เลี้ยงสัตว์ » กระบวนการย่อยอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง เพื่อสร้างโปรตีน(ตอน1)

กระบวนการย่อยอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง เพื่อสร้างโปรตีน(ตอน1)

25 ธันวาคม 2020
5718   0

△ กระเพาะของสัตว์เคี้ยวเอื้องจะแบ่งออกเป็น 4 ห้อง คือ Rumen (ผ้าขี้ริ้ว), Reticulum (รังผึ้ง), Omasum (สามสิบกลีบ) และ Abomasum (กระเพาะแท้ หรือกระเพาะจริง)

กระบวนการย่อยอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง เพื่อสร้างโปรตีน(ตอน1)

สัตว์เคี้ยวเอื้อง (ruminant) เป็นอันดับย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ruminantia

สัตว์เคี้ยวเอื้องได้แก่ วัว, ควาย, แพะ, แกะ, กวาง และแอนทิโลป

ลักษณะร่วมของสัตว์เคี้ยวเอื้อง ก็คือ มี กระเพาะ 4 ห้อง ที่เมื่อกินอาหารไปแล้ว คือ หญ้า คายออกมาเคี้ยวอย่างช้า ๆ อีกครั้งในเวลากลางคืน ก่อนจะถูกนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

เมื่อลูกสัตว์ยังเล็ก 3 กระเพาะแรกจะยังไม่พัฒนา อาหารที่เป็นของเหลวจะไหลผ่านลำคอผ่านช่องแคบนี้ ตรงไปยังกระเพาะอาหารแท้เลย อาหารถูกย่อยดูดซึมไปยังทางเดินอาหารส่วนล่าง คือ ลำไส้ต่อไป ซึ่งระยะนี้ระบบการย่อยอาหารจะเหมือนสัตว์กระเพาะเดี่ยว

เมื่อ 3 กระเพาะแรกพัฒนา (ประมาณ 6 สัปดาห์) จะขยายใหญ่ ถ้าสัตว์โตเต็มที่แล้ว ขนาดของ 2 กระเพาะแรกจะมีความจุประมาณร้อยละ 60-85 ของความจุของกระเพาะทั้งหมด

ผ้าขี้ริ้วมีหน้าที่รับอาหารจากการผ่านขบวนการเคี้ยวที่มีอาหารในรูปของแข็งและปนกับน้ำลายปริมาณมาก (ในน้ำลายจะเป็นแหล่งไนโตรเจน คือ ยูเรีย และมิวโคโปรตีน มีฟอสฟอรัสและโซเดียม ซึ่งจุลินทรีย์จะนำไปใช้ และน้ำลายทำหน้าที่รักษาระดับความเป็นกรดด่าง และกระเพาะอื่น ๆ) ..อาหารจะถูกแยก ส่วนบนจะเป็นอาหารในรูปของแข็ง ส่วนล่างเป็นรูปของเหลวและอาหารแข็งที่ย่อยมีขนาดเล็กแล้ว โดยการหดตัวของผนังผ้าขี้ริ้ว อาหารชิ้นใหญ่จะถูกดันให้อยู่ด้านบนส่วนหน้า เมื่อสัตว์ต้องการเคี้ยวเอื้อง กระเพาะส่วนรังผึ้ง และผ้าขี้ริ้ว จะหดตัวมีแรงดันอาหารขยอกออกมาที่ปาก อาหารก้อนที่ถูกนำมาเคี้ยวเอื้องเรียกว่าบอลัส มีจุลินทรีย์ติดมาเป็นจำนวนมาก เมื่อเคี้ยวเอื้องแล้วจะกลืนกลับไปที่ผ้าขี้ริ้ว ทำการคลุกเคล้าใหม่อาหารขนาดใหญ่ก็ขยอกออกมาเคี้ยวเอื้อง อาหารขนาดเล็กก็ส่งไปยังรังผึ้ง ส่วนที่เป็นแก๊สก็เรอออกมา ส่วนที่เป็นสารละลายจะถูกดูดซึมผ่านผนังผ้าขี้ริ้ว เข้าสู่กระแสเลือดทันที

รังผึ้งมีหน้าที่ดันอาหารที่มีขนาดใหญ่กลับไปที่ผ้าขี้ริ้วและปล่อยอาหารขนาดเล็กไปยังสามสิบกลีบ ซึ่งมีหน้าที่ย่อยอาหารต่อโดยอาศัยจุลินทรีย์ที่ติดมาจากผ้าขี้ริ้วและรังผึ้ง อาหารที่ถูกย่อยเป็นสารละลายจะถูกดูดซึมผ่านเข้าสู่กระแสเลือด ส่วนที่เหลือก็เข้าสู่กระเพาะแท้

กระเพาะแท้มีหน้าที่เหมือนสัตว์กระเพาะเดี่ยว คือ ย่อยอาหารและย่อยจุลินทรีย์ที่ติดมากับอาหาร ทำให้สัตว์ได้รับกรดอะมิโนจากเซลล์จุลินทรีย์ และวิตามินต่าง ๆ ที่จุลินทรีย์สังเคราะห์ขึ้นมา สารละลายนี้ก็จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด

3 กระเพาะแรกอาศัยเอ็นไซม์ของจุลินทรีย์เป็นตัวย่อยหมักหรือย่อยอาหาร

..ยกเว้นกระเพาะสุดท้ายคือกระเพาะแท้ สัตว์จะขับเอ็นไซม์มาช่วยย่อย


ลำดับการทำงาน

  1. กระเพาะที่ 1. เรียกว่า รูเมน ( Rumen ) หรือที่เราเรียกว่า กระเพาะผ้าขี้ริ้ว เป็นกระเพาะหมัก คนที่ชอบรับประทานต้มเครื่องในคงจะเคยเห็น เป็นกระเพาะส่วนแรกมีขนาดใหญ่มาก มีความจุประมาณ ร้อยละ 80 ของความจุกระเพาะทั้งหมด เป็นกระเพาะที่ทำหน้าที่ในการหมักอาหารหรือหญ้าที่กิน ซึ่งมีพวกเส้นใย (Fiber) สูง เช่นเส้นใยจากหญ้า ฟางข้าว เป็นต้น ..กระเพาะรูเมนจะอยู่ทางด้านซ้ายของช่องท้อง อาหารหรือหญ้าที่กินเข้าไปจะอยู่ในกระเพาะนี้ก่อน ภายในกระเพาะนี้ไม่มีเอนไซม์มาช่วยย่อย แต่มีจุลินทรีย์ต่างๆหลายชนิด มาช่วยย่อยในเบื้องต้นที่เรียกว่ากระบวนการหมัก โดยย่อยสลายเส้นใยในผนังของเซลล์พืช และยังช่วย ย่อยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และจุลินทรีย์ก็จะสะสมหรือใช้อาหารที่ย่อยแล้วเก็บไว้ภายในเซลล์ของจุลินทรีย์ เพื่อสร้างส่วนประกอบต่างๆของเซลล์จุลินทรีย์ ต่อมาหญ้าที่กินรวมทั้งจุลินทรีย์ก็จะเคลื่อนมาที่กระเพาะที่ 2
  2. กระเพาะที่ 2. เรียกว่า เรติคิวลัม ( Reticulum ) หรือที่เราเรียกว่า กระเพาะรังผึ้ง มีความจุประมาณ ร้อยละ 5 ของความจุกระเพาะทั้งหมด อยู่ติดกับส่วนหน้าของกระเพาะรูเมน จะทำหน้าที่ขยอกเอาหญ้าที่จุลินทรีย์ช่วยย่อยมาแล้วในเบื้องต้นจากกระเพาะรูเมนออกมาสู่ปาก เพื่อเคี้ยวอีกทีหนึ่งที่เรียกกันว่า เคี้ยวเอื้อง และหญ้าที่เคี้ยวเอื้องถูกบดให้ละเอียดมากขึ้นก็จะเคลื่อนไปสู่กระเพาะที่ 3 ต่อไป
  3. กระเพาะที่ 3. เรียกว่า โอมาซัม ( Omasum ) หรือที่เราเรียกว่า กระเพาะสามสิบกลีบ กระเพาะโอมาซัมมีความจุประมาณ ร้อยละ 7-8 ของความจุกระเพาะทั้งหมด กระเพาะนี้มีลักษณะกลมๆ ซึ่งภายในมีลักษณะเป็นแผ่นหลืบๆหรือเป็นกลีบๆซ้อนกัน ทำหน้าที่กระจายอาหารให้เข้ากัน และต่อมาอาหารก็จะเคลื่อนไปสู่กระเพาะที่ 4 ต่อไป
  4. กระเพาะที่ 4. เรียกว่า อะโบมาซัม ( Abomasum ) เป็นกระเพาะแท้ เหมือนกับของคนเราหรือสัตว์อื่นที่ไม่เคี้ยวเอื้อง อาหารหรือหญ้าที่ถูกย่อมมาก่อนแล้วตอนต้นพร้อมจุลินทรีย์ ก็จะถูกเอนไซม์ต่างๆหลายชนิดย่อยต่อไป ต่อจากกระเพาะแท้ก็เป็น ลำไส้เล็ก5. ลำไส้เล็ก (Small Intestene) อาหารที่ย่อยมาส่วนหนึ่งแล้วจากกระเพาะที่ 4 ก็จะถูกลำเลียงเข้าสู้ลำไส้เล็ก ซึ่งที่ลำไส้เล็กนี้ก็จะมีการย่อยด้วยเอนไซม์อีก อาหารที่ย่อยแล้วครั้งสุดท้ายก็จะแพร่เข้าสู้กระแสเลือดในบริเวณลำไส้เล็กนี่เอง และถูกลำเลียงไปยังเซลล์ต่างๆทั่วร่างกาย เหมือนกับของคนเราและสัตว์อื่นๆนั่นเอง6.ลำไส้ใหญ่ (Large Intestene) อาหารที่ย่อยมาแล้วจากลำไส้เล็ก จะเคลื่อนมาสู่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งการย่อยที่ลำไส้ใหญ่จะน้อยมาก ดูดซึมน้ำส่วนกากอาหารก็จะขับถ่ายออกจากลำไส้ใหญ่ต่อไป

    กระบวนการเปลี่ยนพืชให้กลายเป็นโปรตีนของสัตว์เคี้ยวเอื้อง

    ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักองค์ประกอบทางเคมีของ..
    คาร์โบไฮเดรต ประกอบด้วย คาร์บอน+ไฮโดรเจน+ออกซิเจน
    โปรตีน              ประกอบด้วย คาร์บอน+ไฮโดรเจน+ออกซิเจน+ไนโตรเจน (สูตรของโปรตีนจะมีไนโตรเจนเพิ่มขึ้นมา)

    นักวิทยาศาสตร์ชาวดัชซ์ชื่อ เกอร์ริท จัน มุลเดอร์ ค้นพบว่าในพืชและสัตว์มีสารสำคัญมากอย่างหนึ่งสำหรับการดำรงชีวิต จึงตั้งชื่อให้ว่า “โปรตีน” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก แปลว่า “สำคัญที่หนึ่ง”

    โปรตีนเป็นส่วนประกอบของร่างกาย ที่มีมากเป็นอันดับสองรองจากน้ำ หากเอาร่างกายไปตากแห้ง จนน้ำระเหยไปหมด สิ่งที่เหลืออยู่ก็คือ โปรตีนนั่นเอง สำหรับในร่างกายนั้น กล้ามเนื้อจะมีโปรตีนมากเป็น 1 ใน 3 ของโปรตีนทั้งหมด  ในกระดูกมีโปรตีนมากเป็น 1 ใน 5  ,ส่วนผิวหนังมีโปรตีนเป็น 1 ใน 10 ของทั้งหมด

    โปรตีนในพืชและสัตว์จะแตกต่างกันตรงที่ พืชสามารถสร้างโปรตีนได้เอง โดยเอาไนไตรเจนจากดิน รวมเข้ากับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ แล้วสร้างเป็นโปรตีน แต่สำหรับสัตว์นั้น หากต้องการโปรตีน มีทางเดียวก็คือต้องกินสัตว์ด้วยกัน หรือไม่ก็กินพืชเอา…ดังนั้น โปรตีนจากสัตว์ที่จริงแล้วก็มาจากพืชอีกต่อหนึ่งนั่นเอง

    สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จำพวก แพะ แกะ ม้า วัว ควาย กินพืชซึ่งมีเซลลูโลสและพอลิแซ็กคาไรด์อื่นๆ โดยที่สัตว์เหล่านี้ไม่มีเอนไซม์ ที่จะใช้ย่อยอาหารดังกล่าวได้ สัตว์เหล่านี้จะมีวิวัฒนาการ เพื่อแก้ปัญหาการนำเซลลูโลสจากพืชมาเป็นอาหาร โดยดำรงชีวิตร่วมกับแบคทีเรีย และโพรโทซัว จุลินทรีย์เหล่านี้จะอาศัยทางเดินอาหารของสัตว์กินพืชเป็นที่อยู่อาศัย และทำหน้าที่ย่อยเซลลูโลสให้เป็นกลูโคสเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ทั้งจุลินทรีย์และสัตว์กินพืช การย่อยสลายกลูโคสของจุลินทรีย์เป็นการหมัก ซึ่งไม่ต้องใช้ออกซิเจน จุลินทรีย์ยังช่วยสังเคราะห์วิตามินบีให้กับสัตว์กินพืชอีกด้วย

    สัตว์กีบเป็นพวกที่ประสบผลสำเร็จที่สุดในการมีจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายอาหารที่เป็นเซลลูโลส ดังนั้น วัว ควาย แพะ แกะ ม้า เมื่อกินหญ้าเข้าไปหญ้าจะเข้าไปพักอยู่ชั่วคราวในทางเดินอาหาร หลังจากนั้น สัตว์จะสำรอกอาหารออกมาเคี้ยวเอื้องให้ละเอียด จึงกลืนกลับเข้าไปใหม่ อาหารจะผ่านเข้าสู่ รูเมน ซึ่งเป็นหลอดอาหารส่วนท้ายที่พองโตแล้วเริ่มปฏิกิริยาการหมักโดยอาศัยจุลินทรีย์ จากนั้นอาหารจะผ่านลงกระเพาะอาหารเพื่อเกิดการดูดซึม เข้าสู่เลือด กระเพาะอาหารประกอบด้วย ส่วนที่เป็น เรทิคิวลัม  โอมาซัม  และแอบโอมาซัม นอกจากช่วยย่อยสลายแล้ว จุลินทรีย์ยังช่วยสังเคราะห์โปรตีน จากแอมโมเนียและยูเรียได้ด้วย จุลินทรีย์หากมีมากเกินไปจะถูกย่อยด้วยเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีนของตัวให้อาศัย เพื่อเป็นอาหารของตัวให้อาศัยได้อีกด้วย

    วัวจะสร้างน้ำลายวันละ 60 ลิตร เพื่อช่วยทำให้ทางเดินอาหารชุ่มชื้นอยู่เสมอวัวสามารถปล่อยแก๊สออกมาในอัตราสูงถึงนาทีละ 2 ลิตร โดยระเหยออกมากับเหงื่อในรูปของแก๊สมีเทน และแก๊สชนิดอื่นๆ

    กระต่ายเป็นสัตว์กินหญ้า จะมีลำไส้ใหญ่ซีคัมใหญ่เป็นพิเศษ ภายในมีแบคทีเรียอยู่มากมาย ทำหน้าที่ย่อยเซลลูโลส กระต่ายมีการปรับตัวที่น่าสนใจ คือ ขณะที่อยู่ในโพรงตอนกลางคืน กระต่ายจะถ่ายมูลออกมาจากซีคัม มันจะกินมูลที่เป็นแบคทีเรียทั้งหมดเข้าไปใหม่ เพื่อนำไปใช้ย่อยเซลลูโลส และสร้างวิตามินให้ตัวมันต่อไปอีก.

    ขอบคุณ https://www.108kaset.com/goat/index.php?topic=85.0
    http://119.46.166.126/self_all/selfaccess10/m4/biology4_2/le..

    >กายวิภาคศาสตร์ของแพะ..ผู้เลี้ยงแพะควรรู้