เทคโนโลยี่ » เสียง”ตู้ม!”แล้วไฟดับนั้น ใช่หม้อแปลงระเบิดจริงหรือ??

เสียง”ตู้ม!”แล้วไฟดับนั้น ใช่หม้อแปลงระเบิดจริงหรือ??

9 มิถุนายน 2020
7645   0

เสียง”ตู้ม!”แล้วไฟดับนั้น ใช่หม้อแปลงระเบิดจริงหรือ??

#เสียงระเบิดจากเสาไฟฟ้า เกิดขึ้นได้อย่างไร
——-นี้คือที่มาของเสียงระเบิด ——–
หลายๆคนเข้าใจผิดมาโดยตลอด คิดว่าหม้อแปลงไฟฟ้าระเบิด #แต่ที่จริงแล้วหม้อแปลงไฟฟ้าไม่ได้ระเบิด

ที่แท้จริงแล้วเสียงดังสนั่นนั่นมันเป็นเสียง “ฟิวส์ขาด” ตะหาก

ฟิวส์อะไร? ทำไมขาดแล้วเสียงดัง? แกก็บอกว่านั่นแหละ drop fuse ซึ่งเป็นฟิวส์สำหรับระบบส่งกำลังไฟฟ้า (ก็มีทั้งแรงสูงและแรงต่ำอ่านะ) เราจะเห็นบ่อยๆ ตามเสาไฟ..

#นี้คือฟิวส์ลิงค์แรงสูง ฟิวส์แรงสูงทำหน้าที่คล้ายกับ เซอร์กิตเบรคเกอร์(ภายในบ้าน) ทำหน้าที่ ปลด – สับจ่าย หากระบบไฟฟ้ามีปัญหารัดวงจร เบรคเกอร์ตัวหลักของบ้านก็จะตัดอัตโนมัติ
ฟิวส์แรงสูงก็เหมือนกัน หากระบบจำหน่ายหลังฟิวส์ มีความผิดปกติลัดวงจร (มีฟรอร์) ฟิวส์แรงสูงจะขาดทันที แต่ด้วยแรงดันที่จ่ายผ่านฟิวส์ถึง 33,000 โวลล์จึงทำให้ได้ยินเสียงเหมือนระเบิดดังนั่นเอง ความดังของเสียงที่ได้ยินแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ขนาดของ ฟิวส์นั้นๆ ฟิวส์แรงสูงมีตั้งแต่ขนาด 3A, 6A, 10A, 15 A, 25A, 40A, 50A เมื่อฟิวส์ระเบิดอาจจะทำให้ไฟฟ้าภายในบ้าน กระแสไฟฟ้าตก หรือกระแสไฟฟ้าดับได้


ฟิวส์แรงสูงจะถูกติดตั้ง บริเวณเสาไฟฟ้าที่มีหม้อแปลง คาปาซิสเตอร์ หรือ เสาไฟฟ้าต้นแรกของปากซอยที่มีสายไฟฟ้าแรงสูงจ่ายผ่าน

#นี้คือฟิวส์แรงต่ำ ฟิวส์แรงต่ำ ฟิวส์แรงสูง เบรคเกอร์สวิตซ์ ทำหน้าที่เหมือนกัน เมื่อระบบจำหน่ายแรงต่ำมีปัญหา ชำรุด ลัดวงจร กระแสไฟฟ้ารั่วลงดินเกินพิกัด ฟิวส์แรงต่ำก็จะขาดเช่นกัน

ฟิวส์แรงต่ำจ่ายแรงดันผ่านฟิวส์เพียง 220 โวลล์ หากฟิวส์ขาดจะไม่ได้ยินเสียงระเบิด
แต่สังเกตุจากตัวฟิวส์ได้ หากมีรอยเผาไหม้ ทรายทะลักออกจากฟิวส์แรงต่ำ นั้นก็คือฟิวส์แรงต่ำขาด

หายสงสัยกันแล้วยัง ว่าเสียงระเบิดมาจากไหน.

 

ขอบคุณ http://taroangtoang.blogspot.com/2015/03/blog-post_10..
https://web.facebook.com/1073552789327276/posts/1517734321575785..
https://www.google.com/search?q=%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8..