เลี้ยงสัตว์ » ยาควรมีประจำคอก….กลุ่มยาบำรุงแพะ(รวม)

ยาควรมีประจำคอก….กลุ่มยาบำรุงแพะ(รวม)

29 เมษายน 2018
19024   0

http://bit.ly/2jfACpV

//////////

สั่งซื้อยากับร้านคิว.ซี.ฯ ร้านพันธมิตรของพวกเรากันได้เลย!!ที่นี่ คลิ๊ก!!
..ครั้งต่อไป คลิ๊กเดียวจบ แชทคุยกับคุณมุก ร้าน คิว.ซี.ฯ ส่ง.. ยา+อุปกรณ์ทางเคอรี่ฯทั่วไทย โอนเงินทางพร้อมเพย์ เบอร์ 086-5335140 คุณอภิสิทธิ์ เฉลิมวัฒน์ ธ. กรุงไทย
..ต้องขอขอบพระคุณ ท่าน อ.Isaraman ผู้มีน้ำใจงามของวงการแพะไทย ที่กรุณาแนะนำให้ผมรู้จัก ร้านบริการดี ราคาเป็นกันเอง ..
?ปล. สั่งซื้อบอกว่ามาจาก เว็บไซต์ 108kaset.com หรือ เฟซบุ๊ค เลี้ยงแพะยั่งยืน ด้วยนะครับ..ประเดี๋ยวจะพลาดโอกาสเพราะบางช่วงทางร้านจะมีโปรโมชั่นส่วนลด หรือของสมณาคุณเล็กๆน้อยๆให้อีกด้วย รวมทั้งร้าน คิว.ซี.ฯเองจะได้รักษาคุณภาพของสินค้าและบริการที่ดีไว้หากรู้ว่ามีกลุ่มคนที่รวมตัวกันเฝ้ามองผลงานและให้กำลังใจอยู่ทางโลกอินเตอร์เน็ต..
…พวกเรากลุ่มเลี้ยงแพะเล็กๆช่วยกันอุดหนุน+รักษาร้านค้าดีๆเช่นนี้เอาไว้..อาชีพเลี้ยงแพะในประเทศไทยย่อมสดใสแน่นอนครับผม.

//////////

 

คาโตซาล

คาโตซาล 10%

เพื่อกระตุ้นระบบเมทตาโบลิซั่มและบำรุงร่างกาย  

 

ส่วนประกอบ :

ใน 100 ซีซี ประกอบด้วย

1-(เอ็น-บิวทิลอะมิโน)-1-

เม็ทธิลเอ็ทธิลฟอสฟอนัสแอซิด             10.0  กรัม

วิตามิน บี12 (ไซยาโนโคบาลามีน บี.พี.)   5.0  มิลลิกรัม

100 ซีซี ของน้ำยามีฟอสฟอรัส              1.73 กรัม

 

ข้อบ่งใช้ :      

ใช้คาโตซาลในสุกร โค กระบือ แพะ แกะ ม้า เป็ด ไก่ สุนัขและแมว เพื่อกระตุ้นระบบเมทตาโบลิซั่มและบำรุงร่างกาย ใช้คาโตซาล เมื่อ..

– สัตว์มีความผิดปกติทางเมทตาโบลิซั่มเนื่องจากขาดอาหาร การเลี้ยงดูไม่ดี ป่วย

– ป้องกันความผิดปกติของร่างกาย และโภชนาการของลูกสัตว์

– ป้องกันการเป็นหมัน และการเกิดโรคทางระบบสืบพันธุ์ โดยใช้ควบกับการรักษาโดยตรง

– การสร้างกระดูกที่ไม่ปกติอันมีสาเหตุเนื่องมาจากการขาดฟอสฟอรัส

– สัตว์แสดงอาการอ่อนเพลีย ซูบผอม โลหิตจาง

 

ขนาดและวิธีใช้ :      

ใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เข้ากล้ามเนื้อ หรือเข้าใต้ผิวหนังในขนาด 1 ซีซี ต่อน้ำหนักสัตว์ 10 กิโลกรัม สำหรับเป็ด ไก่ ใช้ผสมน้ำให้กิน

 

โค กระบือ แพะ แกะ ม้า

– ป้องกันการเป็นหมันเนื่องจากความไม่สมดุลของระดับฟอสฟอรัสในร่างกาย และเป็นโรคทางระบบสืบพันธุ์ให้ขนาด 20 ซีซี 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 3 วัน

– บำรุงช่วงการตั้งครรภ์ ให้ขนาด 30 ซีซี ฉีดเข้ากล้ามช่วงระหว่าง 4-6 สัปดาห์ก่อนคลอด และฉีดซ้ำอีกครั้ง 8-14 วันหลังคลอด จะช่วยให้การให้นมและการผสมครั้งต่อไปดีขึ้น ป้องกันโรคจากการให้นม

กรณีแม่สัตว์ไม่มีกำลัง ยืนไม่ได้ในช่วงก่อนคลอดหรือหลังคลอด ให้สารละลายแคลเซียมร่วมกับคาโตซาล 30 ซีซี เข้าหลอดเลือดดำ

พ่อพันธุ์ ฉีดบำรุงเพื่อให้การผสมมีประสิทธิภาพ ให้ขนาด 5-25 ซีซี  

 

หมู      

– แม่หมูที่ให้ลูกครอกใหญ่ ให้ขนาด 20 ซีซี ช่วง 10-14 วันก่อนคลอด จะช่วยป้องกันการไม่มีน้ำนม แก้ปัญหาเต้านมอักเสบและช่วยการสร้างน้ำนม

– ฉีดบำรุงลูกหมูแคระแกรม ให้ขนาด 2.5-10 ซีซี

– กรณีลูกหมูกัดหาง ให้ขนาด 0.5 ซีซีต่อน้ำหนักสัตว์ 1 กิโลกรัม ก้อนให้กินติดต่อกัน 2 วัน และให้กินซ้ำอีกครั้งหลัง 8 วัน จะลดปัญหากัดหางลงได้ในบางกรณี

– พ่อหมู บำรุงให้แข็งแรงและผสมเก่ง ให้ขนาด 15-20 ซีซี อาทิตย์ละครั้งช่วงฤดูผสม   เป็ด ไก่

– กรณีไก่จิกขน ละลายน้ำให้กิน 0.5-2.5 ซีซี

– ช่วยร่นระยะการผลัดขนให้สั้นลง ละลายน้ำให้กิน 0.5-2.5 ซีซี

 

การเก็บรักษา :      

เก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 30°ซ

คาโตซาล ราคาประมาณ 300.-

 


OSTONE ..แคลเซี่ยม+บี.12 ราคาประมาณ 160.-

แคลเซียมน้ำ

———————————————————————————–
ธาตุเหล็ก

เสริมธาตุเหล็กหลังแพะคลอด บำรุงเลือด
..ราคาขวดละ 110.-

———————————————————————–
AD3E

AD3E ..ราคาประมาณ300-340.-/100cc.
AD3E ฉีดเข้ากล้ามเนื้อลึกๆ

องค์ประกอบพื้นฐานของตัวยา
วิตามิน A
วิตามิน D3
วิตามิน E

สารที่ใช้งาน: วิตามินเอ 80,000 IU / ml; วิตามิน D3 40,000 IU / ml; วิตามินอี 20 mg / ml;

สารเพิ่มปริมาณ (simulsol โพแทสเซียม sorbate, โพรพิลีนไกลคอลและน้ำกลั่น) ถึง 1 มล.

ผลกระทบจากการขาดวิตามิน

ปกติแพะนั้นจะได้รับวิตามินจากการกินและการสังเคราะห์ของจุลินทรีย์ในกระเพาะหมัก วิตามินที่แพะสังเคราะห์ได้เองคือวิตามิน B C Dและ K แต่ที่ไม่สามารถสังเคราะห์ได้เองต้องเอาจากอาหารที่กินเข้าไปก็มีวิตามินA และE ซึ่งได้จากอาหารจำพวกหญ้าสด ซึ่งการขาดวิตามินพวกนี้มักจะพบในแพะที่เลี้ยงในโรงเรือน และกินแต่อาหารหยาบคุณภาพต่ำมาเป็นเวลานานๆ

ขาดวิตามินเอ

วิตามินเอมีความจำเป็นสำหรับเยื่อบุผิวทุกชนิด โดยช่วยป้องกันรักษาให้เนื้อเยื่อต่างๆอยู่ในสภาพที่ดี ถ้าขาดจะทำให้เยื่อบุผิวของอวัยวะเสื่อมสัตว์จะอ่อนแอติดเชื้อโรคได้ง่าย และจะทำให้มีโอกาสเกิดรกค้างได้สูง ลูกที่คลอดจะอ่อนแอ หรือลูกที่คลอดจะตาบอดในลูกแพะทั้งตัวผู้และตัวเมียจะเข้าสู่วัยเจริญพันธ์ได้ช้า

ระดับวิตามินเอ ในกรณีที่แพะได้รับอาหารหยาบคุณภาพต่ำ ควรเสริมด้วยวิตามินแบบฉีดจะส่งผลดีกว่าการกิน

วิตามินเอมักจะพบอยู่ในพืชในรูปแบบแคโรทีน จะถูกเปลี่ยนให้เป็นวิตามินเอที่ลำไส้เล็ก แคโรทีน1มิลลิกรัมสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้400หน่วยสากล แพะที่ใกล้คลอดมักต้องการแคโรทีนมากขึ้น ซึ่งแคโรทีนก็มีในหญ้าสด แต่หากถูกความร้อนก็มักจะสลายไป

ขาดวิตามินดี

วิตามินตัวนี้จำเป็นมากสำหับการเผาพลาญพลังงานในร่างกาย ของแคลเซียมและฟอสฟอรัส และการดูดซึมแร่ธาตุเหล่านี้ที่ลำไส้เล็กนั้นจำเป็นต้องใช้วิตามินดี ซึ่งการขาดจะทำให้แพะเป็นสัดช้า รังไข่ไม่ทำงาน แต่ก็ยังโชคดีที่วิตามินตัวนี้แพะสามารถสร้างเองได้โดยการสังเคราะห์จากผิวหนังเมื่อโดนแดด

การขาดวิตามินอี

วิตามินอี..ทำหน้าที่เป็นAntioxidant ร่วมกับธาตุซีลินี่ยม ป้องกันโรคWhite muscle disease ในแม่แพะถ้าขาดจะทำให้ระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ ไม่เป็นสัด ผสมติดยาก วิตามินอีพบในพืชอาหารสด ลูกแพะที่ขาดจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง อ่อนแอ ขาแกว่งขณะเดิน

**อ่านเรื่อง วิตามิน D3 คือ.. ได้ที่ http://www.108kaset.com/goat/index.php/topic,247.0.html

————————————————————-
ไบโอคาตาลิน

ไบโอคาตาลินให้ผลกระตุ้นการกิน ..ในสัตว์ที่ขาดโปรตีน และวิตามินบี เนื่องจาก

-ภาวะที่เกิดความเครียด เช่น ขณะที่ใช้ยารักษาโรค การฉีดวัคซีนป้องกันโรค ฯลฯ

-ภาวะร่างกายอ่อนแอ เช่น โรคโลหิตจาง อุจจาระร่วง โรคระบบหายใจและทางเดินอาหาร

-ภาวะที่ร่างกายต้องการอาหารโปรตีนเพิ่มมากขึ้น

-โรคขาดสารอาหาร ทำให้สัตว์แคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต

*ใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

อัตราการใช้

*ม้า วัว ควาย 20 ซีซี ต่อวัน

*ลูกม้า วัว ควาย แพะ แกะ สุกร 5-10 ซีซี ต่อวัน

20cc. ราคาประมาณ   ฿69.00

100cc. ราคาประมาณ ฿170.00

(อ่านรายละเอียด ได้ที่นี่ คลิ๊ก!! )


Tonophosphan compositum (โทโนฟอสฟาน คอมโพสิตุม) 100 ml.

ราคาค่อนข้างแพง ขวดละ >600.-

สรรพคุณ
– เป็นยาบำรุง ช่วยให้สุขภาพให้ดีขึ้น สำหรับรักษาความผิดปกติทางเมตาบอลิซึม อาการไม่มีแรงและอ่อนเพลีย รักษาความผิดปกติของกระดูก รักษาอาการกระตุกและอัมพาตที่มีผลมาจากความผิดปกติของสมดุลของแคลเซี่ยม แมกนีเซี่ยม และฟอสฟอรัส

ขนาดและวิธีการใช้
– ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง กล้ามเนื้อ (หรือหลอดเลือดในรายที่เป็นเฉียบพลัน) สัตว์ใหญ่ 5, 10 หรือ 20 มล. สัตว์เล็ก 1 ถึง 3 มล.
– ควรให้ยาซ้ำอีกโดยเว้นระยะการให้ 2 ถึง 3 วันจนกว่าอาการจะดีขึ้น
– ในรายที่เป็นเรื้อรัง ควรฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือกล้ามเนื้อ 5 ถึง 10 ครั้ง วันเว้นวันในขนาดดังนี้ :
– สัตว์ใหญ่ 2.5 ถึง 5 มล.
– สัตว์เล็ก 1 ถึง 2 มล.
หากต้องฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือกล้ามเนื้อในปริมาณมาก ควรแบ่งฉีดยาเข้าหลายๆ แห่ง