การออกกำลังกายในผู้ป่วยหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวกดทับเส้นประสาท(ร.พ.บางปะกอก)
คลิปแนะนำวิธีแก้อาการปวดเอว-สะโพก>ร้าวลงขา ให้หายทรมาณใน 5 นาที (1)
แนวทางการรักษา
- หลีกเลี่ยงแรงกดบนหมอนรองกระดูกสันหลัง คือ การนอนพักใน 2-3 วันแรก เพราะในท่านอนเป็นท่าที่มีแรงกดบนหมอนรองกระดูกสันหลังที่น้อยที่สุด
- รับประทานยาบรรเทาอาการปวด เช่น ยาแก้ปวดลดอาการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ ไม่ควรซื้อยากินเองเพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อนต่อกระเพาะอาหารและต่อระบบอื่นๆ ได้ง่าย การทายาบริเวณที่ปวดหรือยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อช่วยลดอาการให้น้อยลงได้
- ทำกายภาพบำบัด ได้แก่
-
การผ่าตัดรักษา การผ่าตัดถือว่าเป็นวิธีรักษาวิธีสุดท้าย ซึ่งจะผ่าตัดเมื่อมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เช่น ปวดมากและรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดแล้วอาการไม่ดีขึ้น มีอาการปวดมากจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ แขนขาอ่อนแรงมาก หรือกลั้นอุจจาระกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ก็มีความจำเป็นต้องผ่าตัดทันทีโดยไม่ต้องผ่านการรักษาดังกล่าวได้
ความเสี่ยงและผลข้างเคียงของการตรวจรักษา
ข้อควรระวังขณะออกกำลังกาย
- เมื่อออกกำลังกายเพื่อลดปวด ควรเคลื่อนไหวหลังไปจนถึงองศาที่ร่างกายเริ่มรู้สึกปวดเท่านั้น แล้วกลับสู่ท่าตั้งต้นทันที
- หลังการออกกำลังกายทุกครั้ง จะต้องควบคุมให้หลังอยู่ในท่าทางที่ถูกต้องต่อไป
- ขณะออกกำลังกายจะต้องสังเกตว่าอาการปวดร้าวที่แต่เดิมตั้งต้นมาจากกระดูกสันหลังและแผ่ลงมาตามรยางค์ของร่างกายเคลื่อนย้อนกลับเข้าสู่แนวกลางของกระดูกสันหลังหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าท่าออกกำลังกายที่ใช้ถูกต้องแล้ว ในท่าตรงกันข้าม หากมีอาการปวดร้าวตามรยางค์ของร่างกายมากขึ้นแสดงว่าใช้ท่าออกกำลังกายที่ผิด
- ในการออกกำลังกายวันแรกๆ อาจมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้นได้ ให้พยายามออกกำลังกายต่อไป อาการปวดมักจะดีขึ้นภายใน 3-4 วัน
- ควรหยุดออกกำลังกาย ถ้ามีอาการปวดแย่ลงทันทีหลังการออกกำลังกายและยังคงแย่ลงในวันถัดไป หรือถ้าในขณะออกกำลังกาย อาการปวดร้าวไปที่ขาใต้ต้อข่อเข่าเพิ่มมากขึ้น
- หากผู้ป่วยมีอาการปวดหลังมานานแล้ว มักจะไม่เห็นผลของการออกกำลังกายภายในช่วงแรกๆ อย่างไรก็ตาม หากยังคงพยายามออกกำลังกายแบบนี้ต่อไปอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสองอาทิตย์ อาการปวดมักจะดีขึ้น
- ท่าออกกำลังกายเพื่อลดอาการปวดหลัง การออกกำลังกายแบบ McKenzie exercise จะช่วยลดอาการปวดหลัง จัดกระดูกสันหลัง ดันหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นออกมาให้กลับเข้าที่ และช่วยลดแรงดันที่กดลงรากประสาทได้
1.2 ท่านอนคว่ำ ชันศอก-เหยียดแขนสุด ท่านี้จะเป็นการเพิ่มแรงดัน ให้กับหมอนรองกระดูกสันหลังที่ปลิ้นออกมา โดยใช้แรงดันจากการแอ่นหลังทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังที่กดทับเส้นประสาทกลับเข้าที่ ลดการกดทับ และลดอาการปวดหลัง ท่านี้ให้เริ่มทำจากการตั้งศอกขึ้นมาก่อน ให้อยู่ในท่านี้ครั้งละ 1 – 5 นาที หรือสุดทน จึงลงไปพักในท่านอนคว่ำและทำซ้ำ 5 – 10 รอบ เมื่อทำท่านี้จนไม่มีความรู้สึกปวดแล้วจึงพัฒนาเพิ่มแรงดันโดยการเหยียดแขนสุด และทำเหมือนกัน โดยครั้งนี้จะพักในท่าที่รองลงมา
1.3 ยืนแอ่นหลัง เป็นท่าที่ทำให้เกิดแรงดันต่อหมอนรองกระดูกสันหลังมากที่สุด แนะนำให้ลองทำเมื่อไม่มีอาการปวดหรือหายดีแล้ว เพื่อจัดกระดูกสันหลัง
- ท่าออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่ข้อกระดูกสันหลังส่วนเอว
เป็นการออกกำลังกายที่มุ่งเน้นให้กระดูกสันหลังมีความมั่นคง ไม่เกิดการบาดเจ็บในขณะมีการเคลื่อนไหวหลังได้โดยง่าย โดยการฝึกหดกล้ามเนื้อหน้าท้องชั้นลึก โดยให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกสม่ำเสมอ 2 – 3 ครั้ง แล้วหายใจเข้าออกลึกๆ โดยขณะที่หายใจเข้ากล้ามเนื้อหน้าท้องจะป่อง และหายใจออกกล้ามเนื้อหน้าท้องจะยุบ ในขณะที่หายใจออกเต็มที่ให้เกร็งแขม่วหน้าท้องค้างไว้ 1 – 10 วินาที โดยที่ผู้ป่วยจะต้องไม่กลั้นหายใจ สามารถพูดคุยได้ พอครบค่อยๆ คลายกล้ามเนื้อหน้าท้องที่เกร็งแขม่วไว้ออก สามารถทำได้บ่อยๆ
ข้อแนะนำในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันและบรรเทาอาการปวดหลัง
การนอน ท่านอน ควรนอนหงายแล้วใช้หมอนเล็กๆ หนุนใต้เข่า เพื่อให้สะโพกงอเล็กน้อย หรือนอนตะแคงกอดหมอนข้าง โดยขาที่วางบนหมอนข้างให้งอสะโพกและเข่าเล็กน้อย ไม่ควรนอนคว่ำ
การลุกจากที่นอน ให้เลื่อนตัวมาใกล้ขอบเตียงนอน ตะแคงตัว งอเข่าและสะโพก ห้อยขาลงข้างเตียงพร้อมกับใช้มือยันตัวลุกขึ้นนั่งแล้วจึงค่อยลุกยืน ไม่ควรลุกขึ้นนั่งทันทีในขณะที่นอนหงายอยู่ เพราะจะต้องใช้กล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อหน้าท้องมาก อาจทำให้ปวดหลังได้
การนั่ง
ท่านั่ง นั่งหลังตรงพิงกับพนักพิง น้ำหนักลงบริเวณตรงกลาง ไม่นั่งเอียง เท้าสองข้างวางราบกับพื้น เข่างอตั้งฉาก ต้นขาวางราบกับที่นั่ง ให้ข้อพับเข่าอยู่ห่างจากขอบที่นั่งของเก้าอี้ประมาณ 1 นิ้วเพื่อป้องกันการกดทับเส้นเลือดใต้เข่า หมั่นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ
ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง เพราะทำให้น้ำหนักตัวลงข้างใดข้างหนึ่งและแนวกระดูกสันหลังเอียง ทำให้ปวดหลังได้
การนั่งขับรถ ควรขยับเบาะที่นั่งให้เอนไปข้างหลังเล็กน้อย ประมาณ 10 – 15 องศา และขยับเบาะให้ใกล้พอดี ซึ่งเมื่อเหยียบคันเร่งหรือเบรกเต็มที่แล้ว เข่าจะงอเล็กน้อยประมาณ 20 – 30 องศาและนั่งให้แผ่นหลังและสะโพกแนบกับเบาะ อาจจะใช้หมอนเล็กๆ หนาประมาณ 3 – 5 นิ้ว รองที่หลังบริเวณเอวด้วยก็ได้
การยืน
ยืนให้หลังตรงในท่าที่สบาย กางขาออกเล็กน้อย ให้น้ำหนักตัวลงค่อนมาทางส้นเท้าทั้งสองข้าง แขม่วท้อง อกผายไหล่ผึ่ง
ไม่ควรยืนในท่าเดียวนานๆ ควรขยับตัวเปลี่ยนท่าบ่อยๆ หรือยืนลงน้ำหนักบนขาข้างใดข้างหนึ่งสลับกัน หรือสลับเท้าวางพักเท้าบนโต๊ะเล็กๆ ที่สูงประมาณ 1 คืบ หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าส้นสูงมากกว่า 1 นิ้ว
การยกของ
ขั้นตอนการยกของหรือหยิบของ ที่วางอยู่ต่ำกว่าระดับสะโพก
*ต้องพยายามให้หลังตรงอยู่ตลอดเวลาที่ยกของ ไม่ควรก้มหลังยกสิ่งของในท่าที่เข่าเหยียดตรงหรือบิดเอี้ยวตัว
- ขั้นที่ 1 ยืนหลังตรง ขากางออกเล็กน้อย งอเข่า ย่อตัวลงจนกระทั่งมาอยู่ในท่านั่งยองๆ
- ขั้นที่ 2 หยิบสิ่งของที่ต้องการ ถ้าของนั้นหนักต้องอุ้มของชิ้นนั้นชิดแนบลำตัว
- ขั้นที่ 3 ค่อยๆ ลุกขึ้นด้วยกำลังขา โดยให้หลังตรงอยู่ตลอดเวลา
การไอและจาม
ขณะไอหรือจาม ควรระวังไม่ให้ร่างกายอยู่ในลักษณะงอตัวหรือโน้มตัวไปข้างหน้า เพราะจะกระตุ้นอาการปวดหลังได้
cr:
วันเวลาทำการ
เปิดทุกวันทำการ วันจันทร์ – วันอาทิตย์ เวลา 08:00 – 20:00 น.
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด ชั้น 6 โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ : 02-109-9111 ต่อ 10627, 10628
Call Center 1745