ปลดล็อก 12 อาชีพที่คนต่างด้าวทำได้ และ28 อาชีพห้ามทำ !
– แบบไม่มีเงื่อนไข 1 อาชีพ ได้แก่ กรรมกร
– แบบมีเงื่อนไข คือ ต่างด้าวต้องเป็นลูกจ้าง เป็นงานที่ขาดแคลนแรงงาน อนุญาตให้ทำได้เฉพาะเท่าที่จำเป็น ไม่กระทบโอกาสการมีงานทำของคนไทย 8 อาชีพ คือ
1. กสิกรรม เลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรือประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญงานเฉพาะสาขา ควบคุมดูแลฟาร์ม
2. ก่ออิฐ ช่างไม้ หรือก่อสร้างอื่น
3. ทำที่นอนหรือผ้าห่มนวม
4. ทำมีด
5. ทำรองเท้า
6. ทำหมวก
7. ประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย
8. ปั้นหรือทำเครื่องปั้นดินเผา
– แบบมีเงื่อนไขตามข้อตกลงระหว่างประเทศอาเซียน แต่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายไทย 3 อาชีพ คือ
1. บัญชี ควบคุม ตรวจสอบ ปฏิบัติงานหรือให้บริการทางบัญชี ยกเว้น ตรวจสอบภายในเป็นครั้งคราว งานตามข้อตกลงหรือพันธกรณี ที่ประเทศไทยมีความผูกพัน โดยที่สภาวิชาชีพบัญชีเป็นผู้ให้การรับรองคุณสมบัติ
2. วิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธา ที่เกี่ยวกับงานออกแบบและคำนวณ จัดระบบ วิจัย วางโครงการทดสอบ ควบคุมการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ ยกเว้นผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม และวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียน (MRAs) รวมทั้งข้อตกลงระหว่างประเทศอื่นที่เกี่ยวกับการให้บริการวิศวกรรมข้ามแดน หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธาตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
สำหรับงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยเด็ดขาดมี 28 งาน ดังนี้
1. แกะสลักไม้
2. ทอผ้าด้วยมือ
3. ทอเสื่อ
4. ทำกระดาษสาด้วยมือ
5. ทำเครื่องเงิน
6. ทำเครื่องดนตรีไทย
7. ทำเครื่องถม
8. ทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก
9. ทำเครื่องลงหิน
10. ทำตุ๊กตาไทย
11. ทำบาตร
12. ทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ
13. ทำพระพุทธรูป
14. ทำร่มกระดาษหรือผ้า
15. เรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมือ
ส่วนการขายของหน้าร้าน ต่างด้าวทำได้แค่ช่วยขาย ห้ามรับ-ทอนเงิน ส่วนร้านตัดผม ร้านทำเล็บ ทำได้แค่เก็บกวาด เช็ดถู ล้างเท้า-มือ
โดย พล.ต.อ. อดุลย์ เผยว่า หลังจากประกาศใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม ก็จะทำความเข้าใจและชี้แจง พร้อมมีการประชาสัมพันธ์เป็นเวลา 1 เดือน หลังจากนั้น จะเร่งตรวจจับให้เป็นไปตามกฎหมาย แรงงานต่างด้าวจะต้องทำเฉพาะงานที่อนุญาตให้ทำเท่านั้น จากนั้นในเดือนสิงหาคม จะเริ่มบังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มรูปแบบ.