เลี้ยงสัตว์ » “ชันโรง”สัตว์ตัวน้อยสร้างรายได้งาม และวิธีเลี้ยง

“ชันโรง”สัตว์ตัวน้อยสร้างรายได้งาม และวิธีเลี้ยง

26 เมษายน 2019
4741   0

ชันโรง เป็นแมลงขนาดเล็กที่มีพฤติกรรมเก็บน้ำหวานจากดอกไม้ และ ละอองเกสร (เรณู) มาใช้เป็นอาหารคล้ายผึ้งแต่ชันโรงไม่มีเหล็กใน จึงไม่สามารถ ต่อยได้ ในประเทศไทยเราสามารถพบชันโรงได้ในทุกภาค โดยมีชื่อเรียกแตกต่าง กันไปตามภูมิภาค เช่น..

●ภาคเหนือเรียกชันโรงที่มีขนาดเล็กว่า แมลงขี้ตึง หรือ ตัวขี้ตังนี แต่ถ้าเป็นชันโรงที่มีขนาดใหญ่จะเรียกว่า ขี้ย้า โดยเรียกว่า ขี้ย้าดำ หรือ ขี้ย้าแดง ตามสีของลำตัวของชันโรง

●ภาคใต้เรียกชันโรงขนาดเล็กว่า อุง หรืออุงแมลงโลม และเรียกชันโรงขนาดใหญ่ว่า อุงหมี (อุงแดง หรืออุงดำ)

●ภาคตะวันตกเรียกตัวตุ้งติ้ง หรือตัวติ้ง จากพฤติกรรมการขนเกสรที่ขาหลัง

●ภาคตะวันออกเรียกชำมะโรง หรือแมลงอีโลม

..ส่วนคำว่าชันโรงน่าจะเป็นชื่อที่เรียกจากพฤติกรรมการเก็บชันของแมลงชนิดนี้

“นางพญาชันโรงกลางคืนจะไม่นอน จะไข่ในรังตลอด ชันโรงงานจะหาอาหารในรัศมี 300 เมตร ออกผสมเกสรตอนเช้าประมาณ 6 โมง ถ้าหน้าหนาวจะออก 7 โมง แต่ละตัวบินออกไปผสมเกสรวันละไม่น้อยกว่า 16 เที่ยว ถ้าแดดดี อากาศดี จะออกบินมากกว่านั้น แล้วจะกลับเข้ารังตอนมืด ที่สำคัญชันโรงไม่เลือกชนิดดอกไม้และไม่ทิ้งรัง”

.. อาหารหลักของชันโรงเป็นเกสรดอกไม้ 80% ขณะที่กินน้ำหวานเพียง 20% และนั่นได้ตอบโจทย์ความต้องการเพิ่มผลผลิตในสวนมะพร้าว ส้มโอ และลิ้นจี่อย่างชัดเจน และผลลัพธ์ที่ได้ก็เป็นไปตามที่หวัง

“ชันโรงเป็นแมลงที่มีอยู่ในธรรมชาติ ตามบ้านเรือนไทยก็มี คนสมัยก่อนไม่ชอบชันโรงเพราะว่ามันดุ จะกัดแต่ไม่มีเหล็กไนนะ และยางจากชันโรงจะเลอะเทอะตามบ้าน แต่ปัจจุบันคนเริ่มหันมาเลี้ยงเพื่อผสมเกสร”

“เคยมีเจ้าของสวนมะม่วงเช่ารังไป 100 รัง 10 วัน ค่าเช่ารังละ 30 บาท/รัง/วัน จากผลผลิตที่เคยได้ 3 แสนบาท เพิ่มขึ้นเป็นล้านบาท ผลผลิตสูญเสียน้อยลง คุณภาพดีพร้อมส่งออกได้ หรือสวนเงาะเดิมได้ 7-8 แสน แต่พอใช้ชันโรง ได้ 4 ล้านบาท”

การเช่าชันโรง

สัญญากับผู้เช่าในเรื่องการดูแลและรักษารังชันโรง หากชันโรงตายจากการฉีดยาฆ่าแมลงหรือรังชันโรงหาย ผู้เช่าต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มรังละ 2,000 บาท นอกจากการให้เช่ารังแล้ว หากเกษตรกรต้องการซื้อรังชันโรง คุณวสันต์จะขายให้ในราคา 1,500 บาท/รัง

“ถ้าอย่างเขาเช่ารัง ผมจะไปวางตำแหน่งรังให้ โดยคำนวณจากพื้นที่สวน หาจุดกึ่งกลางแปลง แล้วกระจายวางรังชันโรงไปแต่ละด้าน ซึ่งเจ้าของสวนจะต้องไม่เคลื่อนย้ายตำแหน่งของรังชันโรงที่วางให้ เพราะชันโรงจะจำทางเข้ารังไม่ได้ และจะส่งผลต่อผลผลิตของสวน โดยทั่วไปถ้าเป็นสวนที่ปลูกผลไม้เต็มพื้นที่ จะใช้รังชันโรงไม่ต่ำกว่า 10 รัง/ไร่ ส่วนคนที่ซื้อขาด ต้องเป็นพื้นที่ที่มีอาหารให้ชันโรงตลอด เพราะถ้าเป็นสวนที่มีผลไม้ติดดอกครั้งเดียวต่อปี ชันโรงจะขาดอาหารและตาย”


นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน การเลี้ยงชันโรง หรือ ผึ้งจิ๋ว ซึ่งเป็นแมลงประจำถิ่น ได้เลี้ยงเพื่อใช้เป็นแมลงผสมเกสร โดยเฉพาะสวนผลไม้ เช่น ทุเรียน และ เงาะ โดยชันโรงเป็นแมลงผสมเกสรที่ไม่มีการเลือกเฉพาะเจาะจงกับชนิดของดอกไม้ สามารถผสมเกสรพืชได้หลากหลายชนิดมากกว่าผึ้งพันธุ์ อีกทั้งไม่มีเหล็กใน จึงไม่มีอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง และระยะทางในการบินไปหาอาหารจะไม่ไกลจากรังมากนัก สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 10 จังหวัดราชบุรี (สศท.10) จึงได้ศึกษาถึงแนวทางการนำชันโรงมาเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และช่วยลดการใช้สารเคมี

จากการดำเนินการระบบแปลงใหญ่ซึ่งจากการสัมภาษณ์ ประธานแปลงใหญ่ชันโรง (นายวสันต์ ภูผา) ศูนย์เพาะเลี้ยงชันโรง บ้านสวนภูผา อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม พบว่า จุดเริ่มต้นมาจากความต้องการเพิ่มผลผลิตในสวนขยายสู่การทำธุรกิจ รวมถึงต่อยอดผลพลอยได้จากรังชันโรงเป็นผลิตภัณฑ์ มีกลุ่มลูกค้าหลักที่มาใช้บริการเช่ารังชันโรงเพื่อช่วยผสมเกสรเป็นเกษตรกรเจ้าของสวนผลไม้นอกพื้นที่ เช่น มะม่วง ลำไย เงาะ เป็นต้น โดยปัจจุบันมีสมาชิกแปลงใหญ่ชันโรง จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 42 ราย มีชันโรงจำนวนรวมกว่า 3,000 รัง ซึ่งจะเน้นให้เกษตรกรนำชันโรงไปเพิ่มผลผลิตในแปลงเกษตรกรจะมีทั้งมาเช่ารังและซื้อรังชันโรง โดยการเช่าจะมีบริการติดตั้งให้ฟรีและคิดค่าเช่ารังละ 30 บาท/วัน พร้อมทำสัญญากับผู้เช่าในเรื่องการดูแลและรักษารังชันโรง เพราะหากชันโรงตายจากการฉีดยาฆ่าแมลงหรือรังชันโรงหาย ผู้เช่าต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มให้ผู้ให้เช่าซึ่งนับเป็นอีกทางที่ช่วยให้เกษตรกรลดการพึ่งพาสารเคมีได้อีกด้วย และหากเกษตรกรต้องการซื้อรังชันโรง จะจำหน่ายให้ในราคา 1,500 บาท/รังในขณะที่ผลผลิตที่ได้รับจากรังชันโรง ไม่ว่าจะเป็น น้ำผึ้งชันโรง และชัน สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จำหน่ายภายใต้ตราสินค้า“ภูผา” เช่น น้ำผึ้งชันโรง (ผึ้งจิ๋ว) สบู่ และยาหม่องทั้งนี้ น้ำผึ้งชันโรง รสชาดจะออกเปรี้ยวและมีกลิ่นตามผลไม้ที่ชันโรงไปผสมเกสรชันของชันโรงมีสารประกอบฟลาโวนอยด์ และสารต้านอนุมูลอิสระต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ยับยั้งการอักเสบได้เป็นอย่างดีมีสรรพคุณทางยาสูงกว่าน้ำผึ้งจากผึ้งทั่วไป ช่วยรักษาโรคทางเดินหายใจ ได้ชื่อว่าเป็นผึ้งชนิดเดียวที่ผลิตน้ำผึ้งอินทรีย์ และแนวโน้มความต้องการตลาดสูงโดยราคาของน้ำผึ้งชันโรงสูงถึงกิโลกรัมละ 1,500 บาท เนื่องจากชันโรงกินน้ำหวานเพียงร้อยละ 20 ปริมาณน้ำผึ้งที่ได้แต่ละครั้งจึงไม่มากนัก

ด้านนายฉกาจ ฉันทจิระวัฒน์  ผู้อำนวยการ สศท.10 กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันสายพันธุ์ชันโรงทั่วโลกมีประมาณ 140สายพันธุ์ ในประเทศไทยเหลือไม่ถึง 40 สายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์มีความแตกต่างกันที่ขนาดและความชอบอาหารอย่างสายพันธุ์ที่ตัวใหญ่จะเน้นเก็บน้ำหวาน เช่น พันธุ์ปากแตร พันธุ์อิตาม่า สายพันธุ์ตัวเล็กผสมเกสร เช่น พันธุ์ขนเงิน พันธุ์หลังลาย และยังมีพันธุ์สวยงามที่เลี้ยงไว้ดูเล่น คือ พันธุ์คิชกูฎ

การดูแลนั้น จะเปิดรังให้ชันโรงได้รับแสงเดือนละครั้งเพื่อลดความดุร้าย อาหารหลักของชันโรงเป็นเกสรดอกไม้ร้อยละ 80 ขณะที่กินน้ำหวานเพียงร้อยละ 20

นับว่าตอบโจทย์ความต้องการเพิ่มผลผลิตในสวนมะพร้าวส้มโอ และลิ้นจี่ อย่างชัดเจน ช่วยเพิ่มผลผลิตจากเดิมได้ประมาณร้อยละ 30-40 ซึ่งโดยทั่วไป ถ้าเป็นสวนที่ปลูกผลไม้เต็มพื้นที่จะใช้รังชันโรงไม่ต่ำกว่า 10 รัง/ไร่ แต่หากเป็นสวนมะพร้าว หรือสวนผสมอื่น ๆ จะใช้เพียง 4-5 รัง/ไร่ อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงชันโรง ต้องมีแหล่งอาหารตลอดทั้งปี  หากเป็นสวนที่มีผลไม้ติดดอกครั้งเดียวต่อปี ชันโรงจะขาดอาหาร ซึ่งสามารถแก้ปัญหาด้วยการปลูกข้าวโพด หรือไม้ดอกหมุนเวียน เพื่อให้มีแหล่งอาหารแก่ชันโรงต่อเนื่องตลอดปีได้  ทั้งนี้ เกษตรกรที่สนใจสามารถขอคำแนะนำได้ที่ คุณวสันต์ ซึ่งยินดีถ่ายทอดความรู้ ในการนำชันโรงไปเพิ่มผลผลิต หรือนำไปจำหน่าย สามารถสร้างแบรนด์ของตนเองได้ รวมทั้งรับซื้อวัตถุดิบจากเกษตรกรด้วยเช่นกัน โดยสามารถติดต่อได้ที่ โทร. 089-224-1134 หรือ Facebook : ศูนย์เพาะเลี้ยงชันโรง บ้านสวนภูผา

วิธีเลี้ยงชันโรงสำหรับเกษตรกรมือใหม่

ท่านที่มีสวนผลไม้ หากต้องการที่จะเลี้ยงชันโรงจะต้องมีเทคนิคเริ่มต้นเพื่อเป็นฝึกหัดตนเองซึ่งเป็นเส้นทางเริ่มต้นไปสู่ความสำเร็จ เนื่องจากปัจจุบันนอกจากการใช้ผึ้งผสมเกสรพืชแล้วยังมีการใช้ชันโรงหรือผึ้งจิ๋วเข้ามาใช้ผสมเกสรด้วยโดยการปล่อยชันโรงผสมเกสรจะแม่นยํากว่าผึ้งนั่นเอง และยังสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อีกด้วย

เกษตรกรผู้เลี้ยงชันโรงในภาคตะวันออก โดยเฉพาะ จ.จันทบุรี ปัจจุบันมีการทำการแยกขยายพันธุ์ชันโรงออกจำหน่ายในราคารังละ 600-1,200 บาท และการเช่ารังชันโรงเพื่อการผสมเกสรพืชเศรษฐกิจ ทั้งทุเรียน เงาะ และลำไย โดยคิดค่าเช่ารังละประมาณ 30 บาท/วัน จะเห็นได้ว่าชันโรงแมลงที่รู้จักในวงแคบ สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรทั้งทางตรง และทางอ้อมทั้งปี นับว่าแนวทางการเลี้ยงชันโรงเพื่อการค้า และการส่งออกมีอนาคตไกล และมีความน่าสนใจ ดังนั้น ผศ.มาโนช กลูพฤกษี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี ม.10 ต.พลวง อ.เขาคิชกูฎ จ.จันทบุรี จึงได้แนะนำการเลี้ยงชันโรงอย่างง่ายผ่านทาง FM 106.25 MHz. สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.จันทบุรี สำหรับผู้ที่สนใจต้องการเริ่มต้นเลี้ยงแบบง่าย

วัสดุ/อุปกรณ์

  1. กระถางดินเผา /กล่องไม้สำหรับเลี้ยงผึ้ง หรือยางรถยนต์ที่ไม่ได้ใช้แล้ว
  2. พ่อแม่พันธุ์ชันโรง

ขั้นตอน

  1. นำวัสดุในการสร้างรังให้ชันโรง เช่นกระถางดินเผาคว่ำลงให้เหลือทางออกทางเดียวหรือยางรถยนต์ซ้อนกันหลาย ๆ เส้น หรือกล่องไม้ที่ใช้สำหรับเลี้ยงผึ้ง
  2. นำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ชันโรง มาใส่ในรัง ต้องปล่อยในเวลากลางคืนเพราะถ้าเจอแสงชันโรงจะหนีออกจากรัง
  3. บริเวณที่เลี้ยงต้องมีพืชอาหาร เช่น ดอกของไม้ผล ดอกของวัชพืช ดอกของไม้ดอกต่าง ๆ ช่วงเวลาการบานของดอกต่าง ๆ กัน ซึ่งจะทำให้ชันโรงมีอาหารตลอดทั้งปี
  4. หลังจากนั้นชันโรงจะอยู่อย่างถาวร เนื่องจากชันโรงไม่ชอบย้ายถิ่นฐานเหมือนผึ้ง
  5. เนื่องจากชันโรงชอบความสงบ จึงไม่ควรมีสิ่งรบกวนหรือย้ายรัง

การใช้ประโยชน์จากชันโรง การใช้ประโยชน์จากน้ำผึ้งของชันโรง

คนไทยรู้จักการใช้ประโยชน์ของผลผลิตตัวชันโรงที่ได้มาจากการเก็บรังชันโรงตามธรรมชาติมานาน ได้นำน้ำผึ้งของมันมาเพื่อใช้บริโภคโดยตรง เชื่อกันว่าน้ำผึ้งจากชันโรงมีสรรพคุณทางยามากกว่าน้ำผึ้งจากผึ้ง การใช้น้ำผึ้งเป็นองค์ประกอบของยา สมุนไพร เพราะเชื่อว่าน้ำผึ้งจากชันโรงมีคุณค่าทางยาสูง

การใช้ประโยชน์จากชันของชันโรง

ชัน หรือ พรอพอลิส (propolis) ของชันโรง คนไทยโบราณนำมาใช้ประโยชน์หลายด้าน ปัจจุบัน มีการผลิตชันของยางไม้ที่ชันโรงเก็บมาจากต้นพืชหลากหลายชนิด นำมาผสมรวมกับไขผึ้งที่ชันโรงผลิตขึ้นจากภายในลำตัวชันโรง ชันก็เป็นสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) มีผลในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อโรคและเพิ่มภูมิคุ้มกัน ปัจจุบัน มีการนำชันมาใช้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์หลายอย่าง เช่น ใช้เป็นยารักษาการติดเชื้อในช่องปาก รักษาเหงือกอักเสบ รักษาการอักเสบของผิวหนัง ทำเป็นยาหม่อง ใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น สบู่ ยาสีฟันแชมพูสระผม เป็นต้น ใช้ยาสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ภาชนะบรรจุน้ำ จอกน้ำ ขันน้ำ ใช้อุดยุ้งฉางที่สานด้วยไม้ไผ่ ใช้อุดเครื่องดนตรี อย่าง แคน ใช้ติดลูกระนาดกับระนาด ใช้ทำวัตถุมงคล ใช้อุดฐานพระ เป็นต้น

คนสมัยก่อนใช้ชันจากรังชันโรงอุดรูรั่วของเรือขนาดเล็กน้อย เรียกว่า ยาเรือ (การยาเรือ ปัจจุบัน คนอาจไม่เคยเห็นและรู้จักการยาเรือ ซึ่งเป็นการนำเรือที่ต่อด้วยไม้ทั้งลำเล็กและลำใหญ่ขึ้นมาบนบก เรียกว่า ขึ้นคานสำหรับเรือใหญ่ ถ้าเป็นเรือขนาดเล็ก เช่น เรือบด เรือสำปั้น ใช้การคว่ำเรือแล้วยาชัน ส่วนเรือใหญ่ต้องตอกยัดด้ายดิบลงในร่องรอยต่อ เรียกว่า การตอกหมันแล้วยาด้วยชันอุดลงตามร่องรอยต่อของกระดาน เพื่อกันรั่วไม่ให้น้ำเข้า เนื่องจากใช้ชันปริมาณมาก จึงใช้ชันผงผสมกับน้ำมันยาหรือน้ำมันยางและปูนแดงเทลงในกะลามะพร้าวคนให้เข้ากัน

ประโยชน์จากชันโรงในทางเกษตรกรรม

ชันโรง มีบทบาทสำคัญในการช่วยผสมเกสร ทั้งพืชป่าและพืชที่เพาะปลูก ปัจจุบันชันโรงมีความสำคัญต่อชาวสวนผลไม้อย่างมาก โดยเฉพาะผลไม้ที่ให้ผลตอบแทนสูง เพราะชันโรงจะช่วยผสมเกสรให้กับดอกไม้ผลให้ติดผลได้มากกว่าการปล่อยให้มันผสมกันเองตามธรรมชาติ จึงมีผู้หันมาเลี้ยงชันโรงเพื่อใช้ประโยชน์ในการผสมเกสรหรือให้เช่ารังชันโรง

ขอบคุณ https://farmerspace.co/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%..
www.youtube.com
https://www.nstda.or.th/agritec/78-featured-article/331-stingless-bee