โบรอนมีบทบาทในการสังเคราะห์และย่อยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตในพืช ช่วยในการลำเลียงน้ำตาลในพืช เกี่ยวข้องกับการดูดและคายน้ำ และกระบวนการสังเคราะห์แสง จำเป็นสำหรับการงอกของหลอดละอองเกสรตัวผู้ในช่วงการผสมเกสร จำเป็นในการแบ่งเซลล์โดยเฉพาะบริเวณปลายยอดและปลายราก เกี่ยวข้องกับการดูดธาตุแคลเซียมของรากพืช
..ดังนั้นโบรอนเป็นธาตุอาหารที่ค่อนข้างมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันมาก การขาดธาตุโบรอนของปาล์มน้ำมันเป็นปัญหาใหญ่ และค่อนข้างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย
.. โบรอนเป็นธาตุอาหารเสริม ปาล์มน้ำมันต้องการน้อย แต่ขาดไม่ได้ ถ้าขาดจะแสดงอาการทันที โบรอนช่วยกระตุ้นให้เกิดตาดอก และตายอด ทำให้การผสมเกสรสมบูรณ์แบบ เมื่อขาดโบรอน ปาล์มจะมีลักษณะปลายใบย่อยหักงอเป็นรูปตะขอ ใบหยิกเป็นคลื่น ยอดหัก ทางและใบย่อยเรียวแหลม สั้นผิดปกติ ดอกตัวเมียน้อย การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ ผลผลิตลดลง
อาการนี้จะพบมากในพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันภาคใต้ สาเหตุเพราะฝนที่ตกชุกจะชะล้างธาตุอาหารบนผิวดิน ทำให้โบรอนบนผิวดินโดนชะล้างไปด้วย
อาการขาดธาตุโบรอนจะแสดงออกในส่วนที่อ่อนที่สุดของพืช เนื่องจากเป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนย้ายในพืช ดังนั้นการขาดธาตุโบรอนจะส่งผลต่อการพัฒนาของใบ ทำให้ใบมีรูปร่างผิดปกติ ดังนี้
1. ทางใบยอดจะย่นพับเข้าหากัน ทำให้ใบสั้นผิดปกติ
2. อาการขาดที่ไม่รุนแรง ปลายใบจะหักงอคล้ายตะขอ
3. อาการขาดที่รุนแรง ใบยอดจะย่นและปลายใบหัก นอกจากนี้มีอาการใบเปราะและสีเขียวเข้ม
4. ทะลายปาล์มจะมีเมล็ดลีบ หรือมีเปอร์เซ็นการผสมไม่ติดสูง
โดยทั่วไปจะใส่โบรอน 50 กรัม ต่อต้น ต่อปี ให้กับปาล์มน้ำมัน ในปีที่ 4-6 จะเพิ่มเป็น 100 กรัม ต่อต้น ต่อปี ในกรณีที่ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตสูงจะมีการใส่โบรอนไปเรื่อยๆ โดยใส่ในบริเวณรอบโคนต้น ปริมาณความต้องการธาตุอาหารของปาล์มน้ำมันแปรปรวน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพันธุ์ สมบัติของดิน และสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนระยะปลูก
การทำงานของเนื้อเยื่อบริเวณผิวราก
โบรอนเกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ของเซลล์เมมเบรนบริเวณผิวราก ทำให้มีการดูดซึมของไอออนธาตุอาหารต่างๆ เป็นไปได้อย่างปกติ และทำให้การดูดซึมฟอสฟอรัสของรากเพิ่มขึ้น
>>> การผสมเกสรและเจริญของท่อละอองเกสร
โบรอนมีหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาและสร้างเซลล์ใหม่ ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาหลังจากมีการผสมเกสรและการเจริญยืดตัวของท่อละอองเกสร โดยเฉพาะในจุดที่กำลังมีการแบ่งเซลล์หรือกำลังเจริญเติบโต ในกรณีของท่อละอองเกสรถ้ามีการขาดโบรอนทำให้ท่อละอองเกสรเจริญเติบโตผิดปกติ มีอาการพองปริแตก ไม่มีการยืดตัว การขาดโบรอนยังมีผลทำให้เนื้อเยื่อบริเวณท่อละอองเกสรผิดปกติ ส่งผลให้มีการสูญเสียน้ำตาลได้
ในปาล์มน้ำมันการขาดโบรอนที่รุนแรงนอกจากแสดงอาการผิดปกติที่ใบและทางใบแล้ว ยังมีผลต่อการผสมเกสรเช่นเดียวกัน ทำให้ผลปาล์มผสมติดน้อย ส่งผลให้น้ำหนักทะลายสดและปริมาณน้ำมันต่อทะลายลดลง
วิธีใส่โบรอนสำหรับสวนปาล์ม
..การใส่ปุ๋ยทุกชนิดจะต้องใส่ในช่วงที่ดินมีความชื้นเสมอ เพราะจะทำให้ปุ๋ยละลาย และพืชสามารถนำไปใช้ได้ แต่สำหรับโบรอน ค่อนข้างจะละลายน้ำยาก ควรใส่ในรอบแรกของการใส่ปุ๋ย เนื่องจากมีฝนดี ในการใส่โบรอนให้ใส่ที่ดินรอบโคนต้น ห้ามใส่ในกาบหรือยอด เพราะโบรอนมีความเป็นพิษ การใส่ในกาบอย่างต่อเนื่องจะทำให้เนื้อเยื่อตายได้ นอกจากนั้นการใส่โบรอนควรใส่แยกไม่ควรควรผสมกับปุ๋ยตัวอื่น เนื่องจากใส่โบรอนในปริมาณน้อย
คำแนะนำควรใส่โบรอนในปาล์มน้ำมันประมาณ 100-200 กรัม/ต้น/ปี
หากใช้โบรอนสูงถึง 200 กรัม/ต้น/ปี ควรใส่เฉพาะต้นที่แสดงอาการขาดโบรอนอย่างรุนแรงและควรมีการวิเคราะห์ใบเพื่อตรวจสอบปริมาณโบรอนในพืชว่าพอเพียงหรือไม่.
ประสบการณ์ใช้โบรอน..
คุณอรรณพ ยังวนิชเศรษฐ
“โบรอนช่วยในการยืดตัวของเซลล์ ช่วยในการติดดอก ถ้าติดตาดอกดี จำนวนเมล็ดในหนึ่งทะลายจะมากขึ้น ทะลายจะใหญ่… ดูง่ายๆ ถ้าปาล์มขาดโบรอนใบจะหยิกงอ เมื่อก่อนไม่เคยรู้ว่าต้องใส่ ที่แย่ไปกว่านั้นปริมาณการใช้โบรอนไม่รู้ว่าต้องใส่เท่าไหร่ ส่วนใหญ่เขาจะบอกให้ใส่ 1-2 ช้อนแกง ก็คิดว่าพอแล้ว แต่ปรากฏว่ามันน้อยเกินไป ในตำราวิชาการบอกให้ใส่ 200-300 กรัม เท่ากับ 10-15 ช้อน แสดงว่าที่เกษตรกรใส่ๆ กันมันไม่พอ”
“เวลาใส่โบรอนถ้าใส่ที่โคนจะโดนน้ำชะล้างไปหมด เลยแนะนำให้ใส่ที่โคนต้นเลย ฝนจะค่อยๆ ชะ และซึมไปที่ราก ช่วงเวลาการกินจะยาวขึ้น เป็นไปได้ควรใส่ทุกเดือน แต่แบ่งใส่น้อยๆ แต่ความรู้ใหม่ควรใส่ปุ๋ยละ 2 ครั้ง พอเราเติมโบรอนเข้าไปจนครบตามความต้องการของต้นปาล์ม ผลผลิตจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น”
อ.พรพันธุ์ศักดิ์ พาหะมาก
“โบรอน ถ้าตามหลักวิชาการเขาให้ใส่ 100 กรัม/ต้น/ปี แต่ไม่พอเลยเพิ่มเป็น 200 ก็ยังไม่พอ มานึกว่าผลผลิตออกเยอะมันใช้สารอาหารเยอะ สารอาหารหายไปจากดินเยอะ ผมจึงต้องใส่เพิ่มขึ้นเป็น 400 กรัม/ต้น/ปี แบ่งใส่ 2-3 ครั้ง ใส่บริเวณโคนต้น”..
เรียบเรียงจาก..
http://www.yangpalm.com/2017/07/blog-post_26.html
http://www.108kaset.com/index.php/topic,371-%E0%..
http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php