เลี้ยงสัตว์ » รัฐฯเร่งใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางระบบสืบพันธุ์ ลดการนำเข้าแพะแกะพันธุ์แท้ราคาสูง..TY

รัฐฯเร่งใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางระบบสืบพันธุ์ ลดการนำเข้าแพะแกะพันธุ์แท้ราคาสูง..TY

10 มิถุนายน 2018
3456   0

http://bit.ly/2JpiREi

ใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางระบบสืบพันธุ์  ลดการนำเข้าแพะแกะพันธุ์ได้
ศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. มงคล เตชะกำพุ
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

..รู้ไหมว่าเมืองไทยเราก็เลี้ยงแพะแกะจำนวนไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซนต์ของประชากรแพะแกะทั่วโลก คือทั่วโลกมีประมาณพันล้าน บ้านเรามีแค่ห้าแสนตัว บางคนบอกก็มันเหม็น มีกลิ่นสาป รสชาติก็สู้หมู ไก่ ปลา กุ้งไม่ได้ ทำอาหารก็ยาก  แต่หารู้ไม่ว่าแพะแกะ นี้เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย มีลูกได้หลายตัวต่อปี เทียบกับวัว ควาย ปีละตัวก็เก่งแล้ว พื้นที่ว่างเปล่า มัวไปปลูกอ้อยส่งให้นายทุนโรงน้ำตาล ถ้าเอามาเลี้ยงแพะแกะ รับรองจะมีรายได้มากกว่าเสียอีก..

 

แพะและแกะที่เลี้ยงมีหลายสายพันธุ์ แพะมีทั้งพันธุ์เนื้อ นมและหนัง  ทั้งพันธุ์ที่ให้ขน เช่น แกะพันธุ์เมอริโนและพันธุ์ที่ให้เนื้อ เช่นแกะพันธุ์ดอร์เปอร์ หรือแพะพันธุ์บอร์ เป็นพันธุ์เนื้อที่มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว ให้คุณภาพซากที่ดี มีสัดส่วนเนื้อมาก และรสชาติของเนื้อที่ดีเป็นความต้องการของตลาดผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ

 

..ขออนุญาตจาก ดร.สุวิทย์ มานำเสนอท่านได้ให้ข้อมูลว่าในประเทศไทยพันธุ์แพะที่เลี้ยงในประเทศไทยทั้งแพะพันธุ์เนื้อและแพะพันธุ์นม เช่น พันธุ์จัมนาปรี (เนื้อ/นม) แบลค เบงกอล (เนื้อ/หนัง) คาลฮารี เรด (เนื้อ) แองโกลนูเบียน (เนื้อ/นม)  ซาแนน (นม)  อัลไพน์ (นม) ทอกเกินเบอร์ก (นม) บอร์ (เนื้อ) แพะพื้นเมืองภาคใต้ ภาคเหนือ หลาวซาน และแพะพันธุ์ที่ทางกรมปศุสัตว์พัฒนาขึ้น ได้แก่ ..

-กปศ (Anglo x Native = AN x Boer = DLD3)

-แพะแดงสุราษฎร์ (Toggenberk x Native = TN x Kalahari = Dang Surat)

 

การปรับปรุงพันธุ์แพะแกะในประเทศไทย
ยังต้องอาศัยการนำเข้าของต้นพันธุ์จากต่างประเทศเป็นระยะ ๆ  ล่าสุดได้มีการจะนำเอาแพะชามี(Shami) หรือแพะดามัสกัส(Damascus) เป็นแพะพื้นเมืองของประเทศซีเรีย (Syria) และกลุ่มประเทศตะวันออกเข้ามา

แพะชามีถูกนำเข้ามาเมื่อ 70 ปีมาแล้ว และได้พัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมากว่า 40 ปี ได้การรับรองทรัพยากรพันธุกรรม จาก FAO/UNEB โดยสามารถให้น้ำนมได้ 305 วัน (lactation length) ถึง 1,000 กิโลกรัม  ระดับแชมเปี้ยนให้น้ำนม 8.5 กิโลกรัมต่อวัน ในขณะที่แพะในประเทศไทย ให้น้ำนมน้อยเพียง 1-2 กิโลกรัมต่อวัน  นอกจากนี้ยังจะมีการนำเข้าแพะนมพันธุ์ MurcianoGranadina (MG) จากประเทศสเปน

ปัจจุบันมีการนำเข้าพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์จากต่างประเทศ ข้อมูลในปี พ.ศ. 2557 และ 2558 พบว่ามีจำนวนนำข้าแพะพันธุ์เพียง 149 และ 75 ตัว  (กรมศุลกากร,  2558)   เนื่องจากมีราคาแพงและมีจำนวนน้อย และมีขั้นตอนการนำเข้าค่อนข้างเข้มงวด เพื่อป้องกันมิให้มีการนำโรคติดต่อใหม่ๆ เข้ามาในประเทศไทย   ทำให้แพะแกะพันธุ์ถูกจำกัดอยู่เฉพาะสถานีวิจัยปศุสัตว์ของทางราชการหรือฟาร์มที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น   ฟาร์มแพะหรือแกะที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง จึงมักขาดพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่ดี ในบางครั้งก่อให้เกิดปัญหาเลือดชิด (inbreeding) ลูกที่เกิดมามีความผิดปกติ ตัวเล็กแคระแกรน ผสมติดยาก คุณภาพซากต่ำ เป็นต้น

นำเข้าราคาแพง
การขนส่งจากต่างประเทศและการนำเข้าทำให้ราคาของพ่อแม่พันธุ์จากต่างประเทศค่อนข้างสูง ซื้อขายกันอาจถึงตัวละ 45,000-500,000 บาท ขึ้นกับสายพันธุ์  ดังนั้นหากใช้เทคโนโลยีขั้นสูงทางวิทยาการสืบพันธุ์ที่ทางคณะผู้วิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มีความพร้อม คือการผสมเทียมและการย้ายฝากตัวอ่อน จะสามารถลดต้นทุนของการซื้อพ่อแม่พันธุ์จากต่างประเทศ กระจายพันธุ์ได้เร็วขึ้นและสามารถส่งลูกแพะแกะพันธุ์ดีที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อเป็นการกระจายหรือจำหน่ายแก่เกษตรกรไทยเพื่อให้เป็นต้นพันธุ์ในฟาร์มต่อไป ลดการขาดดุลการค้าของเศรษฐกิจไทย…

รวมทั้งหากการทำต้นแบบดังกล่าวประสบความสำเร็จ ประเทศไทยอาจมีขีดความสามารถที่ก้าวหน้าขึ้นจนกระทั่งส่งขายเป็นพ่อแม่พันธุ์แก่ต่างประเทศได้  โดยเฉพาะโอกาสที่ประเทศไทยจะเปิดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อาทิเช่น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asian Economics Community; AEC)

กอร์ปกับมีโรคที่สำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก เช่น โรคปากและเท้าเปื่อย- โรคซีเออี- โรคแท้งติดต่อ- หรือโรคสเครบีซึ่งต้องทำการป้องกันด้วยการตรวจโรคพ่อแม่พันธุ์อย่างสม่ำเสมอ และหากมีปัญหาก็ต้องทำการคัดทิ้ง ตามหลักการทางสัตวแพทย์ เพื่อป้องกันการติดต่อของโรคไปยังฝูง อันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อการเลี้ยงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ซึ่งการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวจะทำให้ลดการแพร่ของโรคระบาดติดต่อ และลูกสัตว์ที่เกิดขึ้นมีความทนทานจากภูมิคุ้มกันท้องถิ่นสูงกว่าสัตว์ที่ถูกนำเข้าจากต่างประเทศ รวมไปถึงการลดความเสี่ยงโรคอุบัติใหม่จากสัตว์ต่างถิ่น (Emerging infectious diseases) อีกด้วย

จึงเป็นที่มาของการที่คณะผู้วิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ  มีความสนใจและศึกษาทำวิจัยเรื่อง “โครงการการผลิตแพะพันธุ์นมในจังหวัดน่าน” โดยได้ดำเนินการศึกษาระหว่างปีพ.ศ. 2551 – 2556 โดยได้ทุนสนับสนุนการวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งคณะผู้วิจัยได้ศึกษาวิจัยและพบความเป็นไปได้ในการผลิตสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กด้วยเทคโนโลยีชีวภาพทางการสืบพันธุ์ชั้นสูง และโครงการ การพัฒนาประสิทธิภาพเทคโนโลยีการแช่แข็งตัวอ่อนแกะ และการจัดตั้งต้นแบบธุรกิจผลิตสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กด้วยเทคโนโลยีชีวภาพทางระบบสืบพันธุ์จากการสนับสนุนของสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)เล็งเห็นถึงความสามารถในการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยดังกล่าวในต้นแบบธุรกิจ (Business Model) การให้บริการการผลิตและขยายพันธุ์สัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กด้วยเทคโนโลยีชีวภาพทางการสืบพันธุ์ชั้นสูงแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะและแกะในประเทศไทย.

เรียบเรียงจาก http://www.inewhorizon.net/%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0..

https://www.google.com/search?q=%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%..