เลี้ยงสัตว์ » ภัยเงียบของ ยาจุดกันยุง..เป็นสารตั้งต้นของหลายโรค? TY

ภัยเงียบของ ยาจุดกันยุง..เป็นสารตั้งต้นของหลายโรค? TY

24 มิถุนายน 2018
2470   0

 

ยาจุดกันยุง

ยากันยุงประเภทนี้จะระเหยสารออกฤทธิ์ขับไล่ยุงหรือฆ่ายุงเมื่อถูกจุดจนติดไฟ การใช้งานจึงควรจุดในที่โล่งแจ้ง มีพื้นที่กว้าง และห่างไกลจากคน โดยเฉพาะเด็กเล็กและทารก เพราะการสูดดมสารไล่ยุงที่ระเหยออกมาเป็นเวลานานสามารถสร้างความระคายเคืองแก่ระบบทางเดินหายใจและเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ผู้ปกครองจึงควรเก็บให้ห่างไกลจากมือเด็ก เพื่อไม่ให้เด็กสัมผัสโดนสารเคมีแล้วนำเข้าสู่ร่างกาย..

 

สูดดมยากันยุงมากอันตราย อย. แนะใช้อย่างระวัง..

อย. เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีความห่วงใยผู้บริโภค ยาจุดกันยุงส่วนใหญ่จะนิยมใช้สารไล่หรือป้องกันยุงในกลุ่มไพรีทรอยด์ (pyrethroids) ซึ่งเป็นสารเคมีสังเคราะห์ที่เลียนแบบสารไพรีทรินส์ (pyrethrins) ที่สกัดได้จากพืชตระกูลเบญจมาศ (สารสกัดไพรีทรัม หรือ pyrethrum extract)

ตัวอย่างสารออกฤทธิ์กลุ่มไพรีทรอยด์ที่นิยมใช้ในยาจุดกันยุงและขึ้นทะเบียนไว้กับ อย. เช่น ดี-อัลเลทริน (d-allethrin), เอสไบโอทริน (esbiothrin), เมโทฟลูทริน (metofluthrin) เป็นต้น

สารไพรีทรอยด์ในยาจุดกันยุงจะไปรบกวนการทำงานของระบบประสาท ทำให้ยุงเป็นอัมพาตอย่างรวดเร็ว และตกลงมาหงายท้อง นอกจากนี้สารไพรีทรอยด์ยังมีฤทธิ์ในการไล่ยุงด้วย ควันที่ปล่อยออกมาจากยาจุดกันยุงที่มีส่วนผสมของไพรีทรอยด์จึงช่วยลดอัตราการกัดของยุงและป้องกันการรบกวนจากยุงในบริเวณที่จุดได้ ..

หากสูดดมควันที่ปล่อยออกมาจากยาจุดกันยุงในปริมาณมาก เช่น อยู่ในบริเวณที่คับแคบไม่มีอากาศถ่ายเทติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจเป็นอันตรายได้ โดยความรุนแรงของอาการพิษขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย หากได้รับในปริมาณสูงจะมีอาการพิษเฉียบพลัน ได้แก่ มึนงง ปวดศีรษะ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก อ่อนเพลีย ชัก หรือหมดสติได้ ส่วนอาการพิษอื่น ๆ ที่พบ ได้แก่ อาการแพ้ทางผิวหนัง คัน มีผื่นแดง หากเข้าตาอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองได้ ..

รู้ไหม?ควันจากยาจุดกันยุงเพียง 1 ขด เทียบเท่าควันจากบุหรี่ 50 มวน.

รายละเอียด**

ส่วนผสมหลักที่ใช้ทำยาจุดกันยุง

  1. สารออกฤทธิ์ คือ สารสังเคราะห์ไพรีทรอยด์ เช่น
  • แอลเลอทริน (Allethrin) มีลักษณะเป็นน้ำมัน สีเหลืองอ่อน มีจุดเดือด 140 องศาเซลเซียส ละลายน้ำได้เล็กน้อย และละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์
  • ไบโอแอลเลอทริน หรือ ดี-แอลเลอทริน (Bioallethrin, d-Allethrin) ออกฤทธิ์รุนแรงกว่าแอลเลอทริน มีลักษณะเป็นของเหลวเหนียวเป็นยาง สีเหลืองอำพัน ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์
  1. วัสดุช่วยเผาไหม้ เช่น ผงไม้โกบ๊วย
  2. สารยึดเกาะ เช่น แป้งจากธรรมชาติ
  3. สารเติมแต่ง เช่น สี ยากันบูด

นอกจากนี้บางผลิตภัณฑ์อาจมีส่วนผสมของสารสกัดสมุนไพรที่ให้กลิ่น และช่วยออกฤทธิ์ เช่น ตะไคร้ ขมิ้น มะกรูด สะเดา เป็นต้น.

 

ดังนั้น เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดต่อสุขภาพ ผู้บริโภคควรปฏิบัติตามนี้เมื่อจะใช้ยากันยุง

-จุดยาจุดกันยุงในห้องที่มีอากาศถ่ายเทและเก็บให้มิดชิด

-ไม่ควรวางไว้ใกล้หรือรวมกับอาหาร

-วางให้พ้นมือเด็ก

-หลังจากสัมผัสยาจุดกันยุงทุกครั้งควรล้างมือให้สะอาด

-ควรใช้ขาตั้งหรือถาดรองยาจุดกันยุงที่ทำด้วยโลหะหรือวัสดุที่ไม่ติดไฟ ขณะใช้ควรวางให้ห่างวัตถุไวไฟหรือของที่เป็นเชื้อไฟได้ เพื่อป้องกันอัคคีภัย

ทั้งนี้ หากได้รับอันตรายจากการใช้ยาจุดกันยุง หรือพบผลิตภัณฑ์ที่สงสัยว่าไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ อย. สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ.

 

ขอบคุณ https://www.pobpad.com/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0..
https://health.kapook.com/view95154
เว็บไซต์ อย.
https://www.google.com/search?newwindow=1&…
http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php