จระเข้ ฯลฯ ได้
4. ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ และทำให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมปุ๋ยหมักใช้พืชต่าง ๆ ได้อย่างดี.
1. ช่วยปรับสภาพเศษอาหารจากครัวเรือน ให้กลายเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อพืชผักได้
2. ช่วยปรับสภาพน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน โรงงาน โรงแรมหรือแหล่งน้ำเสีย
3. ช่วยดับกลิ่นเหม็นจากกองขยะที่หมักหมม มานานได้
1. สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน อย่างน้อย 6 เดือน ในอุณหภูมิห้องปกติ ไม่เกิน 46 – 50 C ต้องปิดฝาให้สนิท อย่าให้อากาศเข้าและอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น
2. ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท
3. การนำ E.M. ไปขยายต่อควรใช้ภาชนะที่สะอาดและใช้ให้หมดภายในเวลาที่เหมาะสม.
1. หากนำไปส่องด้วยกล้องจุลทัศน์ที่มีกำลังขยายสูงไม่ต่ำกว่า 700 เท่า จะเห็น
จุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ อยู่มากมาย
2. E.M. ปกติจะมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน ถ้าเสียแล้วจะมีกลิ่นเน่าเหมือน
กลิ่นจากท่อน้ำทิ้งเก่า ๆ (E.M. ที่เสียอย่าทิ้ง…ใช้ผสมน้ำรดกำจัดวัชพืชได้)
3. กรณีที่เก็บไว้นาน ๆ โดยไม่มีเคลื่อนไหวภาชนะ จะมีฝ้าขาว ๆ เหนือผิวน้ำ
E.M.นั่นคือการทำงานของ E.M. ที่พักตัวเมื่อเขย่าหรือคนแล้วทิ้งไว้ชั่วขณะ ฝ้าสีขาวจะสลายตัวกลับไปใน E.M. เหมือนเดิม.
ขอขอบคุณที่ติดตามครับ
ปื้น ปากพนัง
www.108kaset.com
http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php/topic,775.0.html
https://www.kroobannok.com/17137
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=sasiseesom&month=12-11-2014&group=12&gblog=67
https://www.organicfarmthailand.com/how-to-make-effective-microorganisms/